12/28/07

เวิร์กฮาร์ดกับเวิร์กสมาร์ต

ทำไมก็ทำงานแบบตัวเป็นเกลียวหัวเป็นนอตขนาดนั้น ยังว่าเขาไม่ฉลาดอีกเหรอ พูดแบบนี้มันประเภทมือไม่พายยังเสือกเอาเท้าราน้ำนี่หว่า""ก็ไม่ได้ว่าเขาโง่สักหน่อย เห็นว่าเป็นคนขยันด้วยซ้ำ แต่ในฐานะของผู้บริหารอย่างเขา การที่มีงานสุมหัวมากมายจนแทบมิดอย่างนั้น มันก็บ่งบอกอะไรบางอย่าง มันตั้งข้อสังเกตได้ว่า เขาใช้งานลูกน้องไม่เป็นหรือไม่ได้ ? เขาหวงงานหรือไม่ ? เขาฝึกสอนหรือสร้างลูกน้องไม่เป็นหรือเปล่า ? หรือแม้แต่เขาจัดลำดับความสำคัญของงานไม่ถูก จนสามารถจะตี ความเลยเถิดไปถึงเขาบริหารไม่เป็นหรือเปล่า ?""เท่าที่รู้นะ ไม่ใช่ว่าเขาจะสอนลูกน้องไม่เป็น ใช้ลูกน้องไม่ได้ เขาเคยแล้ว มอบให้คนนั้นทำไอ้นั่น คนนี้ทำไอ้นี่ แต่มันออกมาห่วย ผิดพลาดเสียส่วนใหญ่ แทนที่งานจะเร็วขึ้น เบาแรงขึ้น ต้องมาแก้ไขทบทวนทำกันใหม่ กลายเป็นเสียทั้งเงินทั้งเวลาดับเบิล สู้ลุยเสียเองและให้ลูกน้องคอยช่วยตามสั่ง มันจะได้ผลดีกว่าทุกครั้ง นอกจากไม่ผิดพลาดแล้ว ผลงานก็ออกมาดีอีกต่างหากด้วย มันไม่ถูกหรือที่เขาเอาผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง ยอมเหนื่อยและหนักเสียเอง ยังมาตั้งข้อสังเกตอะไรกันอีก บั่นทอนกำลังใจและจิตใจกันมากไปหน่อยมั้ง""ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องขอค้านที่ว่าสอนลูกน้องเป็นแล้วล่ะ เพราะถ้าอย่างที่ว่านี่มันแปลว่าสอนลูกน้องให้แบ่งเบางานไม่เป็น""อย่าลืมว่าลูกน้องมันไม่มีคุณภาพนะ เดี๋ยวนี้ความรู้ของคนจบปริญญาตรีมามันก็เท่านั้น ไม่เห็นจะต่างกับคนไม่จบตรงไหนเลย ผิดกันแค่คนหนึ่งมีประกาศนียบัตร อีกคนไม่มีเท่านั้น""งานบางอย่างเนี่ย จบปริญญาหรือไม่จบมันก็มีค่าเท่ากันแหละ ถ้าไม่ใช่งานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางอย่างงานช่าง งานบัญชี หรือวิทยาศาสตร์ ใครจบไม่จบอะไรมา มันก็ต้องมาเริ่มต้นที่จุดเดียวกันใหม่ทั้งนั้น สำหรับการทำงานของบริษัทแต่ละแห่งไอ้ที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานเพื่อเรียนรู้งาน มันมาจากกึ๋น มาจากไหวพริบ มาจากคอมมอนเซนส์ มาจากพื้นฐานนิสัยใจคอต่างหาก และแน่นอนมันจะต้องมาจากคนสอนคนฝึกให้ด้วยเพราะฉะนั้นเราจะเอาเรื่องพื้นฐานการศึกษา ว่าจบอะไรมา มาวัดกันไม่ได้หรอก ว่าลูกน้องมีคุณภาพหรือไม่มี ไปตัดสินเขาตรงนั้นไม่ได้ คนจำนวนไม่น้อยจบแค่ปริญญาตรี แต่เป็นนายของคนจบระดับปริญญาโทหรือแม้แต่ระดับด็อกเตอร์ได้ มันยืนยันว่าระดับการศึกษากับการสอนคนเป็น สร้างคนเป็น ใช้งานคนเป็นนั้น มันคนละเรื่องผู้บริหารหน้าที่หลักคือการบริหาร การใช้คน ฝึกคน สร้างคน วางแผน แก้ปัญหา ติดตาม สำหรับงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบการที่จะบริหารงานได้นั้น มันต้องบริหารคนเป็นด้วย มันต้องควบคู่กันไป เพราะงานมันจะลุล่วงและสำเร็จได้ มันต้องให้คนที่เป็นลูกน้องช่วยทำ ไม่ใช่ตัวเองทำเสียหมด คือถ้าทำเองได้หมดจะต้องมีลูกน้องไว้ทำไม ที่มีลูกน้องก็เพราะรู้ว่าปริมาณงานมันมากเกินกว่าที่ตัวเองจะทำได้หมดในเวลาที่กำหนดดังนั้นการที่ลูกน้องไม่สามารถช่วยทำงานได้มาก ก็แปลว่ายังไม่สามารถฝึกและสอนลูกน้องให้มีประสิทธิภาพได้เพียงพอ อาจจะสอนไม่เป็น ถ่ายทอดไม่เป็น อดทนไม่พอ หรือไม่มีความตั้งใจจริงที่จะสอนมากกว่าคือเรื่องแบบนี้มันไม่ใช่คนที่ทำงานเก่งจะแปลว่าสอนคนอื่นได้ หรือถ่ายทอดเก่งนะ ก็ดูกันง่ายๆ อย่างอาชีพครูนั่นไง คนจะเป็นครูได้ต้องเรียนจบครูมา ร่ำเรียนทางด้านการถ่าย ทอดการสอนมาโดยตรง แต่ปรากฏว่านักเรียนนักศึกษาเรียนไม่รู้เรื่อง ต้องหาที่เรียนกวดวิชาหรือหาคนติวให้ มันแปลว่าอะไรล่ะแปลว่า ความสามารถในการถ่ายทอดของครูที่เปิดกวดวิชาดีกว่าใช่ไหม มันเป็นความสามารถพิเศษของแต่ละคน มันไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับคนที่เป็นนาย เป็นผู้บริหาร เก่งเรื่องงานก็ไม่ได้แปลว่าเก่งเรื่องคนอาการของคนเก่งเรื่องงานแต่ไม่เก่งเรื่องคนก็จะเป็นแบบนี้ล่ะ คืองานท่วมหัวหนักหนาอยู่คนเดียว ไม่สามารถหามือรอง หรือสร้างลูกน้องขึ้นมาให้รับโหลดงานได้มากไปกว่าการแค่เป็นลูกมือเท่านั้นหากงานสูงกว่านี้ มากกว่านี้ จะทำคนเดียวหมดได้ยังไง เพราะเงื่อนไขเวลามันจะจำกัด หากเป็นผู้บริหารระดับกลางๆ การจะขึ้นได้สูงมันก็คงจะลำบาก เพราะขืนขึ้นไปใครจะรับผิดชอบงานที่ทำอยู่ เพราะลูกน้องทำไม่เป็น รับช่วงไม่ได้ ผู้ใหญ่เขาก็คงต้องเอาไว้ที่เดิม ขืนขยับเดี๋ยวงานเสียและหากเป็นเจ้าของเอง ธุรกิจมันก็คงขยายไม่ออก เพราะเถ้าแก่ขยับไม่ออกแล้ว แค่นี้งานก็ล้นมือ เพราะลูกน้องมันช่วยอะไรไม่ได้มากพอจะสรุปได้ว่า ทำงานเก่งแต่ยังไม่ฉลาดพอในการทำงาน คือเวิร์กฮาร์ดก็จริง แต่เวิร์กไม่สมาร์ต""จะเวิร์กให้สมาร์ตต้องทำยังไง ?""ฝึกคน สอนคน สร้างคนให้ได้สิ""จะเอาช่วงไหน จังหวะไหน เวลาไหน ไปฝึกไปสอนล่ะ ในเมื่อตอนนี้มันก็เต็มสูบอยู่แล้ว ขืนหันมาทำอย่างว่า งานจะยิ่งเสียหายเข้าไปใหญ่""ไอ้เรื่องการฝึกการสอนลูกน้องน่ะ เขาใช้วิธีทำไปสอนไปฝึกไปแบบออนจ๊อบเทรนนิ่งนั่นแหละ แต่ข้อสำคัญเราต้องมีแท็กติกและกุศโลบายในการสอน มันต้องค่อยเป็นค่อยไป เอาง่ายๆ ทำให้รับผิดชอบก่อน ทำได้ก็ค่อยเพิ่มระดับให้มันยากขึ้น"ก่อนให้งานมันก็ต้องทำให้เขาเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งเสียก่อน มันอยู่ที่การบรีฟงาน ทำให้เขาเห็นภาพและเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เขารู้ที่มาที่ไปและเหตุผลต่างๆ หรือไม่ ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการไหม อาจจะให้วิธีการขั้นตอนหนึ่งสองสามไปก่อนในช่วงแรกๆ พอมันเวิร์ก ก็อาจเริ่มให้เขาใช้ความคิดของเขาเองเพิ่มขึ้นๆ โดยบรีฟงานให้สั้นลง กระชับขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ใช้ความคิดและวิจารณญาณเพิ่มขึ้น ค่อยๆปล่อยให้เขาได้ตัดสินใจเองบ้างทีแรกๆ ก็ถามว่า เขาคิดว่ายังไง งานนี้จะทำแบบไหน เริ่มตรงไหนอย่างไร เจอปัญหาแล้วจะหาทางแก้แบบไหน ให้เขาออกความคิดเห็น อันไหนเห็นเข้าท่าก็ปล่อยเขาตัดสินใจไป อันไหนยังไม่ถูกต้องนัก ก็ลองให้ข้อสังเกต อย่าไปคิดไปสั่งเขาทุกขั้นตอน ค่อยๆ สร้างความเชื่อมั่นในตัวเขาขึ้นมาบางเรื่องผลมันอาจออกมาไม่ได้อย่างที่เราต้องการเสียทีเดียว มันต้องทำใจบ้าง ยอมพลาด ยอมเสียบ้าง มันก็เหมือนกับการลงทุนนั่นแหละ กว่าจะได้มันก็ต้องมีเสียบ้าง แต่มันจะคุ้มค่าในภายหลัง เมื่อลูกน้องสามารถรับงานเป็นชิ้นๆ เป็นเรื่องๆ ไปได้ยิ่งฝึกลูกน้อง สร้างลูกน้องขึ้นมาได้มากเท่าไหร่ งานในมือก็จะลดลงไปมากเท่านั้น เวลาจะมีมากขึ้นที่จะเอามานั่งคิดวิธีพัฒนาอะไรๆ ให้มันดีขึ้น มองอะไร ศึกษาอะไร ได้กว้างขึ้นลึกซึ้งขึ้น และจะสามารถรับงานได้เพิ่มขึ้นอีกแบบนี้แหละเขาถึงจะเรียกว่าเวิร์กฮาร์ดและเวิร์กสมาร์ต

