1/7/08

วิสัยทัศน์ในสหัสวรรษใหม่

หลายต่อหลายครั้งที่สถาบัน องค์กร หรือผู้นำธุรกิจมักจะชอบนำ " อันดับความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในโลก มานำเสนอหรือสรุปให้กับองค์การธุรกิจ หรือผู้บริหาร และผู้ที่สนใจให้ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากรายงานของ IMD ( The World Competitiveness ) ในปี 2000 ( จัดอันดับ ณ 19 เม.ย. 2000 ) ประเทศไทยอยู่อันดับ ที่ 33,39,29 และ 30 ตามลำดับ และถ้าหากพิจารณาอย่างเจาะลึกในแง่มุมที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องก็คือ ข้อคิดในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการจัดการและด้านคน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ ประเทศและองค์กรธุรกิจแข่งขันในระดับโลกได้
ประเด็นที่อยากหยิบยกมาก็คือ ด้านการจัดการ โดยเฉพาะปัจจัยความเป็นเถ้าแก่ซึ่งถือว่าผลักดันให้เกิดกิจกรรรมทางเศรษฐกิจ และด้านคนในการเพิ่มทักษะกำลังคนเพื่อการแข่งขันของประเทศ
ดังนั้น ในตอนท้ายผู้เขียนจะกลับมาสรุปอีกทีว่า ทั้ง 2 ประเด็นนี้จะต้องปรับเปลี่ยนประเทศ องค์กร ธุรกิจ และผู้บริหารธุรกิจอย่างไร โดยอาศัยข้อเขียนบางส่วนของ Meenakshi Chellam เรื่อง Knowledge ใน ASIA 21 ( ฉบับ เดือนกันยายน 1999 ) หน้า 15-19 KBE คืออะไร
KBE เริ่มเป็นคำที่กล่าวถึงกันมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งย่อมาจากคำว่า Knowlege Based Economy หรือ เศรษฐกิจความรู้ หรือ เศรษฐกิจ K หากพิจารณาถึงการให้สัมภาษณ์ของปรมาจารย์ด้านการจัดการ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ในนิตยสาร Forbes ฉบับ พ.ค.2000 ได้ชี้ให้เห็นถึงสังคมแบบความรู้และโลกความรู้จะเข้าสู่รูปแบบการเรียนรู้ยุคใหม่ที่เรียกว่า ความรู้ และโลกความรู้จะเข้าสู่รูป แบบความรู้และโลกความรู้จะเข้าสู่รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ เวบยูเคชั่น (Webucation) ซึ่งจะมีการสร้าง คลังความรู้ ( Knowledge Warehousing ) การเรียนรู้ทางเวบไซท์ ในลักษณะของการเรียนรู้ทางอิเลคทรอนิกส์ (e-Learning)
ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ใส่เข้าไปในการผลิต โดยโมเดลของธุรกิจยุคใหม่จะมีปัจจัยที่สำคัญคือ ความรู้ สิ่งที่ธุรกิจและประเทศควรมุ่งความสนใจ ไม่ใช่เพียงสร้างความรู้แต่เป็นการจัดการความรู้ (Knowledge Managment)
ปัจจุบันนี้จะพบว่า เป็นโลกของ " สารสนเทศที่ปลายนิ้ว " ความรู้เป็นสากล ทุกคนจะมีความสามารถในการหาและได้รับความรู้ และ การแบ่งปันความรู้กลายเป็นประเด็นสำคัญยิ่ง
เศรษฐกิจความรู้ (K-Economy) คือ การสร้างสิ่งที่เป็นพลังอำนาจด้วยการแบ่งปันความรู้ ประเทศและธุรกิจ จะทำได้ด้วยการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบในการแบ่งปันความรู้ซึ่งจะทำให้กลายเป็นผู้นำโลก แต่ไม่ใช่ หมายถึง การท่วมท้นไปด้วยข้อมูล และทะลักไปด้วยคลื่นของสารสนเทศ
