3/6/09

พยากรณ์ไอที 2009

สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้พยากรณ์แนวโน้มของธุรกิจไอซีทีในภาพรวมประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิกโดยไม่รวม ประเทศญี่ปุ่น แต่รวมถึงประเทศไทยด้วย

ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่า แม้ว่าภาพรวมทั้งหมดของการใช้จ่ายด้านไอซีทีจะถูกชะลอลงบ้าง เพราะผลกระทบจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีการมุ่งเน้นไปสู่การตลาดและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะภาคธุรกิจจะต้องตัดค่าใช้จ่ายลงแต่จะต้องปรับปรุงระบบธุรกิจให้ดีขึ้น เพื่อจะได้หาลูกค้าใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่จึงเป็นโอกาสของบริษัททางไอทีที่จะช่วยสร้างระบบธุรกิจและเสริม ประสิทธิภาพให้กับบริษัท ต่าง ๆ สามารถทำตลาดใหม่ ๆ หาลูกค้าใหม่ได้ด้วยระบบไอทีไอดีซีได้พยากรณ์อุตสาหกรรมของประเทศในเอเซีย แปซิฟิกในปี 2009 ไว้ 10 ข้อด้วยกัน ซึ่งผมจะแบ่งบทความเป็น 3 ตอนต่อเนื่องกันไป เพราะเท่าที่อ่านการพยากรณ์จากหลายสำนักเปรียบเทียบกันสำนักไอดีซีจะครอบ คลุม และน่าเชื่อถือมากที่สุด จะได้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับธุรกิจไอซีทีไทยได้

ข้อแรก การ ใช้จ่ายทางด้านไอซีทีของกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิกจะลดลงแต่ไม่ถึงกับต่ำมาก ในปี 2009 สำนักวิจัยไอดีซีพยากรณ์ว่า ก่อนที่จะเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกานั้น ได้พยากรณ์ว่าธุรกิจไอซีทีจะเติบโตอยู่ที่ 9.5% แต่หลังจากเกิดเหตุวิกฤตแล้วตัวเลขจะอยู่ที่ 5.8%ส่วนที่ลดลงไปมากที่สุดน่าจะเป็นตลาดประเภทพีซีและอุปกรณ์พ่วงเพราะบริษัท ต่าง ๆ จะต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและยืดอายุการใช้งานของพีซี เช่น เดิมเคยใช้งานอยู่ที่ 2 หรือ 3 ปีแล้วเปลี่ยนใหม่ ปัจจุบันจะยืดอายุการใช้งานต่อไปโดยชะลอการซื้อของใหม่ไปอีกสักปีหรือสองปีแต่ในส่วนของภาครัฐจะต้องมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีมากขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเพื่อปรับปรุงระบบการบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ดีขึ้น รวมทั้งด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารโดยไอดีซีบอกว่า ที่อื่น ๆ ในโลกจะแย่หมด แต่ที่กลุ่มเอเซียเปซิฟิกน่าจะดีที่สุด

ข้อสอง รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายด้านไอทีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการบริการประชาชนและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีเพื่อเพิ่มบริการให้ประชาชนมากขึ้นและทั่ว ถึงโดยทั่วไปรัฐบาลของประเทศในกลุ่มเอเซียแปซิฟิกจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านไอ ทีให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและช่วยกระตุ้นให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะมีโครงการใหม่ ๆ ในหลายรูปแบบซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจซึ่งจะต้องใช้ระบบ ไอทีเข้าช่วย การสร้างโครงการใหม่ด้วยระบบไอซีทีในหลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกการ บริการต่อสาธารณชนและเพื่อสร้างงานใหม่ซึ่งภาคเอกชนตั้งความหวังไว้กับภาค รัฐเพราะสามารถนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเพื่อสร้างงานและการบริการให้กับประชาชน หลายเรื่อง เช่น สาธารณสุข การศึกษา อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าส่งออก การท่องเที่ยวและอื่นๆ อีก

ข้อสาม บริการไอทีประเภทบริการร่วมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า คลาวด์ หรือ Cloud Based Service จะมีมากขึ้น ตัวอย่างบริการคลาวด์ที่เราเห็นได้ชัด ๆ เช่น บริการจ่ายเงินของ Amazon หรือ PayPal บริการแผนที่ของ Google Maps ประเภทเล็ก ๆ ที่เขาทำกันเช่น บริการร่วมทางการศึกษาอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ด้วยระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า แอลเอ็มเอส หรือ Learning Management System ซึ่งก็จะเห็นในประเทศไทยโดยใช้ มูเดิ้ล (Moodle) รวมกันหลายมหาวิทยาลัย ประเภทจะสร้างระบบเองเพื่อใช้เองจะต้องลงทุนมากไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงนี้

ข้อสี่ เศรษฐกิจยามนี้ทำให้บริษัทต่าง ๆ จะต้องรักษาและดูแลลูกค้าให้กระชับขึ้น เลยทำให้บริการของเว้ปซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้หมายถึง Web 2.0 ซึ่งจะได้ทั้งเครือข่ายสมาชิกและสามารถเข้าร่วมปฏิสัมพันธ์ได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับหาลูกค้ามาก บริการประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น บริการของเครือข่ายสังคม ไฮไฟว์ มายสเปส ยูทูป และบริการร่วมกันทำของ วิกิพีเดีย ในประเทศไทย บริการประเภท Dekdern.com ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อบริการให้นักเรียนสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อรู้จักพี่ ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นลักษณะบริการนี้ไอดีซีประมาณการไว้ว่ารายได้จากศูนย์บริการประเภทนี้ในกลุ่มประเทศเอเซีย แปซิฟิก จะเพิ่มจากปี 2008 ซึ่งมี 278 ล้านดอลลาร์ เป็น 518 ล้านดอลลาร์ในปี 2012 ซึ่งจะเติบโตในระดับ 17% ต่อปีติดต่อกันเลยทีเดียว