เทคนิคการพัฒนาศักยภาพตนเอง :

การบริหารธุรกิจชีวิตสู่ความสำเร็จ
ผมมีความเชื่อว่าการดำเนินชีวิตคือการบริหารธุรกิจประเภทหนึ่งที่เป้าหมายสุดท้ายคือกำไร กำไรในที่นี้มิได้หมายถึงเงิน แต่หมายถึง “ความสำเร็จ” ดังนั้น ถ้าเป้าหมายของธุรกิจชีวิตเราคือความสำเร็จ เราคงต้องเริ่มบริหารชีวิตอย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น คนหลายคนสูญเสียเวลาแห่งชีวิตไปกับเรื่องที่ไร้สาระ ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปกับเข็มนาฬิกา ปล่อยให้โอกาสล่องลอยไปกับสายลมและแสงแดด คนหลายคนมีคำว่า “เสียดาย” อยู่เต็มหัว เพราะมารู้สึกตัวในเรื่องต่างๆ หรือคิดได้ก็สายไปเสียแล้ว กว่าจะรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ก็เจ็บป่วยไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าครอบครัวสำคัญก็มีปัญหาครอบครัวแตกแยกไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าความสามารถยังไม่ถึงก็ต่อเมื่อโอกาสดีผ่านไปแล้ว
เพื่อให้ชีวิตมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิตคือความสำเร็จ เราคงต้องมีการบริหารชีวิตตามแนวทางการบริหารธุรกิจชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราไม่ได้ละเลย หลงลืม หรือแกล้งลืมทำบางสิ่งบางอย่างในชีวิตในเวลาที่ควรจะทำ พูดง่ายๆก็คือ ป้องกันคำว่า “เสียดาย” อย่าให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราเลย ผมจึงขอแนะนำแนวทางในการบริหารธุรกิจชีวิตดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิต (Life Vision)
เราต้องกำหนดเป้าหมายสูงสุดในชีวิตให้ชัดเจนว่าเราต้องการความสำเร็จอะไร เมื่อไหร่ เช่น ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเมื่ออายุ 35 ปี ต้องการเป็นนักการเมืองเมื่ออายุ 40 ปี หรือต้องการมีเงินเก็บสัก 10-20 ล้าน ภายใน 10 ปี ฯลฯ คนหลายคนมักจะบอกว่าไม่รู้จะกำหนดเป้าหมายชีวิตได้อย่างไร จะเริ่มต้นที่ไหน ผมขอแนะนำว่าการกำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตสามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะคือก) กำหนดจากความฝันของเราเอง ความฝันของเราอาจจะเกิดจากแรงดลใจบางอย่างในชีวิต หรือเกิดจากความยากลำบากในชีวิต เช่น บางคนฝันอยากทำงานมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็ก เพราะเคยเป็นเด็กกำพร้ามาก่อนข) กำหนดแบบอย่างความสำเร็จของผู้อื่น โดยเราอาจเลือกคนมาเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ให้กับตัวเอง หรืออาจจะกำหนดความสำเร็จของคนหลายคนรวมกันก็ได้ เช่น เราอยากเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จเหมือนนักเขียนบางคน หรือเราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเหมือนเจ้าของธุรกิจบางคนที่ประสบความสำเร็จวิสัยทัศน์ของชีวิตเปรียบเสมือนดวงดาวบนท้องฟ้าที่ถึงแม้จะอยู่ห่างไกล แต่ก็สามารถสร้างพลังแสงสว่างให้กับเราได้ ในขณะเดียวกันวิสัยทัศน์ก็เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำพาชีวิตเราไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลาหลงทาง คนที่กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตได้ชัดเจนย่อมได้เปรียบคนอื่นอย่างแน่นอน เพราะในแต่ละย่างก้าวของชีวิตย่อมเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมาย และคงไม่ปล่อยให้ชีวิตก้าวออกนอกเส้นทางไปสู่เป้าหมายอย่างเด็ดขาด
2. วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT Analysis)
เมื่อเรามีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องกลับมาวิเคราะห์ตัวเราเองว่าชีวิตเราส่วนไหนบ้างที่เป็นจุดแข็งจะสามารถนำพาเราไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ได้ มีจุดไหนบ้างที่เรายังต้องพิจารณาปรับปรุงเพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ค้าขายกับต่างประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก จุดแข็ง (Strengths) ของเราก็คือเรามีเงินลงทุนเพียงพอ เคยทำธุรกิจครอบครัวมาก่อน แต่จุดอ่อน (Weaknesses) ของเราคือ เราใช้ภาษาต่างประเทศไม่เก่งหรือไม่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมของคนต่างชาติ
ในขณะเดียวกันเราก็คงจะต้องวิเคราะห์ว่าชีวิตของเรามีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้ออำนวย (Opportunities) และเป็นอุปสรรค (Threats) ในการเดินทางไปสู่จุดหมาย เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าช่วยให้เราสามารถขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตได้ แต่เราจะต้องประสบกับปัญหาการกีดกันทางการค้าจากประเทศตะวันตกโดยเงื่อนไขทางการค้าหรือมาตรฐานสากลประเภทต่างๆ
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและปัญหาอุปสรรคในชีวิตนั้น จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง ยอมรับจุดบกพร่องของตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาให้ถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตได้ ถ้าวิสัยทัศน์ของชีวิตคือ การเดินทางไปเชียงใหม่โดยรถยนต์ภายในเวลา 10 ชั่วโมง การวิเคราะห์ SWOT ของชีวิตก็เปรียบเสมือนการตรวจสภาพของรถยนต์ว่าสามารถวิ่งทางไกลได้หรือไม่ เครื่องร้อนเร็วหรือช้า ทำความเร็วได้กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งขึ้นเขาได้หรือไม่ มีส่วนไหนของรถที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างทางได้บ้าง รวมถึงการวิเคราะห์ว่าเส้นทางที่เราไปนั้นมีบ้านคนมากหรือไม่ มีปั๊มน้ำมันมากหรือน้อย โอกาสที่ฝนจะตกมีมากหรือไม่
3. กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors)
การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหมายถึง การกำหนดว่าอะไรคือตัวที่สำคัญที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ปัจจัยสู่ความสำเร็จอาจจะประกอบด้วย
เงินลงทุน เพราะถ้าเราไม่มีเงินเราคงเป็นเจ้าของกิจการไม่ได้
ความรู้ด้านการจัดการ เราในฐานะเจ้าของกิจการจะต้องมีความรู้ในธุรกิจนั้นๆ เพียงพอ
ลูกค้า เราต้องมีกลุ่มลูกค้าที่สนับสนุนสินค้าหรือบริการของเรา
บุคลากร ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการทำงานให้กับเรา
เทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขัน
แต่ถ้าเป้าหมายชีวิตของเราคือ การเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ
ความรู้ เพราะถ้าขาดความรู้คงไม่สามารถเขียนหนังสือหรือบทความได้
เทคนิคการเขียน เป็นศิลปะการเขียนที่มีเอกลักษณ์ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับสิ่งที่เขียน
ผู้อ่าน เป็นผู้ที่บ่งบอกว่างานเขียนของเราประสบความสำเร็จหรือไม่
ประสบการณ์ คือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราก้าวไปสู่เส้นทางนักเขียน
เราจะเห็นว่าการมีวิสัยทัศน์เป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จนั้น ถึงแม้เงินลงทุนจะมีความจำเป็นแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ ไม่เหมือนกับการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ดังนั้น การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จในชีวิตนี้จะช่วยให้เรามองเห็นความในชีวิตนี้เราจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งใดมาก ให้ความสำคัญกับสิ่งใดน้อย จะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิตได้อย่างดียิ่งขึ้น เราจะเห็นว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักกีฬาส่วนมากต้องประกอบด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จประเภทนี้ ในขณะที่ความสำคัญอันดับแรกๆของคนที่เป็นนักเขียนคือการแสวงหาความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
4. กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Aim)
เมื่อทราบเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองแล้ว ก็ต้องเริ่มกำหนดเป้าหมายในเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าต้องการเป็นเจ้าของกิจการ เราจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเรามีเงินทุนเพียง 5 แสนบาท เราหลือเวลาอีก 5 ปีในการหาเงินทุนให้ครบ ดังนั้น เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในแง่ของเงินทุนเราคือ 5 แสนบาทภายใน 5 ปี
การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ให้กับชีวิตในแต่ละด้าน จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นว่าปัจจัยตัวไหนที่ยังอยู่ห่างจากเป้าหมาย ปัจจัยตัวไหนที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของการไปสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น เป้าหมายทางด้านเงินทุนไม่ค่อยยากนักเพราะมีเวลาเก็บเงินอีกหลายปี แต่เป้าหมายทางด้านความรู้และประสบการณ์ในการจัดการทางธุรกิจเราอาจจะยังห่างจากเป้าหมายอยู่มาก ดังนั้น พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเราก็จะต้องทุ่มเทเวลาในการหาความรู้และประสบการณ์มากกว่าการหาเงินทุน
5. กำหนดทางเลือก (Strategic Option)
ในแต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ย่อยๆ ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายด้านเงินทุน เป้าหมายด้านความรู้และประสบการณ์ เราจะต้องกำหนดทางเลือกขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับตัวเราให้มากที่สุด เช่น เป้าหมายย่อยทางด้านเงินทุน เราอาจจะกำหนดทางเลือกในการหาเงินลงทุนดังนี้
กู้เงินจากสถาบันการเงิน เงื่อนไขคือเราต้องมีหลักทรัพย์หรือการค้ำประกัน
กู้ยืมเงินจากญาติพี่น้อง เงื่อนไขคือญาติพี่น้องเรามีเงินหรือไม่ เขาไว้ใจเราหรือไม่
เก็บสะสมเงินด้วยตัวเอง เงื่อนไขคือต้องใช้เวลานาน
ระดมทุนจากหุ้นส่วน เงื่อนไขคือ กิจการนั้นต้องมีผู้ถือหุ้นหลายคน
คนหลายคนที่มักจะตายน้ำตื้นก็คือมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน วิเคราะห์ตัวเองดี มีการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ไว้อย่างดี แต่พอมาถึงการหาทางเลือกคิดไม่ออก ไม่สามารถหาทางเลือกให้กับตัวเองได้ เพราะคนส่วนมากมักจะคิดในเชิงลบ เช่น คงไม่ไปไม่ได้หรอกเพราะต้องลงทุนเป็นล้าน คงจะยากนะที่จะไปขอกู้เงินเพราะเราไม่มีหลักทรัพย์ คนประเภทนี้มักจะตัดสินความคิดของตัวเองด้วยตัวเอง ทั้งๆที่บางคนคิดอาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ถ้าเราได้ลองลงมือทำจริงๆ เราต้องทดลองทำก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าใช่หรือไม่ใช่
เราคงเคยได้รับทราบประวัติของเจ้าของธุรกิจบางคนที่เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีเงิน แต่มีความพยายาม มีความขยัน มีความสุจริต มีน้ำใจ วันหนึ่งสิ่งใดๆที่เขาเคยทำในอดีตอาจจะส่งผลต่อการแสวงหาทางเลือกของเขาได้ เช่น มีชายคนหนึ่งยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เดินไปขอกู้เงินที่ไหนก็ไม่มีใครให้เพราะไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย จนมาวันหนึ่งเขาเดินไปขอกู้เงินที่ธนาคารๆหนึ่ง พอเข้าไปคุยกับผู้จัดการแล้ว ผู้จัดการท่านนั้นไม่ได้ให้เขากู้เงิน ธนาคารหรอก แต่ให้เขากู้เงินส่วนตัวของเขาเอง เพราะเมื่อหลายปีก่อนผู้จัดการธนาคารผู้นี้เคยประสบอุบัติเหตุเกือบเอาชีวิตไม่รอด ถ้าไม่ได้ชายคนนี้ช่วยเหลือไว้
จากเรื่องนี้ผมอยากให้ทุกคนคิดอยู่เสมอว่าทุกเส้นทางที่เราต้องการจะไปถึงนั้น มีทางออกอยู่เสมอ เพียงแต่ทางออกสำหรับชีวิตของเราเองอาจจะแตกต่างจากคนทั่วไป อาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเบื้องหน้าและเบื้องหลังชีวิตของคนแต่ละคน จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าไม่ใช่คนทุกคนจะได้รับเงินกู้จากผู้จัดการธนาคารคนนี้ บางคนอาจจะได้รับเงินกู้จากภรรยาผู้จัดการธนาคาร บางคนอาจจะได้รับเงินให้เปล่าจากคนบางคน บางคนอาจจะได้คนมาร่วมลงทุนก็เป็นไปได้ ดังนั้นจะขอให้ทุกคนเชื่อว่า “ทุกปัญหามีทางออกเสมอ” แต่จะต่างกันตรงที่มีความยากง่าย เร็วหรือช้าเท่านั้น
6. กำหนดแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
เมื่อเราได้เลือกทางเลือกเชิงกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ไปแล้ว เช่น เราจะหาเงินได้โดยการเก็บออมด้วยตนเอง เราจะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาต่อปริญญาโทการบริหารธุรกิจ เราจะหาประสบการณ์โดยเข้าไปทำงานกับธุรกิจครอบครัวที่เป็นมืออาชีพ เราจะอ่านหนังสือด้านการทำธุรกิจแบบมืออาชีพให้มากขึ้น เราต้องนำเอากลยุทธ์ในแต่ละด้านมาจัดทำเป็นแผนเชิงกลยุทธ์ว่าในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เราจะทำอะไรก่อนหลัง อะไรที่ทำควบคู่กันไปได้ พูดง่ายๆก็คือการเอาสิ่งต่างๆมาจัดทำตารางการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร นั่นเอง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในเรื่องของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของชีวิตคือ ต้องมีแผนสำรอง (Contingency Plan) กรณีที่แผนที่วางไว้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
7. นำไปปฏิบัติตามวงจร PDCA
เมื่อเรากำหนดแผนงานชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว (Plan) จึงจะลงมือนำไปปฏิบัติจริง (Do) จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ ว่าสิ่งที่ได้ลงมือทำไปนั้นเป็นไปตามแผนและเป้าหมายหรือไม่ (Check) หลังจากนั้นถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย (Action) ซึ่งเราจะต้องคำนึงถึงวงจรนี้อยู่ตลอดเวลา วงจร PDCA นี้ใช้ได้ทั้งวงจรของแผนใหญ่ของชีวิตและแผนสนับสนุนย่อยๆ เช่น แผนด้านการเงินก็ต้องใช้ PDCA แผนด้านการหาความรู้เพิ่มเติมก็ต้องใช้วงจร PDCA เช่นเดียวกัน
จากแนวทางดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะสามารถจุดประกายให้ท่านผู้อ่านได้ลองหยุดคิดพิจารณาดูนิดหนึ่งว่าชีวิตของเราได้ถูกกำหนดไว้เป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอนหรือไม่ ทำไมเราจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ของชีวิตได้ เป็นเพราะเราวางแผนธุรกิจชีวิตไว้ก่อนล่วงหน้าดี หรือเพราะดวงชะตาฟ้าลิขิต หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ แล้วช่วงเวลาแห่งชีวิตที่ยังเหลืออยู่ เราจะยังคงใช้วิธีการเดิมๆเดินไปสู่จุดหมายหรือเราจะต้องกำหนดแผนกลยุทธ์ชีวิตเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่จำเป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เราต้องเชื่อมั่นเสมอว่าผู้ที่วางแผนชีวิตได้ดีกว่า ย่อมมีโอกาสไปสู่เส้นชัยเหนือคนอื่นมากกว่าอย่างแน่นอน

