คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต แม้จะประสบความสำเร็จในเรื่องที่แตกต่างกัน บางคนประสบความสำเร็จในด้านงาน บางคนประสบความสำเร็จด้านการเงิน บางคนประสบความสำเร็จด้านครอบครัว ฯลฯ แต่ทุกคนจะมีความเหมือนในความแตกต่างนั้นอยู่อย่างหนึ่งคือ "คิดการใหญ่” การคิดการใหญ่มิได้หมายถึงเพียงการเพ้อฝันเกินตัว แต่เป็นการตั้งเป้าหมายในการทำงานที่สูงกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น สูงกว่าที่คนทั่วๆ ไปเขาคิดกัน คนเหล่านี้มักจะมองว่าเป้าหมายที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายในชีวิต
พลังความอดทน อดกลั้นของคนมักจะถูกกำหนดโดยช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับจุดที่เรายืนอยู่ในขณะนั้น ผมขอยกตัวอย่างประกอบสักสองตัวอย่าง ตัวอย่างแรกคือ การวิ่งออกกำลังกายรอบสนามฟุตบอล ในขณะที่เราวิ่งอยู่นั้น ถ้าเราตั้งเป้าว่าจะวิ่งสัก 3 รอบ จิตใจของเราก็จะกำหนดจุดไว้เลยว่าพลังอึดของเราจะขึ้นสูงสุดและหมดลงเมื่อครบ 3 รอบสนาม เราจะรู้สึกหมดแรงเมื่อใกล้ๆ จะครบสามรอบสนาม เพราะเราไปกำหนดจิตไว้ที่สามรอบ แต่ถ้าเราตั้งเป้าว่าจะวิ่งสี่รอบ เมื่อครบสามรอบแล้วเราจะมีความรู้สึกที่แตกต่างไปจากการตั้งเป้าเพียงสามรอบ เพราะในความเป็นจริงแล้ว จิตใจของเรามีศักยภาพสูงมาก เพียงแต่ตัวเราเองไปตั้งค่าของมันไว้ในจุดที่ต่ำกว่าสิ่งที่มันควรจะเป็น สรุปง่ายๆ คือเราไปกำหนดระดับของความท้อแท้ไว้ก่อนล่วงหน้านั่นเอง
ตัวอย่างที่สองที่จะพูดถึงคือ ถ้าเรากำลังถกเถียงกับใครบางคน เรามักจะมีการกำหนดจุดระเบิดทางอารมณ์ของเราไว้ที่จุดๆหนึ่ง(จุดหมดความอดกลั้น) เช่น ถ้ามันด่าเรามาอีกสักประโยคเดียว เราจะชกหน้ามันทันที และเมื่อคนๆนั้นพูดด่าเราออกมาจริงๆ รับรองได้เลยว่า 99.99% เราชกหน้าเขาอย่างแน่นอน เพราะเราไปตกลงทำสัญญาใจกับตัวเองเอาไว้ แล้วสัญญาแบบนี้มักจะเป็นสัญญาลูกผู้ชายเสมอคือไม่ค่อยยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลง
จากตัวอย่างดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าการกำหนดเป้าหมายไม่ว่าเรื่องใดก็ตามจะส่งผลต่อพฤติกรรมและวิธีการทำงานของคนเราอย่างมาก ผมจึงขอเสนอแนวทางในการตั้งเป้าหมายในการทำงานที่มีประสิทธิภาพดังนี้
ตั้งเป้าหมายให้สูงกว่าที่เราต้องการไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในการทำงานหรือเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิต เราควรตั้งเป้าหมายแบบมูลค่าเพิ่ม หมายถึงการตั้งเป้าหมายให้สูงกว่าที่เราต้องการ เช่น เราต้องการเก็บเงินซื้อรถยนต์สักคันหนึ่งราคาประมาณหกแสนบาท เราควรจะตั้งเป้าเก็บเงินให้ได้มากกว่านั้น เพราะต้องเผื่อเงินบางส่วนไว้ใช้ตกแต่ง ซ่อมแซม หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกี่ยวกับรถไว้ด้วย ถ้าเราต้องการเป็นผู้จัดการภายใน 5 ปีข้างหน้า ให้เราตั้งเสียใหม่อาจจะเป็น 3 ปี หรือ 2 ปี เพราะการที่เราบีบเป้าหมายให้สั้นลงหรือยากขึ้นนั้น เราจะต้องคิดมากขึ้น หาช่องทางที่ดีขึ้น พัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่าจะขับรถไปรับลูกค้าภายใน 1 ชั่วโมง พฤติกรรมในการขับรถของเราอาจจะขับแบบเรื่อยๆค่อยๆไป เจออะไรข้างหน้าก็จะแวะดูก่อน แต่ถ้าเรากำหนดเสียใหม่ให้ท้าทายมากขึ้น เราจะต้องกำหนดว่าเราจะเดินทางไปให้ถึงก่อนเวลาที่นัดกับลูกค้าไว้ โดยเราตั้งเป้าหมายในการขับรถประมาณ 40 นาที พฤติกรรมการขับรถของเราจะเปลี่ยนไป อะไรที่เกิดขึ้นข้างทางเราจะไม่สนใจ เรามุ่งแต่การขับรถอย่างไรให้ถึงจุดหมายภายใน 40 นาทีเท่านั้น
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายหรือสูงกว่าที่เราต้องการ จะช่วยให้เรามีแรงฮึดหรือแรงส่งมากกว่าการตั้งเป้าต่ำ นอกจากนี้ การตั้งเป้าสูงจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพราะถึงแม้เราจะไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้(เกินจริง) แต่ผลที่ได้อาจจะเท่ากับหรือสูงกว่าเป้าหมายที่เราต้องการได้ เช่น เราต้องการมีเงินเดือนเป็นแสนเมื่อทำงานครบสิบปี ถ้าเราตั้งเป้าว่าทำงานครบห้าปี เราจะมีเงินเดือนเป็นแสน แต่เมื่อเวลาผ่านไปห้าปี เงินเดือนของเราอาจได้เพียงแปดเก้าหมื่น(ต่ำกว่าเป้าหมาย) แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงินเดือนของเราอาจจะสูงกว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกับเราก็ได้
ตั้งเป้าหมายให้สูงกว่าที่เคยทำได้ในอดีตการตั้งเป้าหมายควรจะนำเอาผลสำเร็จและเป้าหมายในอดีตมาพิจารณาเพื่อกำหนดเป้าหมายในระดับที่สูงขึ้น เพราะจะทำให้เป้าหมายการทำงานของเรามีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเคยตั้งเป้าหมายไว้แล้ว แต่ไปประสบความสำเร็จ แล้วเมื่อตั้งเป้าหมายใหม่ก็เลยลดระดับของเป้าหมายลง อย่างนี้จะทำให้เกิดเป็นนิสัยที่ไม่ดีกับตัวเองคือ เราจะทุ่มเทความพยายามในการไปสู่จุดหมายที่ลดลง เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเป้าหมายนั้นๆ สามารถปรับลดลงได้ ทางที่ดีเราควรจะปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานให้เหมือนกับนักกีฬาที่ต้องการทำลายสถิติตัวเองให้ได้
สร้างพันธะผูกพันให้ตัวเอง (Commitment)ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร โอกาสที่เราจะปรับเปลี่ยนเป้าหมายลดลงนั้นมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายนั้นๆ เป็นเป้าหมายที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ ดังนั้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนใจของตัวเราเอง จึงขอแนะนำให้สร้างพันธะผูกพันกับคำมั่นสัญญาของตัวเองไว้กับบุคคลอื่นๆ อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงานหรือบุคคลอื่นๆ เพราะเป็นกลไกทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เรายึดมั่นกับเป้าหมายที่ได้ประกาศไว้กับผู้อื่น
จับจ้องที่เป้าหมายปลายทาง (Ended Results)ในระหว่างทางที่เดินไปสู่จุดหมาย แน่นอนเราจะต้องประสบพบเจอกับปัญหาอุปสรรคบ้าง เมื่อเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย อยากยกเลิกการกระทำนั้นๆ ขอให้เอาใจไปจับจ้องไว้ที่ผลสำเร็จของสิ่งนั้น เช่น เบื่อการทำงาน เบื่อเพื่อนร่วมงาน ขอให้คิดไว้ว่าความเบื่อนั้นเป็นเพียงแค่ทางผ่านที่เราจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิตการทำงาน เดี๋ยวเดียวความเบื่อก็จะถูกทดแทนด้วยสิ่งใหม่ เมื่อความเบื่อจากไปความใกล้เคียงกับเป้าหมายก็จะเข้ามาเยือน จงสร้างกำลังใจให้กับตัวเองโดยให้ขอยืมความรู้สึกเมื่อเราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้มาใช้ก่อนล่วงหน้า จะช่วยให้เรามีกำลังใจในการเดินทางไปสู่เป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายให้ท้าทาย จะเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบพฤติกรรม รูปแบบ และแนวทางในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตให้กับคนเรา ถ้าเราจะเลือกคบใครสักคนเป็นเพื่อนขอแนะนำให้คบกับคนที่มีการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายไว้ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเราจะได้เรียนรู้วิธีการทำงานของเขาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคนทั่วๆ ไป นอกจากนี้ขอให้ลองศึกษาประวัติของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตดู เราจะพบว่าเอกลักษณ์หรือวิธีคิดของเขาจะแตกต่างไปจากคนอื่น ซึ่งถ้าเราศึกษาวิเคราะห์เจาะลึกลงไปถึงแก่นแท้ของวิธีคิดของเขาเหล่านั้นแล้ว ถึงแม้แต่ละคนจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน มีกลยุทธ์ในการบริหารงาน บริหารชีวิตที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการจุดประกายพลังขับเคลื่อนภายใน (Internal Drive) ให้กับตัวเองโดยการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายนั่นเอง