ข้อห้า บริการ เจาะหาตลาดทางอินเตอร์เน็ตหรือบริการที่เรียกว่า อีเอสเอ็ม หรือ Enterprise Search Market จะเติบโตเร็ว บริการหาตลาดประเภทนี้ ก็นับเป็นการต่อยอดจากเครื่องจักรค้นหาข้อมูลของกูเกิ้ลและยาฮู ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้สามารถคำนวณได้ว่าค่าผลตอบแทนต่อการลงทุนหรือ อาร์โอไอ Return on Investment มีเท่าไร คุ้มหรือไม่ ซึ่งการรวมตัวของบริษัท ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟต์ ออราเคิล และเอสเอพี เพื่อร่วมกันทำบริการประเภทนี้ และบริการประเภทอีเอสเอ็มจะเติบโตในกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิก

ข้อหก จะมีการใช้ไอทีสีเขียวมากขึ้นโดยเฉพาะการสร้างโลกเสมือนเพื่อทดแทนของจริง แทนที่จะสร้างตึก สร้างป่าไม้ สร้างอาณาจักรของจริงบนโลกก็ทำในโลกเสมือนเสียเลย จะให้สวยเท่าไรก็ได้ ทำไปในโลกเสมือนเพราะไม่มีค่าวัสดุก่อสร้าง ไม่มีการตัดป่า ตัดไม้ ประเภทการเรียนการสอนผ่านมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ก็ถือว่าไอทีสีเขียวเหมือนกัน เพราะไม่เสียค่าเดินทาง ไม่ต้องสร้างตึกสร้างห้องเรียนติดแอร์ อยู่ที่ไหนก็เรียนที่นั่นในมหาวิทยาลัยเสมือน

ข้อเจ็ด สภาวะการตลาดซบเซา จะส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม ได้พิจารณาถึงยุทธศาสตร์ใหม่ ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่าผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมที่ยังมีผลประกอบการดีอยู่ ก็คงจะลงทุนในเรื่องการขยายระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ส่วนผู้ประกอบการในระดับรองลงมาเช่น กลุ่มไอเอสพี หรือ เอเอสพี ก็คงจะเร่งขยายในส่วนการคืนทุนเร็ว โดยเฉพาะเรื่องตลาดบรอดแบนด์ของประเทศกลุ่มเอเซียแปซิฟิกก็กำลังเติบโตอย่าง รวดเร็วส่วนเทคโนโลยีใหม่ ๆ คงจะถูกชะลอลง เช่น 3 จีในอินเดีย จีน และเวียตนาม ไวเมกซ์ ไอพีทีวี บริการสื่อผสม เครือข่ายวิทยุเคลื่อนที่หรือ Mobile Radio Access Network หรือ RAN

ข้อแปด บริษัท ต่าง ๆ จะนิยมใช้บริการทางด้านศูนย์การจัดการบริการข้อมูลมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Managed Datacenter เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งศูนย์การจัดการบริการข้อมูลก็จะต้องให้ลูกค้าเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่หลาย ประเภทเช่น การแบ่งการใช้งานคำนวณประเภท Cloud Computering ที่ผมเขียนไว้ในข้อ 3 การกู้อุบัติภัยทางข้อมูล หรือ Diaster Recovery และการทำเซอร์ฟเวอร์แบบเสมือน หรือ Server virtualization

ข้อเก้า การบริการร่วมสำหรับลูกค้าจอแบนหรือ Thin Clients ก็จะเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเพราะสมัยนี้ จอแบนซึ่งไม่ต้องใช้ซีพียูขนาดใหญ่เหมือนเซอร์ฟเวอร์เพื่อใช้กับงานบริการ ทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีการคำนวณขั้นสูงมาก ๆ แต่จะใช้ร่วมกับศูนย์บริการข้อมูลใหญ่หรือเซอร์ฟเวอร์ใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบ รวมและจัดการข้อมูล ไอดีซีคาดว่าตลาด Thin Clients จะเติบโตกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 12.-15% หรือประมาณ 765,000 เครื่องในแถบเอเซียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ข้อ 10 โน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่มีขนาดกำลังประมวลผลและความจุจำกัดแต่ราคาถูกจะเริ่ม เข้ามาแทรกตลาดโน้ตบุ๊คมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าตลาดของโน้ตบุ๊คขนาดเล็กจะโต ขึ้นประมาณ 10% ในปี2009 เนื่องจากขนาดกำลังการคำนวณและความจุไม่มากนัก จึงทำให้ต้องพึ่งระบบอินเตอร์เน็ตและร่วมกันใช้ข้อมูลสำหรับการประมวลผลใน ลักษณะเดียวกัน Cloud Service นั่นเองเมื่อพินิจพิเคราะห์ดูทั้ง 10 ข้อ ที่ผมได้นำเสนอ บทความ 3 ตอนนั้น คิดว่าสำหรับตลาดธุรกิจไอทีประเทศไทยก็คงจะมีแนวโน้มมาทางนี้ ในปี 2009 คิดว่าข้อมูลที่นำเสนอนี้ คงจะให้ประโยชน์กับผู้อ่านใช้เป็นแนวทางในปีหน้าตลอดทั้งปีได้

ที่มา : ดร. บุญมาก http://www.rsu-cyberu.com/