7 อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ

สิ่งดี ๆ สำหรับทุกคน

กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ (7 ลับเลื่อยให้คม)
เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ชนะใจตน
1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ
ชนะใจผู้อื่น
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5.เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม
· นิสัยที่ 1 ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
“ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูด”
การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”
· สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
· Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
· การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
· แก่นสารของความอยู่รอด
· ทุกเช้าในแอฟริกา เมื่อกวางตื่นขึ้นมา มันต้องวิ่งให้เร็วกว่าสิงห์โตตัวที่วิ่งเร็วที่สุด มิฉะนั้น มันจะถูกกิน เช่นกัน เมื่อสิงห์โตตื่นขึ้นมามันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด อย่างน้อยต้องเร็วกว่า กวางตัวที่วิ่งช้าที่สุด มิฉะนั้น มันจะ อดตาย
· อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น
หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัว เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ
· ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
· อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็น
เป้าหมาย
· ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
1. Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
2. Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
3. Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
4. Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
5. Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)
นิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the end in mind)
· จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
· เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
· ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
· You are what you think.
· การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
· ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
· การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
· มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
· เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
· Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน
· จินตภาพ = Mind Map
· วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ
· ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้
· การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง
ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
· สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
· อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
· ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
นิสัยที่ 3 ลำดับความสำคัญก่อนหลัง
· ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ
1. คิดว่าจะทำอะไร
2. ทำอย่างไร
3. เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี
· ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร
DO

เอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุย รับประทานอาหาร
ร่วมกัน
นอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็ม
ออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
สงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
อ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาที

DON'T
ดูละครโทรทัศน์จนดึก
ผลัดวันประกันพรุ่ง
ทะเลาะกันในครอบครัว
เอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน

การฝาก (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้)

- ความเมตตากรุณาและสุภาพ
- รักษาสัญญา
- ทำตามความคาดหวัง
- ซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์
- กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณ

การถอน (สิ่งที่ควรเลิก)
- ความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆ
- ไม่รักษาสัญญา
- ทำลายความคาดหวัง
- ไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้า
- ยโส หลอกลวง และเย่อหยิ่ง
“You can’t talk your way out of problems you behaved yourself into.” (Stephen R. Covey)
“ท่านไม่สามารถพูดเพื่อพาตัวเองหนีอออกจากปัญหา หากท่านนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องโดยพฤติกรรมของท่านเอง”
(สตีเฟน อาร์ โควีย์)


Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity

นิสัยที่ 4 คิดชนะ-ชนะ
· หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง
· วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกและด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
· Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็นความสัมพันธ์ (Relationship)
· นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
1. Knowledge & Skill (What to, Why to)
2. Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
3. Desire = I want to (ความต้องการ)
· กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็นกรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
· กรอบความคิด (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ
· บุคคลเป็นผลผลิตของการเรียนรู้และประสบการณ์และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่มีบุคคลสองคนที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
· กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น
· คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
· การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
· ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจากการพัฒนาสิ่งที่ผิดให้ทำถูกและดีขึ้น
· ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
· ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
· การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
· กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
· การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
· กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
· ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
· Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
· ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
· Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”
· สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ
· คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่
· คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
· การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
· ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
· รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ
1. Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
2. Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
3. Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
4. Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
5. Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ
ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มอง
เห็นความชัดเจนของข้อมูล
การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส
ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งใน
ใจคนให้เป็น
เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมอง มากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี
· คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้



เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง
H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)


PRODUCTIVITY: IT MEANS WORKING SMARTER RATHER THAN HARDER
I RECOMMEND YOU TAKE CARE OF THE MINUTES FOR THE HOURS WILL TAKE CARE OF THEMSELVES.
TO EVERYTHING THERE IS A SEASON
AND A TIME FOR EVERY PURPOSE UNDER HEAVEN
A TIME TO BE BORN, A TIME TO BE DIE
A TIME TO PLANT, A TIME TO REAP
A TIME TO BREAK DOWN, AND A TIME TO BUILD
A TIME TO WEEP, A TIME TO LAUGH
A TIME TO MOURN, A TIME TO DANCE
A TIME TO KEEP SILENT, A TIME TO SPEAK.
YOU CANNOT BORROW TIME; YOU CANNOT HOARD IT
YOU CANNOT EVEN WORK HARD AND EARN MORE TIME
ALL YOU CAN DO IS INVEST THE TIME YOU HAVE.
· When geese fly in formation, they travel 70% faster than when they fly along. Geese share leadership when the lead goose tires, he (or she) rotates back into the “V,” and another, flies forward to become the leader. Geese keep company with the fallen.
· เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
· อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
· ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด
· ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People
( 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง) โดย Stephen R. Covey เรียบเรียงโดย คุณสงกรานต์ จิตสุทธิกากร
และคุณนิรันดร์ เกชาคุปต์
ขอให้เพื่อน ๆ และครอบครัวมีความสุข สดชื่น สมหวัง ตลอดไป ทั้งยังสามารถ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นบุคคลอันล้ำค่าของครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป และจะมีความรู้ใหม่ ๆ มาเล่าสู่กันฟังเรื่อย ๆ ค่ะ
ด้วยความปรารถนาดี

การเจรจาต่อรอง

ท่านคิดว่าบุคลิกผู้นำแบบใดที่ช่วยสร้างความสามัคคีปรองดองในบ้านเมือง ? คมคิด : คนมักเยาะเย้ยกระทำบ้านเมืองให้ลุกเป็นไฟ แต่ปราชญ์แปรความโกรธเกรี้ยวไปเสีย
“สมศรี ไม่น่ารับงานนี้มาทำเลย” วรรณฤดีรู้สึกหงุดหงิด “กำไรก็ได้น้อย ลูกค้าก็จุกจิก เปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ เวลาก็เหลือน้อย จะทำทันมั้ยเนี่ย” หลังจากรับโทรจากลูกค้าที่โทรตามงานแทบทุกชั่วโมง
สมศรีได้แต่นิ่งเงียบ นึกในใจว่า “ฝ่ายขายก็น่าจะตั้งราคาให้สูงกว่านี้ จะมาว่าแต่จัดซื้อได้ยังไง” ขณะที่หัวหน้าฝ่ายขายไม่กล้าการรับโทรศัพท์จากลูกค้าเพราะกลัวถูกต่อว่า
“ยามมืดที่สุด ก็ใกล้สว่างที่สุดด้วย” ยุทธศักดิ์พูดบวก “แม้กำไรจะไม่มาก แต่ที่มากและไม่เคยหมดก็คือความตั้งใจทำงานของทุกคนเพื่อเห็นแก่บริษัทจะได้อยู่รอดในยามนี้” ทำให้สร้างขวัญกำลังใจและความสามัคคีปรองดองขึ้นในทันที
คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรียกร้องให้เรารู้จักเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และในยามนี้หมายถึงการสามัคคีปรองดองเพื่อเห็นแก่ความมั่นคงปลอดภัยของชาติเป็นจุดหมายสูงสุดดังพระราชดำรัสของในหลวง
ในทำนองเดียวกัน ความสามัคคีปรองดองในองค์กรจะมีเกิดขึ้นไม่ได้หากหัวหน้าปราศจากอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง (Emotional stability) อันเป็นหนึ่งใน Five-Factor Model ของบุคลิกภาพที่เอื้อต่อผลการปฏิบัติงาน (Performance) และศักยภาพแห่งภาวะผู้นำ (Leadership capabilities) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ผ่านงานวิจัยจำนวนมากตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบนี้ได้แก่ การเข้าสังคมได้ดี (Extraversion) การยืดหยุ่นเข้าใจคน (Agreeableness) การมีหลักการแบบแผน (Conscientiousness) การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ (Openness) และ ความหนักแน่นมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional stability)
หากปราศจากทักษะบริหารอารมณ์ซึ่งจะช่วยให้มีบุคลิกแห่งอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง แม้ผู้บริหารจะเก่งคิดวิเคราะห์ วางกลยุทธ์ได้อย่างแยบยล แต่เขาไม่อาจกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ (Great leader) วันนี้ท่านมีบุคลิกนี้มากน้อยเพียงใด มาสำรวจด้วยกัน
ท่านเป็นคนเจ้าอารมณ์หรือไม่ ?
ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ ในที่ทำงาน ท่านตอบสนองอย่างไร
ทักษะสื่อสารปรับความคาดหวัง (Communicating expectation) ช่วยท่านได้
(ทักษะเสริมได้แก่ ทักษะทบทวนตนเอง (Self dialogue), ทักษะฉันอยู่นี่ (Here & Now) ดูได้ใน www.oknation.net/blog/youthana
ทักษะนี้เป็นการปรึกษากันระหว่างเรากับลูกค้าหรือผู้เสียหายเกี่ยวกับสถานการณ์ผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกโดยปรับความคาดหวังที่มีต่อกันในเชิงบวก การไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ ยิ่งจะทำให้บุคคลรู้สึกผิดหวังและไม่พอใจ อันนำมาซึ่งความหงุดหงิดและอารมณ์โกรธ ดังนั้นการปรับความคาดหวังให้ตรงกันด้วยการสื่อสารที่เหมาะสมจะช่วยแก้ไขและลดอารมณ์รุนแรงต่อกันลงได้ ทักษะนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนต่อเนื่องกันดังโมเดลและคำอธิบายดังนี้
ขอยกกรณี สินค้าทำเสร็จล่าช้า ทำให้ส่งไม่ทันตามกำหนด และลูกค้าโทรมาตามตลอด
1.เริ่มต้นด้วยมิตรไมตรี เป็นการบอกถึงความตั้งใจดีที่ทั้งเราและลูกค้ามีร่วมกัน เช่น “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านให้ความไว้วางใจในการสั่งสินค้านี้กับทางบริษัท และตลอดเดือนที่ผ่านมาทางบริษัทเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้เสร็จทันตามกำหนด” ซึ่งจะช่วยสร้างความคิดความรู้สึกทางบวกตั้งแต่แรก
2.ขอโทษและบอกข้อจำกัด เป็นการกล่าวขอโทษในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจ และบอกถึงข้อจำกัดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยไม่ต้องกล่าวโทษใครแต่ให้พูดภาษาเชิงบวกที่มุ่งทางออก (Solution-focused language) เช่น "แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ (อาจระบุตามสมควร) ดิฉันกราบขออภัยท่านที่ส่งสินค้าไม่ได้ทันตามกำหนด ทางบริษัทจึงเร่งทำการทั้งกลางวันและกลางคืน" ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความรับผิดชอบของเรา
3.เสนอทางเลือก เป็นการขอคำปรึกษาและนำเสนอทางออก เพื่อให้ลูกค้าได้คิดไตร่ตรองและเลือกตามเห็นสมควร อันเป็นการตั้งความคาดหวังใหม่ให้ตรงกันและสมจริง เช่น "เพื่อสินค้าที่เหลือจะจัดส่งได้อย่างเหมาะสม ทางบริษัทจึงขอเรียนปรึกษาว่า ก)....ข)....ค)...ท่านคิดเห็นอย่างไร?" ซึ่งช่วยลดผลกระทบและป้องกันความผิดหวังซ้ำๆ ได้
"หัวหน้าพรรคคนใด ที่ขาดการรู้จักบังคับตน?
อาจนำมาซึ่งการแตกสามัคคีได้หรือไม่?"

องค์กรหัวกะทิ

ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเมืองที่เราคนไทยได้สัมผัสแบบมีเรื่องให้อัศจรรย์ใจได้ทุกวัน พวกเราโชคดีอย่างยิ่งที่มีกระแสและแง่คิดเรื่องความสมดุลและพอเพียงที่เป็นความหวังในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสังคมไทยให้อยู่ยั่งยืน
วันนี้ ดิฉันขอเล่าเรื่องผลงานการค้นคว้าเกือบ 4 ปีของทีมงานวิจัยของยุโรป นำโดยคณาจารย์ของ School of Management Innsbruck University ของออสเตรีย เรื่ององค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ผลงานวิจัยนี้เน้นการวิเคราะห์เจาะลึกบริษัทชั้นนำของยุโรป เช่น Siemens, Nokia, HSBC และ Shell ซึ่งประสบความสำเร็จระดับโลก โดยได้รับการจัดคัดกรองเป็นองค์กรในกลุ่ม Fortune 500 ในปี 2546
ทั้งนี้บริษัทที่เขาเลือกศึกษาต้องมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน กล่าวคือต้องยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้อย่างน้อยเป็นเวลา 100 ปี !
ทีมงานวิจัยศึกษาเจาะลึกแนวทางการทำงาน โอกาส ปัญหา อุปสรรค และผลประกอบการของกลุ่มบริษัทชั้นนำเหล่านี้ โดยมีการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆในธุรกิจเดียวกันที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่ยังเป็นรองกลุ่มแรก กลุ่มเปรียบเทียบมี เช่น AEG, Ericsson Standard Chartered และ BP เป็นต้น
วัตถุประสงค์คือกลั่นหารูปแบบ และแนวทางการบริหารองค์กรที่กลุ่มหัวกะทิทำแตกต่างจากองค์กรอื่น ซึ่งส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้อย่างยืนยงคงกระพัน
อีกนัยหนึ่ง เขาทำอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้านจึงอยู่ยาวนานเป็นร้อยปี โดยไม่ใช่เก่าแก่แบบกะโหลกกะลา แต่เป็นองค์กรแถวหน้า เป็นองค์กรหัวกะทิในระดับโลกที่พิสูจน์แล้วว่าไม่บูดง่ายๆ
ผลการวิจัยมีอะไรให้ทีมงานและคณาจารย์ด้านบริหารจัดการแปลกใจพอสมควรค่ะ
หัวข้อที่โดดเด่นเป็นสง่า ที่เขาทำเข้าท่ากว่าคู่แข่งมี 4 เรื่องหลัก คือ
1. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง
กระแสและแนวคิดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันนี้ ยุให้องค์กรกล้าปรับเปลี่ยน ทั้งต้องเปลี่ยนเร็วและเปลี่ยนบ่อย อย่าค่อยๆ จด ค่อยๆ จ้อง เพราะอุปสรรคและโอกาสไม่เคยรอใคร
องค์กรหัวกะทิเหล่านี้ก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง แรงเหวี่ยง เสี่ยงภัย เช่นเดียวกับบริษัททั่วไป อย่างไรก็ดี แนวทางและนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลงดูจะขัดแย้งกับข้อแนะนำข้างต้น เพราะผลการวิเคราะห์ เจาะประเด็นว่าองค์กรหัวกะทิมีรูปแบบการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน คือ เลือกเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ โดยทำยามจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ไม่ทำบ่อย ไม่ทำพร่ำเพรื่อ และเมื่อเลือกที่จะเปลี่ยนก็จะทำอย่างระมัดระวังโดยพยายามสร้างความพร้อมในองค์กรก่อนหรืออย่างน้อยควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง เช่น เมื่อองค์กรตระหนักว่าต้องนำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การควบรวมกิจการ เขาก็จะลุกขึ้นมาตั้งหลักสื่อสารขนานใหญ่ สร้างทักษะผู้บริหารในการนำการเปลี่ยนแปลง เสริมทักษะคนทำงานในการตามการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อจะปรับระบบการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเสริม เขาก็จะทำความเข้าใจ สร้างระบบใหม่ ให้ความรู้ผู้ใช้งานก่อนหรือควบคู่ไปให้ทันการเปลี่ยนแปลง มิใช่วางระบบแล้วค่อยมาพบมาคุยกันว่าใช้อย่างไร ทำไมต้องเปลี่ยน เป็นต้น
2. ของเดิม VS. ของใหม่
ทฤษฎีการบริหารจัดการยุคนี้เน้นความสำคัญเรื่องนวัตกรรม เรื่องของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดใหม่ เทคโนโลยีใหม่ สินค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ ประมาณว่า อะไรยิ่งใหม่ยิ่งดี
จากประสบการณ์ตลอด 100 ปีขององค์กรหัวกะทิ มีมุมที่น่าสนใจ คือ เขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่เดิมมากกว่าของใหม่ นโยบายและแนวทางการบริหารองค์กรจึงเน้นการใช้ประโยชน์จากปัจจัยที่มีอยู่แล้วให้เต็มที่สุดๆ ให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะไปไขว่คว้าหาอะไรใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรเดิม หรือการดูแลลูกค้าปัจจุบัน เป็นต้น
ทั้งนี้ มิได้แปลว่า องค์กรหัวกะทิไม่ให้ความสำคัญเรื่องนวัตกรรม หรือปัจจัยใหม่ๆ ในการเติบโต เพราะต่างตระหนักดีว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง มีความจำเป็นต้องมองและลองของใหม่
หัวใจคือ ของที่มีอยู่ในมือที่อาจดู“พื้นๆ” ยืนยันได้หรือยังว่าใช้คุ้มแล้ว ถ้ายังไม่คุ้ม อย่าเพิ่งทิ้ง
3. ความหลากหลาย
องค์กรหัวกะทิมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันอีกหนึ่งข้อคือ ”ไม่ใส่ไข่ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะหากบังเอิญตะกร้าหลุดร่วงตกหล่น ไข่จะได้ไม่แตกทั้งหมด อดกิน
ความหลากหลายในเชิงธุรกิจและกลยุทธ์ จึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจที่ทำให้องค์กรหนังเหนียว ที่ไม่ยอมเหี่ยวกับกาลเวลาเหล่านี้ มีความยืดหยุ่น จนยืนหยัดเป็นหนึ่งได้ในทุกวันนี้
ความหลากหลายซึ่งเป็นนโยบายลดความเสี่ยงในการบริหารองค์กรมีได้หลายมิติ เช่น ความหลากหลายในแง่สินค้าและการบริการ
หลายองค์กรในยุคปัจจุบันพยายามทำเฉพาะสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ บริษัทฯที่ขยายธุรกิจออกแผ่ซ่านบานกว้างไกล ทำได้ทุกอย่าง แต่กลายเป็นทำไม่ได้ดีสักอย่าง เพราะขาดความเก่ง จึงเร่งหุบยุบรวม เน้นเนื้อๆ เหลือไว้แต่ธุรกิจหลัก
อย่างไรก็ดี จากผลการวิจัยบริษัทหัวกะทิ ปรากฏว่าต่างมีความหลากหลายในเรื่องสินค้าและบริการ งานวิจัยให้มุมมองว่าการทำธุรกิจโดยขาดความหลากหลาย อาจดีในช่วงสั้น แต่เมื่อมองระยะยาว ถือเป็นข้อจำกัดของการอยู่รอดแบบปลอดภัย
ทั้งนี้ ความหลากหลายที่พอเหมาะ คือการเจาะหาสินค้าและบริการในธุรกิจใกล้เคียง หรือโยงใยกับธุรกิจหลักขององค์กร ไม่ขยายแบบสะเปะสะปะ นึกจะทำอะไรก็ทำ
มีการเปรียบเทียบสถิติว่า จากองค์กร 100 แห่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์กรชั้นนำในปี 2513 องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียว หลุดจากโผไปถึง 68% ในปี 2536 และอีก 42% ในปี 2546 ขณะที่องค์กรที่มีความหลากหลาย หายไปจากโผเพียง 37% ในปี 2536 และ 35% ในปี 2546 ตามลำดับ
นอกจากนั้น ความหลากหลาย ยังหมายรวมถึงด้านกลุ่มลูกค้า ด้านคู่ค้า คู่ขาย ผู้ให้บริการ ตลอดจนความหลากหลายด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ มีตลาด หรือสาขา รวมถึงคู่ค้ากระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆ หากที่ใดเกิดภัยพิบัติ หรือ ปัญหาอื่นๆ จะได้ไม่กระเทือนองค์กรเกินไป เป็นต้น
4. การเรียนรู้จากความผิดพลาด
ฟังแล้วดู “พื้นๆ” อีกแล้วนะคะ
ผิดแล้วต้องจำ ผิดแล้วต้องไม่ผิดซ้ำ
พูดอีกก็ถูกอีก
ผลการวิจัย บ่งชี้ว่าพฤติกรรมนี้พูดง่ายแต่คงทำไม่ง่ายดังคิดหรือพูด เพราะเมื่อเปรียบเทียบองค์กรหัวกะทิกับคู่แข่ง ปรากฏว่า องค์กรที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นองค์กรที่เรียนรู้จากความผิดพลาด ตลอดจนมีกระบวนการเรียนรู้ว่า พลาดเพราะอะไร จะได้ไม่ผิดซ้ำ ทั้งยังตอกย้ำ สื่อสารซ้ำๆ และเก็บข้อมูลเรื่องความผิดพลาดไว้ในองค์กร ใครมาใหม่จะได้มีข้อมูล และไม่ผิดแบบเดิมๆ
องค์กรโดยรวมมักไม่ได้ใช้บทเรียนจากความผิดพลาดได้คุ้มเท่ากับองค์กรหัวกะทิ จึงออกอาการผิดแล้วผิดอีก พลาดซ้ำพลาดซ้อน อายุจึงไม่ยืนยงคงทนพ้น 100 ปี
ดูตัวละครเหล่านี้แล้ว อย่าลืมมองย้อนดูตัวองค์กรของเราว่ามีมุมไหนมุมใดไปใช้ได้... ไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ

The Secret of Leadership "เคล็ดลับ" ผู้นำ

เดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี 2007 แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ในที่ทำงานเริ่มเฉลิมฉลองกัน ไม่มีใครอยากทำงานหนักๆ ในห้วง 2 อาทิตย์สุดท้ายของปีแล้ว ใช่ไหมคะ หากท่านผู้อ่านที่เป็นผู้บริหารพอมีเวลาว่างๆ เบาๆ ลองค่อยๆ หลับตา ยิ้มให้กับตัวเองอย่างมีความสุข นึกขอบคุณลูกน้องทุกๆ คนที่ช่วยกันทำงานตลอดปีที่ผ่านมาให้แก่ท่าน ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เราทำงานผ่านพ้นมาอีกหนึ่งปีแล้ว และจินตนาการถึงปี 2008 ต่ออย่างสุขใจด้วยความลับของการเป็นสุดยอดผู้นำในปี 2008 ที่ดิฉันนำมาฝากค่ะ
ผู้นำลองใช้กฎแห่งการดึงดูดบอกกับตัวเองเสมอตลอดปี 2008 นี้ค่ะ อย่างมีความสุขว่าท่านเห็น ทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement)
ให้ท่านคิดถึงบ่อยๆ และเชื่อด้วยความจริงใจค่ะว่าสิ่งที่ท่านต้องการมันเป็นจริงแล้วลองลงมือทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ โดยหันมาดูและเล่นเรื่องคนอย่างจริงจัง เป็นอันดับต้นๆ เลยค่ะ
- ทำความรู้จักลูกน้องของท่านอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการบ้าง ก็จะดีไม่น้อยเลยค่ะ เพราะท่านก็จะได้ทราบว่าลูกน้องมีความต้องการอะไร มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ในปี 2008 นี้ เผื่อว่าท่านจะได้ช่วยสนับสนุนเขาได้ในบางเรื่อง ดิฉันไม่ได้แนะนำให้เข้าไปก้าวก่ายในชีวิตลูกน้องในลักษณะลงลึกนะคะ แต่อยากให้ผู้นำได้ทำความรู้จักลูกน้องบ้างระดับหนึ่ง พองามค่ะ และท่านจะรู้ว่ามันได้ใจเขามากมายเลยค่ะ
- เริ่มต้นปี 2008 ผู้นำต้องคุยกับลูกน้องสายตรงเป็นรายบุคคลนะคะถึงการตั้งเป้าหมายการทำงานของแต่ละคน เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของลูกน้องได้อย่างชัดเจน (Performance Management) บอกความคาดหวังที่ชัดเจนให้ลูกน้องรับทราบ รับรู้ และยอมรับกติกากันแต่ต้นปีค่ะ พนักงานจะทำงานได้ดี เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน และทุกๆ ไตรมาสก็ชวนลูกน้องมาคุยเรื่องผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจดูว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นปีนั้น ลูกน้องมีปัญหาไหม ผู้นำจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ค่ะ
- ผู้นำต้องดูแล จัดสรร ทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ ในการทำงานให้กับลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้สะดวก คล่องตัวค่ะ และถ้าจะทำให้ลูกน้องประทับใจ ผู้นำควรถามลูกน้องว่าอยากได้อะไรเพิ่มเติมอีก เพื่อให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
- มั่นใจว่าปี 2008 นี้ ท่านจะได้ทำการฝึกอบรมลูกน้อง และ ทำการฝึกอบรมซ้ำ (Retrain) ในเรื่องทักษะการติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะการบริหารความขัดแย้ง เป็นต้น เพราะทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้องเรามีปฏิสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร เข้าใจเรา เข้าใจเพื่อนร่วมงาน เข้าใจลูกค้า และเข้าใจคู่ค้าดีขึ้นค่ะ การติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างกันจะส่งผลให้ความเครียดลดลง และได้งานที่มีคุณภาพตามมาค่ะ
- ยุคนี้เป็นยุคของการจัดการความรู้ และปี 2008 นี้ เรื่องของ Knowledge Management ก็ยังมาแรงอยู่ค่ะ ดังนั้น การ Show & Share ผู้นำต้องยึดมั่น ถือมั่น หมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา ทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส ลงมือทำอย่างตั้งใจค่ะ โดยการ share และพูดถึงอย่างชื่นชมในเรื่องที่ลูกน้องท่านทำและประสบความสำเร็จ และพูดถึงเรื่องที่องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมีชีวิตชีวา เรื่องไหนที่ผิดพลาดก็ share และหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อนำมาเป็นบทเรียน ให้ท่านหลีกเลี่ยงเรื่องราวการพูดที่ทำลายขวัญ การพูดถึงบุคคลและองค์กรในแง่เสียหาย เหล่านี้ห้าม Show & Share ค่ะ
- ผู้นำต้องสำนึกรู้คุณลูกน้องค่ะ ต้องตบรางวัลให้แก่ลูกน้องเมื่อยามที่เขาทำดี ผู้นำยุคปี 2008 ต้องรู้ว่าจะต้องเลือกให้รางวัลที่มีความหมายต่อผู้ได้รับ (คือลูกน้อง) ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นของผู้นำอย่างยิ่งและเป็นสิ่งสำคัญของผู้นำที่จะต้องใส่ใจรู้จักคนของคุณให้ดี จะได้ตบรางวัลได้ถูกใจค่ะ
- หมั่นสอบถามลูกน้องเสมอๆ ค่ะ ว่าท่านเป็นอย่างไรบ้างในสายตาพวกเขา เป็นการฝึก Open Minded ค่ะ และฝึกการเป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะขอ feedback ตรงๆ จากลูกน้องนะคะ เป็นใครก็ไม่ค่อยกล้าบอกความจริงกันหรอกค่ะ เพราะนายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการประเมินผลของลูกน้อง เคยได้ยินใช่ไหมคะว่า คนที่พูดความจริงตายไปแล้วทุกราย วิธีการลองทำดังนี้ค่ะ
§ ทำแบบฟอร์มให้ลูกน้องลองประเมิน 360 องศาดูค่ะ โดยที่ไม่ต้องให้ลูกน้องลงชื่อผู้ประเมินค่ะ อาจได้ข้อมูลระดับหนึ่ง เปิดใจกว้างเตรียมตัว เตรียมใจกับผลที่ได้รับค่ะ บอกกับตัวเองตลอดเวลาค่ะว่า “ฉันได้ข้อมูลนี้มาเพื่อการพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นผู้นำที่น่ารักของใครต่อใคร ขอบคุณผู้ประเมินที่สละเวลาเป็นกระจกสะท้อนให้ฉัน” หรือ
§ ลงมือทำ Dialog หันหน้าพูดคุยกับลูกน้อง โดยใช้คำถามเริ่มต้นเช่น ปี 2008 นี้ ท่านตั้งเป้าหมายสำคัญๆ ในการพัฒนาตนเองไว้หลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องที่ท่านคิดว่าสำคัญมากคือการพัฒนาตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารของทีมงานนี้ ขอให้ลูกทีมช่วยบอกหน่อยว่าปี 2008 นี้ ลูกทีมต้องการให้ท่านทำอะไรที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาบ้าง หรือ ถามลูกทีมว่าในปี 2008 นี้ พวกเขาอยากให้ท่านทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้น เมื่อได้รับคำตอบ หรือ feedback แล้ว ให้ท่านน้อมรับฟังอย่างใจที่เปิดกว้างและขอบคุณลูกน้องท่านด้วยความเต็มใจค่ะ และนำข้อมูลที่ท่านได้รับมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ
ความลับอีกข้อหนึ่งคือท่านผู้นำจะต้องรู้สึกว่าได้รับสิ่งที่ต้องการเห็นว่าทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) แล้วความอัศจรรย์จะเกิดขึ้นค่ะ ว่าท่านจะได้รับจริงๆ ในปี 2008 นี้ค่ะ

--------------------------------------------
โดย ดร.เกศรา รักชาติ: Ph.D. Leadership and Human Behavior