ความรู้ที่กองสูงกันอยู่จะไม่มีคุณค่าใดๆ เลย แต่กลายเป็นทีเก็บสารสนเทศมากกว่าจะกลายเป็น"แหล่งรวมของความรู้" สิงคโปร์พร้อมสู่ KBE
การที่ประเทศและธุรกิจของเรายังไม่สามารถก้าวขึ้นไปแข่งขันในระดับโลกได้โดยเฉพาะอันดับต้นๆ คงต้องดูประเทศที่ทำได้ และทำได้เป็นอย่างดี
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันอันดับ 2 ของโลกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ปัจจุบันสิงคโปร์พร้อมสู่ KBE และคน ของสิงคโปรกำลังกลายเป็น "เถ้าแก่เทคโน" (Technopreneurship) มีการจัดการศึกษาของคนทำงานเพื่อให้ใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่า
กรรมการผู้อำนวยการ SNEF (สหพันธ์นายจ้างแห่งชาติของสิงคโปร์) กล่าวว่า เทคโนโลยีจะทำให้เราใช้ข้อมูลเพื่อแบ่งปันกันได้สูงสุด และเราจะตื่นเต้นมากกว่าอดีตเมื่อเราคุยกันเรื่อง การเร่งให้มีความรู้ในบริษัท การเข้าถึงเครือข่ายของคนเป็นร้อยล้าน เราก็จะสามารถโอนย้าย สารสนเทศไปยังคนเป็นร้อยล้าน ซึ่งก็จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการฝึกคนเป็นร้อยล้านให้ดูดซับและย่อยสารสนเทศ ในสิงคโปร์เราจะไม่พูดว่า " เราไม่มีคอมพิวเตอร์ " แต่เรา สามารถเดินไปห้องสมุดแห่งชาติที่ใกล้ที่สุด หรือศูนย์ชุมชนท้องถิ่นและใช้ไอทีในภาษาที่เราถนัดและในสถานที่สะดวกสบาย
สิงคโปร์ปรับตัวได้สมบูรณ์ที่สุดในโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งจะทำให้ก้าวกระโดดเข้าสู่โอกาสใหม่ได้ง่ายกว่าในการพัฒนาประเทศ สังคม ตะวันตกได้ทดลองและพยายามด้วยโมเดลที่หลากหลายและก็ล้มเหลวสิงคโปร์เรียนรู้จากผู้บุกเบิกและก้าวข้ามหัวไปเลย
องค์ประกอบสำคัญของ KBE คือ การเตรียมเข้าสู่อาชีพด้วย " นวัตกรรมและการคิดริเริ่ม " นวัตกรรมต้องเป็นสิ่งที่ " มุ่งสู่ " และโดยข้อเท็จจริงในทุกกรณีจะทำให้สิงคโปร์ไปเร็วกว่า และก็เร็วกว่า สิงคโปร์กำลังทบทวนประเด็นด้านภาษี กฎหมายล้มละลาย ลิขสิทธิ์ เพื่อพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะ ทำให้มีความง่ายในการเกิดนวัตกรรม
สิงคโปร์ปรับสู่สิ่งที่เป็นจุดแข็งพื้นฐาน คือ การศึกษา ซึ่งทุกคนจะต้องได้รับการเข้าถึง ถ้าทุกคนไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือทุกคน ไม่ต้องการเป็นเจ้าของ สิงคโปร์จำเป็นต้องทำให้ทุกคนมี
ตลอดเวลาสิงคโปร์เตือนตนเองในทุกเย็นของแต่ละวันว่า " เราไม่ได้สร้างเศรษฐกิจดิจิตอล แต่เราสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน"
รัฐบาลสิงคโปร์กำลังเปลี่ยนระบบการศึกษา โดยการตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทำให้สิงคโปร์กำลังกลายเป็นต้นแบบ KBE ของอาเซียน และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติเชื่อว่า นี่คือ " ทิศทางที่ถูกต้องที่สิงคโปร์กำลังมุ่งไปสู่ "