"ชีวิตจะมีค่า ถ้ารู้ว่าเราอยู่ที่ไหน กำลังมุ่งหน้าไปยังที่แห่งใด และจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร”
1/17/08
ปฏิบัติตนอย่างไร...ให้หัวหน้างานพอใจ
By : อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์
หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท/กิจกรรม หรือทำงานอิสระ (Freelance) แล้วล่ะก็ ทุกคนคงจะมีหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ให้คุณให้โทษแก่คุณ พบว่าลูกน้องหลายต่อหลายคนที่มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ก็เพราะหัวหน้างานที่คอยเป็นผู้ผลักดัน ช่วยเหลือ และอบรมพัฒนาให้มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้โอกาสแก่คุณได้แสดงฝีมือในการทำงาน
และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหัวหน้างานจะมีหลากหลายสไตล์ที่แตกต่างกันไป เช่น พวกที่จู้จี้ขึ้บ่น หรือพวกที่ชอบเอะอะโวยวาย เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่ดีสุดๆ แบบชนิดที่ว่า PERFECT ไปซะทุกเรื่อง ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ดิฉันอยากให้คุณมองตนเองก่อนว่าจะทำตัวอย่างไรให้หัวหน้างานพอใจ ทั้งนี้การปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องอยาก เพียงขอให้คุณเข้าใจความต้องการหรือธรรมชาติของผู้เป็นหัวหน้างานว่าพวกเค้าต้องการหรือมีธรรมชาติอย่างไร ซึ่งดิฉันได้สรุปเทคนิคในการปฏิบัติตนเพื่อให้หัวหน้างานพึงพอใจ ดังต่อไปนี้
A - Accuracy : ทำงานให้ถูกต้อง แม่นยำ
ไม่มีหัวหน้างานคนไหนอยากให้ลูกน้องทำงานผิด ๆ ถูก ๆ แก้แล้วแก้อีก แบบชนิดที่ว่าต้องคอยกำกับไปซะทุกเรื่อง หากคุณรีบทำงานและส่งงานมาให้ตรงหรือก่อนเวลาที่กำหนด แต่ผลงานที่ออกมานั้นต้องมีการแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่า งานชิ้นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในสายตาของหัวหน้างาน มันอาจจะส่งผลต่อผลการทำงาน (Performance) ที่ไม่ดีของตัวคุณเอง ดังนั้นดิฉันขอแนะนำว่าควรทำงานให้ถูกต้องแม่นยำจะดีที่สุด อย่าพยายามรีบนำส่งโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เพราะจะทำให้หัวหน้าคุณเริ่มไม่ไว้วางใจในตัวคุณ อย่าลืมว่าความไว้วางใจจะเกิดขึ้นจากผลงานที่คุณทำ ซึ่งหากหัวหน้างานเจอข้อผิดพลาดแล้วล่ะก็ เค้าอาจต้องลงมาควบคุมการทำงานคุณอย่างใกล้ชิด ชนิดที่ว่าคุณเองอาจจะอึดอัดใจหรือรำคาญใจเลยก็ว่าได้
C - Cooperation : ให้ความร่วมมือ และอาสาทำงาน
อย่าพยายามเกี่ยงหรือหลีกเลี่ยงงานที่หัวหน้ามอบหมายพิเศษ หรืออาจเป็นงานด่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพียงเพราะคิดว่าไม่อยากให้ใครมาเอาเปรียบ หรือคิดว่าทำไมไม่ใช้ให้อีกคนทำ เกรงว่าตนเองจะต้องอยู่ดึกดื่น หรือทำงานในวันหยุด ลูกน้องบางคนคิดว่าได้เงินแค่นี้ก็ทำงานในปริมาณเท่านี้ก็พอแล้ว ทำไมต้องอุทิศตนอะไรมากมาย ทำงานให้ดีแค่ไหน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ไม่รู้จะทำไปทำไม คุณรู้ไหมว่าหากคุณคิดแบบนี้ ก็เท่ากับว่าคุณปิดโอกาสในการเรียนรู้งานเพิ่มเติม ปิดโอกาสที่จะฝึกทักษะในการทำงานใหม่ ๆ และโดยเฉพาะปิดโอกาสที่จะแสดงศักยภาพหรือความสามารถให้หัวหน้างานเห็น และผลที่ตามมาก็คือ ค่าตัวหรือมูลค่า (Value) ของตัวคุณไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุของคุณเลย และผลในระยะยาวก็คือคุณจะมีความสามารถหรือทักษะที่จำกัดเฉพาะแค่งานที่ทำเท่านั้น ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าความสามารถในการทำงานของคุณ จะบ่งบอกถึงมูลค่าของคุณเอง ยิ่งคุณมีมูลค่ามากขึ้นเท่าไหร่ คุณยิ่งมีค่าตัวมากขึ้นเท่านั้น
F - Follow Up : ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
คงไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่อยากจะมาจ้ำจี้จำไชลูกน้องทุก ๆ วัน หรือคอยติดตามสอบถามความคืบหน้าจากลูกน้องอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นลูกน้องเองควรจะติดตามงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานอย่างสม่ำเสมอ และรีบแจ้งความคืบหน้าให้หัวหน้าทราบทันที อย่ารอให้หัวหน้าต้องทวงถามหรือถามถึงก่อนอยู่บ่อยครั้ง แต่พยายามแจ้งความคืบหน้าหรือความก้าวหน้าของงานที่คุณเองได้ติดตามไป หากงานที่คุณกำลังติดตามมีปัญหาหรือข้อขัดข้องที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ ขอให้รีบแจ้งหัวหน้าของคุณเองเพื่อให้เค้ารับรู้ปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมงานที่มอบหมายถึงไม่คืบหน้าเสียที จงอย่าแบกรับปัญหาเอาไว้เองโดยที่หัวหน้างานของคุณไม่รับรู้อะไรเลย ดังนั้นการติดตามและแจ้งผลของงานให้หัวหน้าทราบ จะทำให้หัวหน้างานไม่ต้องคอยกังวลหรือถามไถ่งานจากคุณบ่อยครั้งนัก
L - Listening : ฟังให้เข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ
ลูกน้องหลายคน กลัวไม่กล้าถามหัวหน้างานหากไม่เข้าใจงานที่มอบหมายให้ หรือบางครั้งอาจคิดไปเองโดยไม่มีการสอบถามหรือทบทวนงานที่มอบหมายให้ทำ ในส่วนนี้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องคงจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน โดยหัวหน้าเองอาจจะสอบถามความเข้าใจจากลูกน้องว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน อย่างไรบ้าง และผู้ที่เป็นลูกน้องเองควรจะทวนโจทย์หรืองานที่นายมอบหมายให้ทำ อย่าเดาหรือคิดเอาเอง เพราะจะยิ่งทำให้เสียเวลาทั้งตัวลูกน้องเองเพราะจะต้องแก้ไขงานและนำส่งงานให้หัวหน้าใหม่ และหัวหน้าเองอาจต้องเสียเวลาในการตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นควรตั้งใจฟังพยายามจับประเด็นให้ได้ว่าหัวหน้างานต้องการให้ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร และต้องนำส่งงานให้หัวหน้างานเมื่อไหร่ และควรจะสอบถามเพิ่มเติมหากมีข้อสงสัย อย่าให้เป็นคำถามที่คาใจคุณ เพราะอาจทำให้คุณทำงานผิดพลาดไปได้
R - Respect : เคารพยกย่อง อ่อนน้อมถ่อมตน
ไม่ว่าหัวหน้างานจะเก่งหรือไม่เก่งกว่าคุณ หรือเป็นหัวหน้างานที่คุณเองไม่ถูกชะตาเอาซะเลย คนที่เป็นลูกน้องที่ดี ควรให้เกียรติหัวหน้างาน พยายามอย่าเอาเรื่องของหัวหน้าไปเมาส์หรือป่าวประกาศในทางเสียหาย อย่าพยายามพูดให้ใครต่อใครคิดและรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้างานของเราเอง การแสดงความเคารพนั้นยังหมายรวมถึงการยอมรับฟังในประเด็น หรือเหตุผลของหัวหน้างาน อย่าพยายามโต้เถียงเพื่อเอาชนะ จงยอมรับและปฏิบัติตามในผลสรุปที่หัวหน้างานเห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม นอกจากนี้การแสดงความเคารพยังหมายความถึงการใช้คำพูดกับหัวหน้างานคุณเอง จงระวังคำพูดที่สื่อสารออกไป บางครั้งคุณอาจจะสนิทสนมกับหัวหน้างานมากจนลืมไปว่าเค้าคือหัวหน้าของคุณเอง ซึ่งคำพูดที่สื่อออกไปอาจฟังแล้วไม่รื่นหู จนบางครั้งไม่รู้ใครเป็นหัวหน้าหรือลูกน้องกันแน่ และขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า คำพูดเปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งจะทำให้ผู้ใหญ่ชอบหรือไม่ชอบตัวเราจากคำพูดที่สื่อออกไป
S - Self Improvement : ปรับปรุงตนเอง สร้างความสำเร็จ
ลูกน้องที่ดีควรพยายามคิดหาวิธีการที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบงานของตนเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ พยายามคิดว่าจะช่วยงานของหัวหน้างานได้อย่างไรเพื่อให้หัวหน้างานเบาแรงและเบาใจ รวมทั้งควรรับฟังหัวหน้างานเมื่อหัวหน้างานชี้แจงข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่เค้าต้องการให้คุณปฏิบัติ อย่าถือโทษโกรธเคืองหัวหน้าของคุณเองเพียงเพราะเค้าเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ขอให้คุณมองให้ลึกซึ้งลงไปว่าการที่หัวหน้าคอยตักเตือนหรือสอนสั่งคุณ เหตุเพราะเค้าอยากให้คุณได้ดิบได้ดีในอนาคตข้างหน้า เค้าอยากให้คุณปรับปรุงและพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น การตักเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ณ ตอนนี้ จะดีกว่าที่คุณไม่รู้เลยว่าคุณทำงานเป็นอย่างไร และเมื่อถึงเวลาประเมินผลการทำงาน หัวหน้างานอาจจะประเมินผลการทำงานของคุณไม่ดีหรือไม่เป็นไปอย่างที่คุณหวังหรือคิดไว้เลย
ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ขอให้คุณเริ่มมองตนเองว่าคุณปฏิบัติตนอย่างไรกับหัวหน้างานของคุณเอง และหัวหน้างานยอมรับคุณมากน้อยแค่ไหน หากสถานการณ์ระหว่างคุณกับหัวหน้างานไม่สู้ดีนัก คุณควรเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเสียใหม่ ยังไม่สายเกินแก้ที่จะปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจ พยายามสร้างรอยยิ้มและเสียหัวเราะในการทำงานร่วมกับหัวหน้างาน และในที่สุดคุณเองจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความสุขและสนุกกับการทำงานร่วมกับหัวหน้างานของคุณเอง
หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท/กิจกรรม หรือทำงานอิสระ (Freelance) แล้วล่ะก็ ทุกคนคงจะมีหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ให้คุณให้โทษแก่คุณ พบว่าลูกน้องหลายต่อหลายคนที่มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ก็เพราะหัวหน้างานที่คอยเป็นผู้ผลักดัน ช่วยเหลือ และอบรมพัฒนาให้มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้โอกาสแก่คุณได้แสดงฝีมือในการทำงาน
และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหัวหน้างานจะมีหลากหลายสไตล์ที่แตกต่างกันไป เช่น พวกที่จู้จี้ขึ้บ่น หรือพวกที่ชอบเอะอะโวยวาย เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่ดีสุดๆ แบบชนิดที่ว่า PERFECT ไปซะทุกเรื่อง ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ดิฉันอยากให้คุณมองตนเองก่อนว่าจะทำตัวอย่างไรให้หัวหน้างานพอใจ ทั้งนี้การปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องอยาก เพียงขอให้คุณเข้าใจความต้องการหรือธรรมชาติของผู้เป็นหัวหน้างานว่าพวกเค้าต้องการหรือมีธรรมชาติอย่างไร ซึ่งดิฉันได้สรุปเทคนิคในการปฏิบัติตนเพื่อให้หัวหน้างานพึงพอใจ ดังต่อไปนี้
A - Accuracy : ทำงานให้ถูกต้อง แม่นยำ
ไม่มีหัวหน้างานคนไหนอยากให้ลูกน้องทำงานผิด ๆ ถูก ๆ แก้แล้วแก้อีก แบบชนิดที่ว่าต้องคอยกำกับไปซะทุกเรื่อง หากคุณรีบทำงานและส่งงานมาให้ตรงหรือก่อนเวลาที่กำหนด แต่ผลงานที่ออกมานั้นต้องมีการแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่า งานชิ้นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในสายตาของหัวหน้างาน มันอาจจะส่งผลต่อผลการทำงาน (Performance) ที่ไม่ดีของตัวคุณเอง ดังนั้นดิฉันขอแนะนำว่าควรทำงานให้ถูกต้องแม่นยำจะดีที่สุด อย่าพยายามรีบนำส่งโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เพราะจะทำให้หัวหน้าคุณเริ่มไม่ไว้วางใจในตัวคุณ อย่าลืมว่าความไว้วางใจจะเกิดขึ้นจากผลงานที่คุณทำ ซึ่งหากหัวหน้างานเจอข้อผิดพลาดแล้วล่ะก็ เค้าอาจต้องลงมาควบคุมการทำงานคุณอย่างใกล้ชิด ชนิดที่ว่าคุณเองอาจจะอึดอัดใจหรือรำคาญใจเลยก็ว่าได้
C - Cooperation : ให้ความร่วมมือ และอาสาทำงาน
อย่าพยายามเกี่ยงหรือหลีกเลี่ยงงานที่หัวหน้ามอบหมายพิเศษ หรืออาจเป็นงานด่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพียงเพราะคิดว่าไม่อยากให้ใครมาเอาเปรียบ หรือคิดว่าทำไมไม่ใช้ให้อีกคนทำ เกรงว่าตนเองจะต้องอยู่ดึกดื่น หรือทำงานในวันหยุด ลูกน้องบางคนคิดว่าได้เงินแค่นี้ก็ทำงานในปริมาณเท่านี้ก็พอแล้ว ทำไมต้องอุทิศตนอะไรมากมาย ทำงานให้ดีแค่ไหน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ไม่รู้จะทำไปทำไม คุณรู้ไหมว่าหากคุณคิดแบบนี้ ก็เท่ากับว่าคุณปิดโอกาสในการเรียนรู้งานเพิ่มเติม ปิดโอกาสที่จะฝึกทักษะในการทำงานใหม่ ๆ และโดยเฉพาะปิดโอกาสที่จะแสดงศักยภาพหรือความสามารถให้หัวหน้างานเห็น และผลที่ตามมาก็คือ ค่าตัวหรือมูลค่า (Value) ของตัวคุณไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุของคุณเลย และผลในระยะยาวก็คือคุณจะมีความสามารถหรือทักษะที่จำกัดเฉพาะแค่งานที่ทำเท่านั้น ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าความสามารถในการทำงานของคุณ จะบ่งบอกถึงมูลค่าของคุณเอง ยิ่งคุณมีมูลค่ามากขึ้นเท่าไหร่ คุณยิ่งมีค่าตัวมากขึ้นเท่านั้น
F - Follow Up : ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
คงไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่อยากจะมาจ้ำจี้จำไชลูกน้องทุก ๆ วัน หรือคอยติดตามสอบถามความคืบหน้าจากลูกน้องอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นลูกน้องเองควรจะติดตามงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานอย่างสม่ำเสมอ และรีบแจ้งความคืบหน้าให้หัวหน้าทราบทันที อย่ารอให้หัวหน้าต้องทวงถามหรือถามถึงก่อนอยู่บ่อยครั้ง แต่พยายามแจ้งความคืบหน้าหรือความก้าวหน้าของงานที่คุณเองได้ติดตามไป หากงานที่คุณกำลังติดตามมีปัญหาหรือข้อขัดข้องที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ ขอให้รีบแจ้งหัวหน้าของคุณเองเพื่อให้เค้ารับรู้ปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมงานที่มอบหมายถึงไม่คืบหน้าเสียที จงอย่าแบกรับปัญหาเอาไว้เองโดยที่หัวหน้างานของคุณไม่รับรู้อะไรเลย ดังนั้นการติดตามและแจ้งผลของงานให้หัวหน้าทราบ จะทำให้หัวหน้างานไม่ต้องคอยกังวลหรือถามไถ่งานจากคุณบ่อยครั้งนัก
L - Listening : ฟังให้เข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ
ลูกน้องหลายคน กลัวไม่กล้าถามหัวหน้างานหากไม่เข้าใจงานที่มอบหมายให้ หรือบางครั้งอาจคิดไปเองโดยไม่มีการสอบถามหรือทบทวนงานที่มอบหมายให้ทำ ในส่วนนี้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องคงจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน โดยหัวหน้าเองอาจจะสอบถามความเข้าใจจากลูกน้องว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน อย่างไรบ้าง และผู้ที่เป็นลูกน้องเองควรจะทวนโจทย์หรืองานที่นายมอบหมายให้ทำ อย่าเดาหรือคิดเอาเอง เพราะจะยิ่งทำให้เสียเวลาทั้งตัวลูกน้องเองเพราะจะต้องแก้ไขงานและนำส่งงานให้หัวหน้าใหม่ และหัวหน้าเองอาจต้องเสียเวลาในการตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นควรตั้งใจฟังพยายามจับประเด็นให้ได้ว่าหัวหน้างานต้องการให้ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร และต้องนำส่งงานให้หัวหน้างานเมื่อไหร่ และควรจะสอบถามเพิ่มเติมหากมีข้อสงสัย อย่าให้เป็นคำถามที่คาใจคุณ เพราะอาจทำให้คุณทำงานผิดพลาดไปได้
R - Respect : เคารพยกย่อง อ่อนน้อมถ่อมตน
ไม่ว่าหัวหน้างานจะเก่งหรือไม่เก่งกว่าคุณ หรือเป็นหัวหน้างานที่คุณเองไม่ถูกชะตาเอาซะเลย คนที่เป็นลูกน้องที่ดี ควรให้เกียรติหัวหน้างาน พยายามอย่าเอาเรื่องของหัวหน้าไปเมาส์หรือป่าวประกาศในทางเสียหาย อย่าพยายามพูดให้ใครต่อใครคิดและรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้างานของเราเอง การแสดงความเคารพนั้นยังหมายรวมถึงการยอมรับฟังในประเด็น หรือเหตุผลของหัวหน้างาน อย่าพยายามโต้เถียงเพื่อเอาชนะ จงยอมรับและปฏิบัติตามในผลสรุปที่หัวหน้างานเห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม นอกจากนี้การแสดงความเคารพยังหมายความถึงการใช้คำพูดกับหัวหน้างานคุณเอง จงระวังคำพูดที่สื่อสารออกไป บางครั้งคุณอาจจะสนิทสนมกับหัวหน้างานมากจนลืมไปว่าเค้าคือหัวหน้าของคุณเอง ซึ่งคำพูดที่สื่อออกไปอาจฟังแล้วไม่รื่นหู จนบางครั้งไม่รู้ใครเป็นหัวหน้าหรือลูกน้องกันแน่ และขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า คำพูดเปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งจะทำให้ผู้ใหญ่ชอบหรือไม่ชอบตัวเราจากคำพูดที่สื่อออกไป
S - Self Improvement : ปรับปรุงตนเอง สร้างความสำเร็จ
ลูกน้องที่ดีควรพยายามคิดหาวิธีการที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบงานของตนเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ พยายามคิดว่าจะช่วยงานของหัวหน้างานได้อย่างไรเพื่อให้หัวหน้างานเบาแรงและเบาใจ รวมทั้งควรรับฟังหัวหน้างานเมื่อหัวหน้างานชี้แจงข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่เค้าต้องการให้คุณปฏิบัติ อย่าถือโทษโกรธเคืองหัวหน้าของคุณเองเพียงเพราะเค้าเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ขอให้คุณมองให้ลึกซึ้งลงไปว่าการที่หัวหน้าคอยตักเตือนหรือสอนสั่งคุณ เหตุเพราะเค้าอยากให้คุณได้ดิบได้ดีในอนาคตข้างหน้า เค้าอยากให้คุณปรับปรุงและพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น การตักเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ณ ตอนนี้ จะดีกว่าที่คุณไม่รู้เลยว่าคุณทำงานเป็นอย่างไร และเมื่อถึงเวลาประเมินผลการทำงาน หัวหน้างานอาจจะประเมินผลการทำงานของคุณไม่ดีหรือไม่เป็นไปอย่างที่คุณหวังหรือคิดไว้เลย
ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ขอให้คุณเริ่มมองตนเองว่าคุณปฏิบัติตนอย่างไรกับหัวหน้างานของคุณเอง และหัวหน้างานยอมรับคุณมากน้อยแค่ไหน หากสถานการณ์ระหว่างคุณกับหัวหน้างานไม่สู้ดีนัก คุณควรเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเสียใหม่ ยังไม่สายเกินแก้ที่จะปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจ พยายามสร้างรอยยิ้มและเสียหัวเราะในการทำงานร่วมกับหัวหน้างาน และในที่สุดคุณเองจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความสุขและสนุกกับการทำงานร่วมกับหัวหน้างานของคุณเอง
กำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
คนเราเกิดมาคงไม่มีใครดีพร้อมไปหมดทุกด้าน คนทุกคนย่อมมีทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นแตกต่างกันไปตามเบื้องหลังชีวิตของแต่ละคน บางคนฉลาดแต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางคนเก่ง แต่นำเสนอไม่เป็น บางคนทำงานดี ขยันขันแข็ง แต่รับไม่ได้ที่ถูกคนอื่นตำหนิหรือดุด่า บางคนเก่ง แต่ไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฯลฯ
สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครมีจุดอ่อนหรือจุดเด่นน้อยกว่าหรือมากกว่ากัน แต่อยู่ที่ใครสามารถค้นหา ยอมรับ และลงมือกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดเด่นของตนเองได้มากกว่า คนบางคนหาไม่เจอแม้กระทั่งจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเอง คนบางคนหาเจอแต่ไม่ยอมรับจุดอ่อน หรือบางคนยอมรับแต่บอกว่าแก้ไขยากหรือแก้ไขไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว
ชีวิตคนเราไม่แตกต่างอะไรไปจากเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรที่ต้องเจอทั้งคลื่นลมและมรสุมในรูปแบบต่างๆ ถ้าเรือของเรามีความแข็งแกร่งพอก็สามารถแล่นผ่านมรสุมไปได้ แต่ถ้าเรือของเราไม่แข็งแกร่งเพียงพออาจจะผ่านไปแบบสะบักสะบอมหรือไม่ก็อับปางลงไปก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางก็ได้ แต่เราจะเห็นว่าเรือบางประเภท เช่น เรือใบ เป็นเรือที่ไม่แข็งแรงเหมือนเรือยนต์ประเภทอื่น แต่ทำไมมันถึงแล่นผ่านมรสุมไปได้เหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้เรือลำนั้นจะบอบบาง แต่ถ้ามีเทคนิคและวิธีในการแล่นเรือที่ดีก็สามารถผ่านมรสุมไปได้เช่นกัน เราจะเห็นว่าเรือใบหรือแม้แต่กระดานโต้คลื่นอันเล็กๆ สามารถต่อสู้และเอาชนะความแรงของคลื่นได้อย่างน่าทึ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้รู้จักใช้จุดอ่อนและจุดแข็งให้เป็นประโยชน์ในการเดินทาง เราจะเห็นว่าแม้เวลาลมเปลี่ยนทิศเรือใบสามารถที่จะวิ่งทวนกระแสคลื่นได้ ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องยนต์ แต่เขาใช้เทคนิคการแล่นแบบสลับฟันปลา จึงทำให้เรือแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้เหมือนกัน
ถ้าใครเจอมรสุมชีวิตที่หนักๆ ขอให้นึกถึงเรือใบหรือกระดานโต้คลื่นไว้เป็นข้อคิด ขอให้คิดเสมอว่าใบเรือแห่งชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่มรสุมอะไรจะนำพาไปที่ใด แต่อยู่ที่ทิศทางและเป้าหมายชีวิตภายในของตัวเราเองว่าเราต้องการไปยังที่ใด ส่วนจะมีปัญหาอะไรเข้ามาขัดขวางหรือไม่นั้น เราสามารถบริหารมันได้ เหมือนกับเรือใบที่เปราะบางแต่สามารถนำพาผู้คนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้
สำหรับการพัฒนาตนเอง โดยการกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งนั้น ผมขอแนะนำขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้
1. สำรวจค้นหาจุดอ่อนและจุดเด่น
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองคือ การค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองมีจุดอ่อนและจุดเด่นตรงไหนบ้าง สำหรับวิธีการในการวิเคราะห์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ กับผู้อื่น เช่น การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการสื่อสาร ระบบการคิด การอ่าน การเขียน การนำเสนอ รวมถึงวินัยในตนเองในด้านต่าง ๆ
การใช้ผู้อื่นเป็นกระจกเงา หมายถึง การให้ผู้อื่นวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดเด่นของเราว่าเป็นอย่างไร โดยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่รอบตัวเราเป็นคนวิเคราะห์ เช่น พ่อแม่พี่น้อง สามีภรรยา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง เพราะจะทำให้เราสามารถมองเห็นตัวเองในทุกมิติ เพราะจุดอ่อนหรือจุดเด่นบางอย่างเราไม่ได้แสดงออกให้คนบางกลุ่มเห็น เช่น พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่าทักษะในการสื่อสารเราเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่จะทราบดีเกี่ยวกับนิสัยลึกๆ ของเราซึ่งเพื่อนร่วมงานอาจจะไม่ทราบ
การใช้แบบทดสอบ เราสามารถทดสอบจุดอ่อนและจุดเด่นของเราได้จากแบบทดสอบประเภทต่างๆ เช่น แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อดูลักษณะนิสัย แบบทดสอบทางภาษา แบบทดสอบการคำนวณ ฯลฯ
การนำเอาปัญหาและความสำเร็จในชีวิตมาทบทวนเพื่อหาจุดอ่อนและจุดเด่น เช่น ทบทวนดูว่าเรื่องอะไรที่เรารับไม่ได้ เรื่องอะไรที่เราไม่ชอบมากที่สุด เรื่องอะไรที่เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ในขณะเดียวกันก็ให้ทบทวนดูความสำเร็จที่เราได้รับเกิดจากอะไร เช่น การที่เรามีหน้าที่การงานที่สูงในปัจจุบันเพราะเราเรียนเก่ง หรือเพราะเราทำงานดี เพราะเราเข้ากับหัวหน้าได้ดี ฯลฯ
2. จัดลำดับความสำคัญ
เมื่อเราทราบจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองแล้ว ให้ลองนำมาจัดลำดับดูว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องกำจัดหรือพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ถ้าไม่กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดเด่นนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในชีวิตของเรามากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าเราไม่กำจัดจุดอ่อนเรื่องการควบคุมอารมณ์ เราคงไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นหัวหน้าได้ หรือ ถ้าเราไม่พัฒนาทักษะด้านภาษา เราคงไม่สามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติตามที่เราหวังไว้ได้
ความถี่ในการเกิดขึ้นของจุดอ่อนหรือจุดเด่น จุดอ่อนใดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ หรือไม่รู้ตัวให้กำจัดออกไปก่อน เช่น เรามักจะลืมตัวพูดอะไรออกไปโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังอยู่เสมอทั้งๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจ สำหรับจุดเด่นที่เรามีและต้องใช้งานบ่อยๆ ก็ควรจะพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆขึ้น
3. ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
สิ่งสำคัญที่สุดในการกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นคือ การลงมือปฏิบัติจริง ถ้ามีความยากลำบากในการแก้ไขและพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน ขอแนะนำให้ทำทีละอย่าง เช่น ช่วงแรกอาจจะพัฒนาในเรื่องทัศนคติก่อน เมื่อทำได้สำเร็จแล้ว ค่อยๆ พัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จุดหักเหที่สำคัญในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ที่ "อย่าล้มเลิกความตั้งใจ" คนบางคนท้อ คนบางคนขาดความอดทนอดกลั้น พ่ายแพ้ภัยตัวเอง แน่นอนว่าการทำอะไรก็ตามย่อมมีปัญหาอุปสรรค แต่ขอให้คิดเสียว่าปัญหาอุปสรรคนั้นคือความท้าทาย พยายามหาแรงจูงใจเข้ามาเสริมทัพอยู่ตลอดเวลา เช่น บางคนได้แรงใจจากลูก บางคนได้แรงใจจากเป้าหมายในชีวิต บางคนได้แรงใจจากเพื่อน
การกำจัดจุดอ่อนเปรียบเสมือนคนกำลังเลิกบุหรี่ อาจจะทรมานบ้าง หงุดหงิดบ้าง แต่ถ้าผ่านไปได้ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนนิสัย โอกาสที่มันจะกลับมางอกเงยในชีวิตของเราก็น้อยลง แต่ถ้าเราได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ โอกาสที่นิสัยที่ไม่ดีจะกลับมาเติบโตอีกก็มีมากขึ้น ฉะนั้นต้องกำจัดแบบถอนรากถอนโคน
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง
เมื่อเราได้กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอะไรให้กับชีวิตแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำคือการประเมินผลดูว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะอะไรก็ตามที่เราสามารถวัดได้ ประเมินผลได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ และการประเมินผลจะช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ขอให้คิดว่าการกำจัดจุดอ่อนและการพัฒนาจุดเด่นของเราเป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่เรากำลังเล่นอยู่กับตัวเอง จงสนุกและเพลิดเพลินกับมันมากกว่าที่เราคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ที่หน้าเบื่อ
จากเทคนิคดังกล่าวจะเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรามีจุดอ่อนหรือจุดเด่นอะไรหรือมีจำนวนมากน้อยเพียงใด แต่อยู่ที่เราหาจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองเจอหรือไม่ เรายอมรับมันหรือไม่ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นจุดอ่อน และเราได้ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นอย่างจริงจังหรือไม่
"ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นที่การชนะใจตนเอง"
สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครมีจุดอ่อนหรือจุดเด่นน้อยกว่าหรือมากกว่ากัน แต่อยู่ที่ใครสามารถค้นหา ยอมรับ และลงมือกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดเด่นของตนเองได้มากกว่า คนบางคนหาไม่เจอแม้กระทั่งจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเอง คนบางคนหาเจอแต่ไม่ยอมรับจุดอ่อน หรือบางคนยอมรับแต่บอกว่าแก้ไขยากหรือแก้ไขไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว
ชีวิตคนเราไม่แตกต่างอะไรไปจากเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรที่ต้องเจอทั้งคลื่นลมและมรสุมในรูปแบบต่างๆ ถ้าเรือของเรามีความแข็งแกร่งพอก็สามารถแล่นผ่านมรสุมไปได้ แต่ถ้าเรือของเราไม่แข็งแกร่งเพียงพออาจจะผ่านไปแบบสะบักสะบอมหรือไม่ก็อับปางลงไปก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางก็ได้ แต่เราจะเห็นว่าเรือบางประเภท เช่น เรือใบ เป็นเรือที่ไม่แข็งแรงเหมือนเรือยนต์ประเภทอื่น แต่ทำไมมันถึงแล่นผ่านมรสุมไปได้เหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้เรือลำนั้นจะบอบบาง แต่ถ้ามีเทคนิคและวิธีในการแล่นเรือที่ดีก็สามารถผ่านมรสุมไปได้เช่นกัน เราจะเห็นว่าเรือใบหรือแม้แต่กระดานโต้คลื่นอันเล็กๆ สามารถต่อสู้และเอาชนะความแรงของคลื่นได้อย่างน่าทึ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้รู้จักใช้จุดอ่อนและจุดแข็งให้เป็นประโยชน์ในการเดินทาง เราจะเห็นว่าแม้เวลาลมเปลี่ยนทิศเรือใบสามารถที่จะวิ่งทวนกระแสคลื่นได้ ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องยนต์ แต่เขาใช้เทคนิคการแล่นแบบสลับฟันปลา จึงทำให้เรือแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้เหมือนกัน
ถ้าใครเจอมรสุมชีวิตที่หนักๆ ขอให้นึกถึงเรือใบหรือกระดานโต้คลื่นไว้เป็นข้อคิด ขอให้คิดเสมอว่าใบเรือแห่งชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่มรสุมอะไรจะนำพาไปที่ใด แต่อยู่ที่ทิศทางและเป้าหมายชีวิตภายในของตัวเราเองว่าเราต้องการไปยังที่ใด ส่วนจะมีปัญหาอะไรเข้ามาขัดขวางหรือไม่นั้น เราสามารถบริหารมันได้ เหมือนกับเรือใบที่เปราะบางแต่สามารถนำพาผู้คนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้
สำหรับการพัฒนาตนเอง โดยการกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งนั้น ผมขอแนะนำขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้
1. สำรวจค้นหาจุดอ่อนและจุดเด่น
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองคือ การค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองมีจุดอ่อนและจุดเด่นตรงไหนบ้าง สำหรับวิธีการในการวิเคราะห์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ กับผู้อื่น เช่น การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการสื่อสาร ระบบการคิด การอ่าน การเขียน การนำเสนอ รวมถึงวินัยในตนเองในด้านต่าง ๆ
การใช้ผู้อื่นเป็นกระจกเงา หมายถึง การให้ผู้อื่นวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดเด่นของเราว่าเป็นอย่างไร โดยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่รอบตัวเราเป็นคนวิเคราะห์ เช่น พ่อแม่พี่น้อง สามีภรรยา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง เพราะจะทำให้เราสามารถมองเห็นตัวเองในทุกมิติ เพราะจุดอ่อนหรือจุดเด่นบางอย่างเราไม่ได้แสดงออกให้คนบางกลุ่มเห็น เช่น พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่าทักษะในการสื่อสารเราเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่จะทราบดีเกี่ยวกับนิสัยลึกๆ ของเราซึ่งเพื่อนร่วมงานอาจจะไม่ทราบ
การใช้แบบทดสอบ เราสามารถทดสอบจุดอ่อนและจุดเด่นของเราได้จากแบบทดสอบประเภทต่างๆ เช่น แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อดูลักษณะนิสัย แบบทดสอบทางภาษา แบบทดสอบการคำนวณ ฯลฯ
การนำเอาปัญหาและความสำเร็จในชีวิตมาทบทวนเพื่อหาจุดอ่อนและจุดเด่น เช่น ทบทวนดูว่าเรื่องอะไรที่เรารับไม่ได้ เรื่องอะไรที่เราไม่ชอบมากที่สุด เรื่องอะไรที่เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ในขณะเดียวกันก็ให้ทบทวนดูความสำเร็จที่เราได้รับเกิดจากอะไร เช่น การที่เรามีหน้าที่การงานที่สูงในปัจจุบันเพราะเราเรียนเก่ง หรือเพราะเราทำงานดี เพราะเราเข้ากับหัวหน้าได้ดี ฯลฯ
2. จัดลำดับความสำคัญ
เมื่อเราทราบจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองแล้ว ให้ลองนำมาจัดลำดับดูว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องกำจัดหรือพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ถ้าไม่กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดเด่นนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในชีวิตของเรามากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าเราไม่กำจัดจุดอ่อนเรื่องการควบคุมอารมณ์ เราคงไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นหัวหน้าได้ หรือ ถ้าเราไม่พัฒนาทักษะด้านภาษา เราคงไม่สามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติตามที่เราหวังไว้ได้
ความถี่ในการเกิดขึ้นของจุดอ่อนหรือจุดเด่น จุดอ่อนใดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ หรือไม่รู้ตัวให้กำจัดออกไปก่อน เช่น เรามักจะลืมตัวพูดอะไรออกไปโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังอยู่เสมอทั้งๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจ สำหรับจุดเด่นที่เรามีและต้องใช้งานบ่อยๆ ก็ควรจะพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆขึ้น
3. ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
สิ่งสำคัญที่สุดในการกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นคือ การลงมือปฏิบัติจริง ถ้ามีความยากลำบากในการแก้ไขและพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน ขอแนะนำให้ทำทีละอย่าง เช่น ช่วงแรกอาจจะพัฒนาในเรื่องทัศนคติก่อน เมื่อทำได้สำเร็จแล้ว ค่อยๆ พัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จุดหักเหที่สำคัญในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ที่ "อย่าล้มเลิกความตั้งใจ" คนบางคนท้อ คนบางคนขาดความอดทนอดกลั้น พ่ายแพ้ภัยตัวเอง แน่นอนว่าการทำอะไรก็ตามย่อมมีปัญหาอุปสรรค แต่ขอให้คิดเสียว่าปัญหาอุปสรรคนั้นคือความท้าทาย พยายามหาแรงจูงใจเข้ามาเสริมทัพอยู่ตลอดเวลา เช่น บางคนได้แรงใจจากลูก บางคนได้แรงใจจากเป้าหมายในชีวิต บางคนได้แรงใจจากเพื่อน
การกำจัดจุดอ่อนเปรียบเสมือนคนกำลังเลิกบุหรี่ อาจจะทรมานบ้าง หงุดหงิดบ้าง แต่ถ้าผ่านไปได้ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนนิสัย โอกาสที่มันจะกลับมางอกเงยในชีวิตของเราก็น้อยลง แต่ถ้าเราได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ โอกาสที่นิสัยที่ไม่ดีจะกลับมาเติบโตอีกก็มีมากขึ้น ฉะนั้นต้องกำจัดแบบถอนรากถอนโคน
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง
เมื่อเราได้กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอะไรให้กับชีวิตแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำคือการประเมินผลดูว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะอะไรก็ตามที่เราสามารถวัดได้ ประเมินผลได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ และการประเมินผลจะช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ขอให้คิดว่าการกำจัดจุดอ่อนและการพัฒนาจุดเด่นของเราเป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่เรากำลังเล่นอยู่กับตัวเอง จงสนุกและเพลิดเพลินกับมันมากกว่าที่เราคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ที่หน้าเบื่อ
จากเทคนิคดังกล่าวจะเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรามีจุดอ่อนหรือจุดเด่นอะไรหรือมีจำนวนมากน้อยเพียงใด แต่อยู่ที่เราหาจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองเจอหรือไม่ เรายอมรับมันหรือไม่ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นจุดอ่อน และเราได้ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นอย่างจริงจังหรือไม่
"ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นที่การชนะใจตนเอง"
คนเราเกิดมาคงไม่มีใครดีพร้อมไปหมดทุกด้าน คนทุกคนย่อมมีทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นแตกต่างกันไปตามเบื้องหลังชีวิตของแต่ละคน บางคนฉลาดแต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางคนเก่ง แต่นำเสนอไม่เป็น บางคนทำงานดี ขยันขันแข็ง แต่รับไม่ได้ที่ถูกคนอื่นตำหนิหรือดุด่า บางคนเก่ง แต่ไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฯลฯ
สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครมีจุดอ่อนหรือจุดเด่นน้อยกว่าหรือมากกว่ากัน แต่อยู่ที่ใครสามารถค้นหา ยอมรับ และลงมือกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดเด่นของตนเองได้มากกว่า คนบางคนหาไม่เจอแม้กระทั่งจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเอง คนบางคนหาเจอแต่ไม่ยอมรับจุดอ่อน หรือบางคนยอมรับแต่บอกว่าแก้ไขยากหรือแก้ไขไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว
ชีวิตคนเราไม่แตกต่างอะไรไปจากเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรที่ต้องเจอทั้งคลื่นลมและมรสุมในรูปแบบต่างๆ ถ้าเรือของเรามีความแข็งแกร่งพอก็สามารถแล่นผ่านมรสุมไปได้ แต่ถ้าเรือของเราไม่แข็งแกร่งเพียงพออาจจะผ่านไปแบบสะบักสะบอมหรือไม่ก็อับปางลงไปก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางก็ได้ แต่เราจะเห็นว่าเรือบางประเภท เช่น เรือใบ เป็นเรือที่ไม่แข็งแรงเหมือนเรือยนต์ประเภทอื่น แต่ทำไมมันถึงแล่นผ่านมรสุมไปได้เหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้เรือลำนั้นจะบอบบาง แต่ถ้ามีเทคนิคและวิธีในการแล่นเรือที่ดีก็สามารถผ่านมรสุมไปได้เช่นกัน เราจะเห็นว่าเรือใบหรือแม้แต่กระดานโต้คลื่นอันเล็กๆ สามารถต่อสู้และเอาชนะความแรงของคลื่นได้อย่างน่าทึ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้รู้จักใช้จุดอ่อนและจุดแข็งให้เป็นประโยชน์ในการเดินทาง เราจะเห็นว่าแม้เวลาลมเปลี่ยนทิศเรือใบสามารถที่จะวิ่งทวนกระแสคลื่นได้ ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องยนต์ แต่เขาใช้เทคนิคการแล่นแบบสลับฟันปลา จึงทำให้เรือแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้เหมือนกัน
ถ้าใครเจอมรสุมชีวิตที่หนักๆ ขอให้นึกถึงเรือใบหรือกระดานโต้คลื่นไว้เป็นข้อคิด ขอให้คิดเสมอว่าใบเรือแห่งชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่มรสุมอะไรจะนำพาไปที่ใด แต่อยู่ที่ทิศทางและเป้าหมายชีวิตภายในของตัวเราเองว่าเราต้องการไปยังที่ใด ส่วนจะมีปัญหาอะไรเข้ามาขัดขวางหรือไม่นั้น เราสามารถบริหารมันได้ เหมือนกับเรือใบที่เปราะบางแต่สามารถนำพาผู้คนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้
สำหรับการพัฒนาตนเอง โดยการกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งนั้น ผมขอแนะนำขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้
1. สำรวจค้นหาจุดอ่อนและจุดเด่น
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองคือ การค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองมีจุดอ่อนและจุดเด่นตรงไหนบ้าง สำหรับวิธีการในการวิเคราะห์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ กับผู้อื่น เช่น การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการสื่อสาร ระบบการคิด การอ่าน การเขียน การนำเสนอ รวมถึงวินัยในตนเองในด้านต่าง ๆ
การใช้ผู้อื่นเป็นกระจกเงา หมายถึง การให้ผู้อื่นวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดเด่นของเราว่าเป็นอย่างไร โดยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่รอบตัวเราเป็นคนวิเคราะห์ เช่น พ่อแม่พี่น้อง สามีภรรยา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง เพราะจะทำให้เราสามารถมองเห็นตัวเองในทุกมิติ เพราะจุดอ่อนหรือจุดเด่นบางอย่างเราไม่ได้แสดงออกให้คนบางกลุ่มเห็น เช่น พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่าทักษะในการสื่อสารเราเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่จะทราบดีเกี่ยวกับนิสัยลึกๆ ของเราซึ่งเพื่อนร่วมงานอาจจะไม่ทราบ
การใช้แบบทดสอบ เราสามารถทดสอบจุดอ่อนและจุดเด่นของเราได้จากแบบทดสอบประเภทต่างๆ เช่น แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อดูลักษณะนิสัย แบบทดสอบทางภาษา แบบทดสอบการคำนวณ ฯลฯ
การนำเอาปัญหาและความสำเร็จในชีวิตมาทบทวนเพื่อหาจุดอ่อนและจุดเด่น เช่น ทบทวนดูว่าเรื่องอะไรที่เรารับไม่ได้ เรื่องอะไรที่เราไม่ชอบมากที่สุด เรื่องอะไรที่เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ในขณะเดียวกันก็ให้ทบทวนดูความสำเร็จที่เราได้รับเกิดจากอะไร เช่น การที่เรามีหน้าที่การงานที่สูงในปัจจุบันเพราะเราเรียนเก่ง หรือเพราะเราทำงานดี เพราะเราเข้ากับหัวหน้าได้ดี ฯลฯ
2. จัดลำดับความสำคัญ
เมื่อเราทราบจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองแล้ว ให้ลองนำมาจัดลำดับดูว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องกำจัดหรือพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ถ้าไม่กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดเด่นนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในชีวิตของเรามากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าเราไม่กำจัดจุดอ่อนเรื่องการควบคุมอารมณ์ เราคงไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นหัวหน้าได้ หรือ ถ้าเราไม่พัฒนาทักษะด้านภาษา เราคงไม่สามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติตามที่เราหวังไว้ได้
ความถี่ในการเกิดขึ้นของจุดอ่อนหรือจุดเด่น จุดอ่อนใดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ หรือไม่รู้ตัวให้กำจัดออกไปก่อน เช่น เรามักจะลืมตัวพูดอะไรออกไปโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังอยู่เสมอทั้งๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจ สำหรับจุดเด่นที่เรามีและต้องใช้งานบ่อยๆ ก็ควรจะพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆขึ้น
3. ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
สิ่งสำคัญที่สุดในการกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นคือ การลงมือปฏิบัติจริง ถ้ามีความยากลำบากในการแก้ไขและพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน ขอแนะนำให้ทำทีละอย่าง เช่น ช่วงแรกอาจจะพัฒนาในเรื่องทัศนคติก่อน เมื่อทำได้สำเร็จแล้ว ค่อยๆ พัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จุดหักเหที่สำคัญในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ที่ "อย่าล้มเลิกความตั้งใจ" คนบางคนท้อ คนบางคนขาดความอดทนอดกลั้น พ่ายแพ้ภัยตัวเอง แน่นอนว่าการทำอะไรก็ตามย่อมมีปัญหาอุปสรรค แต่ขอให้คิดเสียว่าปัญหาอุปสรรคนั้นคือความท้าทาย พยายามหาแรงจูงใจเข้ามาเสริมทัพอยู่ตลอดเวลา เช่น บางคนได้แรงใจจากลูก บางคนได้แรงใจจากเป้าหมายในชีวิต บางคนได้แรงใจจากเพื่อน
การกำจัดจุดอ่อนเปรียบเสมือนคนกำลังเลิกบุหรี่ อาจจะทรมานบ้าง หงุดหงิดบ้าง แต่ถ้าผ่านไปได้ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนนิสัย โอกาสที่มันจะกลับมางอกเงยในชีวิตของเราก็น้อยลง แต่ถ้าเราได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ โอกาสที่นิสัยที่ไม่ดีจะกลับมาเติบโตอีกก็มีมากขึ้น ฉะนั้นต้องกำจัดแบบถอนรากถอนโคน
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง
เมื่อเราได้กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอะไรให้กับชีวิตแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำคือการประเมินผลดูว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะอะไรก็ตามที่เราสามารถวัดได้ ประเมินผลได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ และการประเมินผลจะช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ขอให้คิดว่าการกำจัดจุดอ่อนและการพัฒนาจุดเด่นของเราเป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่เรากำลังเล่นอยู่กับตัวเอง จงสนุกและเพลิดเพลินกับมันมากกว่าที่เราคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ที่หน้าเบื่อ
จากเทคนิคดังกล่าวจะเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรามีจุดอ่อนหรือจุดเด่นอะไรหรือมีจำนวนมากน้อยเพียงใด แต่อยู่ที่เราหาจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองเจอหรือไม่ เรายอมรับมันหรือไม่ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นจุดอ่อน และเราได้ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นอย่างจริงจังหรือไม่
"ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นที่การชนะใจตนเอง"
สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครมีจุดอ่อนหรือจุดเด่นน้อยกว่าหรือมากกว่ากัน แต่อยู่ที่ใครสามารถค้นหา ยอมรับ และลงมือกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดเด่นของตนเองได้มากกว่า คนบางคนหาไม่เจอแม้กระทั่งจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเอง คนบางคนหาเจอแต่ไม่ยอมรับจุดอ่อน หรือบางคนยอมรับแต่บอกว่าแก้ไขยากหรือแก้ไขไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว
ชีวิตคนเราไม่แตกต่างอะไรไปจากเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรที่ต้องเจอทั้งคลื่นลมและมรสุมในรูปแบบต่างๆ ถ้าเรือของเรามีความแข็งแกร่งพอก็สามารถแล่นผ่านมรสุมไปได้ แต่ถ้าเรือของเราไม่แข็งแกร่งเพียงพออาจจะผ่านไปแบบสะบักสะบอมหรือไม่ก็อับปางลงไปก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางก็ได้ แต่เราจะเห็นว่าเรือบางประเภท เช่น เรือใบ เป็นเรือที่ไม่แข็งแรงเหมือนเรือยนต์ประเภทอื่น แต่ทำไมมันถึงแล่นผ่านมรสุมไปได้เหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้เรือลำนั้นจะบอบบาง แต่ถ้ามีเทคนิคและวิธีในการแล่นเรือที่ดีก็สามารถผ่านมรสุมไปได้เช่นกัน เราจะเห็นว่าเรือใบหรือแม้แต่กระดานโต้คลื่นอันเล็กๆ สามารถต่อสู้และเอาชนะความแรงของคลื่นได้อย่างน่าทึ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้รู้จักใช้จุดอ่อนและจุดแข็งให้เป็นประโยชน์ในการเดินทาง เราจะเห็นว่าแม้เวลาลมเปลี่ยนทิศเรือใบสามารถที่จะวิ่งทวนกระแสคลื่นได้ ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องยนต์ แต่เขาใช้เทคนิคการแล่นแบบสลับฟันปลา จึงทำให้เรือแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้เหมือนกัน
ถ้าใครเจอมรสุมชีวิตที่หนักๆ ขอให้นึกถึงเรือใบหรือกระดานโต้คลื่นไว้เป็นข้อคิด ขอให้คิดเสมอว่าใบเรือแห่งชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่มรสุมอะไรจะนำพาไปที่ใด แต่อยู่ที่ทิศทางและเป้าหมายชีวิตภายในของตัวเราเองว่าเราต้องการไปยังที่ใด ส่วนจะมีปัญหาอะไรเข้ามาขัดขวางหรือไม่นั้น เราสามารถบริหารมันได้ เหมือนกับเรือใบที่เปราะบางแต่สามารถนำพาผู้คนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้
สำหรับการพัฒนาตนเอง โดยการกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งนั้น ผมขอแนะนำขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้
1. สำรวจค้นหาจุดอ่อนและจุดเด่น
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองคือ การค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองมีจุดอ่อนและจุดเด่นตรงไหนบ้าง สำหรับวิธีการในการวิเคราะห์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ กับผู้อื่น เช่น การควบคุมอารมณ์ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการสื่อสาร ระบบการคิด การอ่าน การเขียน การนำเสนอ รวมถึงวินัยในตนเองในด้านต่าง ๆ
การใช้ผู้อื่นเป็นกระจกเงา หมายถึง การให้ผู้อื่นวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดเด่นของเราว่าเป็นอย่างไร โดยให้กลุ่มบุคคลที่อยู่รอบตัวเราเป็นคนวิเคราะห์ เช่น พ่อแม่พี่น้อง สามีภรรยา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง เพราะจะทำให้เราสามารถมองเห็นตัวเองในทุกมิติ เพราะจุดอ่อนหรือจุดเด่นบางอย่างเราไม่ได้แสดงออกให้คนบางกลุ่มเห็น เช่น พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่าทักษะในการสื่อสารเราเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่จะทราบดีเกี่ยวกับนิสัยลึกๆ ของเราซึ่งเพื่อนร่วมงานอาจจะไม่ทราบ
การใช้แบบทดสอบ เราสามารถทดสอบจุดอ่อนและจุดเด่นของเราได้จากแบบทดสอบประเภทต่างๆ เช่น แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อดูลักษณะนิสัย แบบทดสอบทางภาษา แบบทดสอบการคำนวณ ฯลฯ
การนำเอาปัญหาและความสำเร็จในชีวิตมาทบทวนเพื่อหาจุดอ่อนและจุดเด่น เช่น ทบทวนดูว่าเรื่องอะไรที่เรารับไม่ได้ เรื่องอะไรที่เราไม่ชอบมากที่สุด เรื่องอะไรที่เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ในขณะเดียวกันก็ให้ทบทวนดูความสำเร็จที่เราได้รับเกิดจากอะไร เช่น การที่เรามีหน้าที่การงานที่สูงในปัจจุบันเพราะเราเรียนเก่ง หรือเพราะเราทำงานดี เพราะเราเข้ากับหัวหน้าได้ดี ฯลฯ
2. จัดลำดับความสำคัญ
เมื่อเราทราบจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองแล้ว ให้ลองนำมาจัดลำดับดูว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องกำจัดหรือพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ถ้าไม่กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดเด่นนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในชีวิตของเรามากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าเราไม่กำจัดจุดอ่อนเรื่องการควบคุมอารมณ์ เราคงไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นหัวหน้าได้ หรือ ถ้าเราไม่พัฒนาทักษะด้านภาษา เราคงไม่สามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติตามที่เราหวังไว้ได้
ความถี่ในการเกิดขึ้นของจุดอ่อนหรือจุดเด่น จุดอ่อนใดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ หรือไม่รู้ตัวให้กำจัดออกไปก่อน เช่น เรามักจะลืมตัวพูดอะไรออกไปโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังอยู่เสมอทั้งๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจ สำหรับจุดเด่นที่เรามีและต้องใช้งานบ่อยๆ ก็ควรจะพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆขึ้น
3. ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
สิ่งสำคัญที่สุดในการกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นคือ การลงมือปฏิบัติจริง ถ้ามีความยากลำบากในการแก้ไขและพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน ขอแนะนำให้ทำทีละอย่าง เช่น ช่วงแรกอาจจะพัฒนาในเรื่องทัศนคติก่อน เมื่อทำได้สำเร็จแล้ว ค่อยๆ พัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จุดหักเหที่สำคัญในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ที่ "อย่าล้มเลิกความตั้งใจ" คนบางคนท้อ คนบางคนขาดความอดทนอดกลั้น พ่ายแพ้ภัยตัวเอง แน่นอนว่าการทำอะไรก็ตามย่อมมีปัญหาอุปสรรค แต่ขอให้คิดเสียว่าปัญหาอุปสรรคนั้นคือความท้าทาย พยายามหาแรงจูงใจเข้ามาเสริมทัพอยู่ตลอดเวลา เช่น บางคนได้แรงใจจากลูก บางคนได้แรงใจจากเป้าหมายในชีวิต บางคนได้แรงใจจากเพื่อน
การกำจัดจุดอ่อนเปรียบเสมือนคนกำลังเลิกบุหรี่ อาจจะทรมานบ้าง หงุดหงิดบ้าง แต่ถ้าผ่านไปได้ถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนนิสัย โอกาสที่มันจะกลับมางอกเงยในชีวิตของเราก็น้อยลง แต่ถ้าเราได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ โอกาสที่นิสัยที่ไม่ดีจะกลับมาเติบโตอีกก็มีมากขึ้น ฉะนั้นต้องกำจัดแบบถอนรากถอนโคน
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง
เมื่อเราได้กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอะไรให้กับชีวิตแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำคือการประเมินผลดูว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะอะไรก็ตามที่เราสามารถวัดได้ ประเมินผลได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ และการประเมินผลจะช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ขอให้คิดว่าการกำจัดจุดอ่อนและการพัฒนาจุดเด่นของเราเป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่เรากำลังเล่นอยู่กับตัวเอง จงสนุกและเพลิดเพลินกับมันมากกว่าที่เราคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ที่หน้าเบื่อ
จากเทคนิคดังกล่าวจะเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรามีจุดอ่อนหรือจุดเด่นอะไรหรือมีจำนวนมากน้อยเพียงใด แต่อยู่ที่เราหาจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองเจอหรือไม่ เรายอมรับมันหรือไม่ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นจุดอ่อน และเราได้ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่นอย่างจริงจังหรือไม่
"ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นที่การชนะใจตนเอง"
Subscribe to:
Posts (Atom)