วิสัยทัศน์ในสหัสวรรษใหม่ หากประเทศไทยและธุรกิจ ต้องการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 และอยากมุ่งสู่ KBE ภาครัฐและภาคเอกชนคงต้องปรับเปลี่ยนอย่าง เร่งด่วนและเร็ว ยิ่งเร็วเท่าไรก็จะพร้อมมากเท่านั้น
ฉะนั้นการเพียงจะบอกว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่เท่าไรของโลกในเรื่องของความสามารถในการแข่งขัน หรือบอกว่า มีจุดอ่อนอะไร ใครก็ยกมาพูดได้ แต่ที่สำคัญคือ " ทางออก " หรือ "วิสัยทัศน์" ที่ต้องชี้นำว่า อะไรคือสิ่งที่ประเทศและธุรกิจจะต้องทำ และ ทำอย่างไรในรูปแบบที่เป็น " รูปธรรม "
KBE จะเกิดขึ้นได้ด้วย " กลไกของนวัตกรรม " ที่จะผลักดันให้นำไปสู่เศรษฐกิจความรู้ อาทิ
.....นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สามารถใช้เพื่อปรับปรุงสิ่งเดิม ให้ค้นพบสิ่งใหม่
.....การคิดที่แตกต่าง การคิดนอกกรอบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
.....คนรุ่นใหม่จะต้องไม่พูดว่า ต้องทำตามวิธีนี้ และจะพูดว่า ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่ขอลองพยายาม
ดู นี่คือวิธีการที่จะได้คำตอบ
ทั้งหมดนี้จะทำให้ได้ซึ่งนวัตกรรม
สิ่งสำคัญของ KBE คือ เราสามารถสร้างบางสิ่งได้จากที่ไม่มีอะไรเลย มีความสามารถที่จะได้สารสนเทศ จัดการทำบางสิ่งกับสารสนเทศ และเปลี่ยนแปลงภายใต้เวลาที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้เราได้รับนวัตกรรม
รูปแบบใหม่ของความเป็นเถ้าแก่ โรงเรียนบริหารธุรกิจของสหรัฐได้บรรจุทฤษฎีใหม่เหล่านี้ไว้ เรียบร้อยแล้วในรายวิชาการจัดการธุรกิจ
.....เทคโนโลยีเป็นสิ่งส่งเสริมและตัวเร่ง รวมถึงการแผ่ขยาย
.....เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องมี แต่ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีปริญญาวิศวกรรม
.....เราต้องรู้วิธีใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นนักนวัตกรรม หาธุรกิจใหม่ และเป็นเชื้อไฟที่ จุดการเติบโตของมัน
.....รู้ว่าอย่างไรเป็นการรู้วิธีทำให้มีเงินจากการใช้เทคโนโลยี
สิ่งสำคัญของ KBE เศรษฐกิจความรู้ คือ การสนับสนุนธุรกิจให้เจิดจ้าด้วยความรุ้ ไม่ใช่มุ่งแต่ สร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างเดียว
ผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารธุรกิจ หากต้องการ KBE เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ จะต้องเปลี่ยนกรอบแนวคิด เปลี่ยนระบบการศึกษา ทำทุกสิ่งที่ต้องการอย่างไม่หยุดนิ่ง และมีวินัยที่จะฝีกฝน ปรับเปลี่ยนกำลังคน จิตใจ ที่มุ่งมั่นต่อการสนับสนุนการประยุกต์ใช้ไอที ส่งเสริมพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ความเป็นเถ้าแก่เทคโน ปรับปรุง กฎหมาย นอร์ม และยอมรับการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด นั่นคือทั้งหมดที่ประเทศ ธุรกิจ และชุมชนต้องการ ..................จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ …..