The rise in popularity of the soon-to-be number 1 social network site Facebook is due to a combination of two things.
1. Formerly a hangout only for high school and college students, Facebook allowed anyone to join in September, 2006.
2. In May, 2007 Facebook opened up it’s network to developers.
By opening up it’s network to developers Facebook has provided a way to make money right on the Facebook web site. Something you can’t do on MySpace. The only way to make money off of MySpace is by attracting users to another web site outside the MySpace community and making money on that site.
Below is an Alexa traffic comparison of the top two social network sites. Bold prediction: It won’t be long before Facebook becomes more popular than MySpace.
Facebook: a developer magnet
Since opening up it’s network to developers Facebook has seen a flood of new applications created. In fact, over 1000 developers are signing up every day.
Addonomics, an open analytics platform that tracks Facebook application growth and provides stock-market-style analysis of Facebook features says that as of today…
There are 342,015,965 installs across 5,118 apps on Facebook.
These applications were used 23,360,190 times in the last 24 hours and have a combined valuation of $249,800,000.
Facebook has approximately 40 million Unique Active Users in the past 30 days and a valuation between $10Bn and $15Bn.
This translates to between $250 and $375 per active user.
7 ways to make money with Facebook
In The Facebook Economy Business 2.0 outlined a few ways application developers are making money off of Facebook.
1. Selling advertising space
Facebook apps with large audiences can make a lot of money selling ad space on their page through ad networks like Lookery, Userplane and Google Adsense.
2. Sponsorship
Advertisers are lining up to sponsor popular Facebook applications. The Food Fight! application which lets you throw virtual food at your friends is soon to be serving up virtual chicken wings from a major food chain. Tyson???
3. Sell goods and services
The future of Facebook applications is utility, not fun. Facebook application Band Tracker searches upcoming concerts and links to ticket vendor web sites. Soon, it will be common for people to make purchases from their own Facebook pages.
Lee Lorenzen, CEO of Altura Ventures provided us with the following four ways to make money with Facebook.
4. Write a Facebook book
I’ve heard about a number in the works and that means advances/royalties for authors.
5. Write a Facebook blog
There are already a number of good ones beginning to cover the Facebook eco-system but there is room for more. Once you have an audience for your blog you can start selling ads and sponsorships.
6. Develop Facebook apps as a consultant
Good / great Facebook developers are in very limited supply and so the demand is high. I’ve heard of hourly rates in the $200 per hour range for folks who can architect, write and deploy viral Facebook apps.
7. Sell your Facebook app
If you can create an app on Facebook, get it to 10K to 100K users, harvest some ad revenue from it by partnering with AdBrite for CPM/CPC ads, offer Cost Per Install ads via Adonomics and you provide data to get an Adonomics certified valuation, then you will be in a position to get top dollar for your application should you decide to sell it.
At the moment, the big winners of the Facebook jackpot are application developers. The big losers might be other social networks like MySpace, if they fail to open up their networks.
ที่มา : http://www.virtualmarketingblog.com/make-money-with-facebook/
12/22/09
12/14/09
7/11/09
เที่ยว Hong Kong


ช่วงวันหยุดติดต่อกัน 3 วัน ระหว่างวันที่ 6-8 ก.ค.’52 ที่ผ่านมา ได้ไปเที่ยว Hong Kong กับครอบครัว ได้ออกเดินทางจากหาดใหญ่วันที่ 5 ก.ค. 52 เวลา สี่ทุ่มกว่า ๆ ถึงไปกรุงเทพฯ และได้พักโรงแรมทองทารีสอร์ทแอนด์สปา ซึ่งอยู่ไกล้สนามบิน ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 10 นาที ............วันต่อมาออกเดินทางจาก BKK ไปยัง Hong Kong โดยสารการบิน China Airline เวลาแปดโมงเช้า และถึงไป Hong Kong ประมาณเที่ยง จากนั้นก็นั่งรถเข้าเมือง ไปพักที่โรงแรมย่าน Yua Ma Tei และ Mong Kok ช่วงบ่ายก็ไปช้อปปิ้งและหาอาหาร (มุสลิม) ย่าน จิมซาจุ่ย ซึ่งมีมัสยิดหลังใหญ่อยู่ เราก็นั่ง Taxi ไปลงแถวมัสยิดย่านจิมซาจุ่ย ซึ่งราคา Taxi ที่นี่เริ่มที่ 18 เหรียญฮ่องกง ถึง จิมซาจุ่ย พวกเราก็หาอาหารทานบริเวณดังกล่าว จนแล้วจนรอดอาหารมุสลิมส่วนใหญ่เป็นอาหารอินเดียซะมากกว่า เพราะย่านดังกล่าวมีพวกแขกอินเดีย กับพวกอาหรับค่อนข้างเยอะ............เราอยากทานอาหารจีนมุสลิมหรือแบบไทย ๆ แต่ก็หาไม่เจอ เข้าห้างโน่นออกห้างนี่ก็ยังไม่เจอ สุดท้ายก็กินอาหารอาหรับผสมอินเดีย (ข้าวหมกกะบับแพะ) รสชาติอาหารก็ OK! แต่ราคาก็คิดแบบฮ่องกง ซึ่งถ้าเทียบกับอาหารไทยก็แพงเอาการอยู่กับอาหารจานเล็กราคาจานละประมาณ 300 บาท กว่า ๆ และน้ำดื่มขวดละ 10 เหรียญหรือตกประมาณ 45 บาท...........ทานอาหารเสร็จพอมีแรงก็เดินช้อปปิ้งและเที่ยว บริเวณอ่าว Victoria จนถึงช่วงเย็นก็ไปดูการแสดงแสง สี เสียงของอาคารฝั่ง Hong Kong จากนั้นรอบดึกก็ไปเดินเที่ยวย่าน Temple Market ………….วันต่อมา เข้าโปรแกรมทัวร์ตอนเช้ามีรถมารับไปเที่ยวย่านอ่าววิคทอเรีย และถ่ายภาพบริเวณทอปฮิตของฮ่องกงจากฝั่งเกาลูน จากนั้นนั่งรถลอดอุโมงค์ไปยังฝั่งฮ่องกง ไปนั่งเรือชมหมู่บ้านชาวประมงของฮ่องกง ซึ่งดูยังไงก็ไม่เห็นเป็นหมู่บ้าน มีแต่เรือหาปลาจอดอยู่มากกว่า เรือพาเราล่องไปเรื่อย ๆ เราก็คอยลุ้น ว่าเมื่อไหร่จะถึงหมู่บ้าน จนแล้วจนรอดก็พาเรานั่งเรือไปชมเรือประมงที่จอดอยู่มากมายหลายลำ พอเราจะลงเรือมิวายต้องจ่ายตังค์เพิ่มให้คนขับเรืออีกคนละ 50 เหรียญฮ่องกง......เซ็งจังเลย ไม่ประทับใจแล้วต้องจ่ายตังค์อีก คนอื่น ๆ ก็บ่นกันเป็นแถว นึกว่าโปรแกรมดังกล่าวรวมอยู่ในทัวร์ซะอีก..........จากนั้นก็ไปเที่ยวบริเวณเจ้าแม่กวนอิมเพราะคนที่มาส่วนใหญ่เป็นคนไทย เราก็ไปถ่ายรูป จากนั้นก็ไปชมโรงงานผลิตเครื่องประดับ จำหน่ายเครื่องประดับพวกเพชร ทอง ซึ่งเป็นสินค้ายอดนิยมของฮ่องกงเหมือนกันนอกจากเสื้อผ้าแฟชั่นแล้วก็เห็นร้านทอง ร้านเพชรนี่แหละมีมากมาย จากการสำรวจราคาแล้วค่อนข้างสูงอยู่ และดูเหมือนว่าของบ้านเราดีไซน์สวยกว่าและราคาต่ำกว่าด้วย..............จากนั้นไปเที่ยวช้อปปิ้งย่าน จิมซาจุ่ยอีกครั้งนึง วันนี้เราไปทานเที่ยงที่ร้าน KFC สั่งเมนูไก่ทอด (เนย) กับข้าวซุปเห็ด และข้าวโพดย่าง และเป็นที่น่าดีใจว่าราคา KFC ที่นี่ราคาโดยเฉลี่ยก็เหมือนกับบ้านเราหรืออาจจะถูกว่าบ้านเราด้วยซ้ำไป.....เราก็ฟาดซะอิ่มแปล้าแบบไม่เสียดายตังค์เลย..........ทานเสร็จก็ช้อปกันต่อย่านจิมซาจุ่ย โดยเฉพาะร้าน G2000 ช้อปไปหลาย เนื่องจากสินค้าในร้านนี้โดยเฉลี่ยต่ำกว่า ร้าน G2000 บ้านเรามาก.........จากนั้นก็เดินช้อปต่อย่าน Parklane พลาซ่า และเดินไปเรื่อย ๆ บริเวณถนน Nathan จนค่ำมืด.............จากนั้นก็ไปเที่ยวย่าน Ladies Market ซึ่งที่นี่ก็เป็นย่านที่ Recommended ของการท่องเที่ยว Hong Kong เหมือนกัน เราก็เดินดูของย่านนี้อยู่นานเหมือนกัน โดยสินค้าที่นี่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่พบเห็นได้ตามย่านไชน่าทาวน์ทั่วไป เหมือนที่ KL หรือ สิงคโปร์ หรือย่านจำหน่ายของก้อบซะมากว่า มีสินค้าหลากหลาย มีนักท่องเที่ยว (น่าจะต่างชาติ) เยอะอยู่เหมือนกัน และสินค้าส่วนใหญ่แล้วก็เหมือน ๆ กัน ไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ สู้จตุจักรบ้านเราไม่ได้.................เดินจนเหนื่อยก็นั่ง Taxi กลับโรงแรม

ที่พัก..............................วันรุ่งขึ้นก็ไปช้อปต่อย่าน จิมซาจุ่ย จากนั้นก็นั่งรถไฟใต้ดิน (ลอดใต้น้ำ)ไปฝั่งฮ่องกง และไปถ่ายรูปกับอาคารต่าง ๆ ที่เป็นพระเอกแสดงแสงสีเสียงยามค่ำคืน เช่น ตึก HSBC, ไชน่าแบงค์ และตึกที่สูงที่สุดใน Hongkong (จำชื่อไม่ได้) จากนั้นก็นั่งรถไฟกลับโรงแรมที่พัก.............ช่วงเย็นก็ไปสนามบิน .....ช้อปที่สนามบินได้ซักพักก็ขึ้นเครื่องกลับ เวลาประมาณ 3 ทุ่ม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงถึงกรุงเทพประมาณเกือบเที่ยงคืน และไปพักที่โรงแรม รทองทา รีสอร์ทแอนด์ สปา จากนั้นก็เข้านอน ...........เช้ามืดเวลาตี 5 ก็ไปสนามบิน นั่งเครื่อง TG กลับถึงหาดใหญ่ประมาณ 7.30 จากนั้นก็เข้าทำงานต่อไป
7/10/09
อบรมการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม
ระหว่างวันที่ 9 -10 ก.ค. 52 ได้เข้าร่วมอบรม หัวข้อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม
ในการอบรมครั้งนี้อาจารย์ได้ให้แนวคิดของประโยชน์ของเทคโนโลยี Web ยุค 2.0 เริ่มด้วย อาจารย์แนะนำให้ทุกคนรู้จัก Web Ning และได้สมัครเว็บการเรียนรู้นี้ http://skru20.ning.com และได้ให้ทุกคนเป็นสมาชิกของ Web Ning ซึ่งผมเองก็บได้สมาชิกคือ http://thanapat.ning.com จากนั้นก็ได้แนะนำ twitter ซึ่งของผมก็คือ http://twitter.com/tnanapat และอาจารย์ก็แนะนำ web Delicious ซึ่งเป็นเสมือน Bookmark ของ Web จากนั้นก็แนะนำ Application ของ iGoogle และ อื่น ๆของ Google เช่น docs.google.com, การ share documents, picasa, การทำ site โดย Google และการสร้าง Blog โดย google ซึ่งเราก็พอมีพื้นฐานอยู่บ้างก็เลยไปเร็วหน่อย และได้มีการเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย
ซึ่งในการอบรมครั้งนี้มีประโยชน์มากในการนำเอาความรู้ Concept และเทคโนโลยี Web มาจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แบบเดิม ๆ ที่อาจารย์พูดฝ่ายเดียว ซึ่ง concept ของรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่นี้สามารถ ชมจาก วิดีโอข้างล่างครับ
ในการอบรมครั้งนี้อาจารย์ได้ให้แนวคิดของประโยชน์ของเทคโนโลยี Web ยุค 2.0 เริ่มด้วย อาจารย์แนะนำให้ทุกคนรู้จัก Web Ning และได้สมัครเว็บการเรียนรู้นี้ http://skru20.ning.com และได้ให้ทุกคนเป็นสมาชิกของ Web Ning ซึ่งผมเองก็บได้สมาชิกคือ http://thanapat.ning.com จากนั้นก็ได้แนะนำ twitter ซึ่งของผมก็คือ http://twitter.com/tnanapat และอาจารย์ก็แนะนำ web Delicious ซึ่งเป็นเสมือน Bookmark ของ Web จากนั้นก็แนะนำ Application ของ iGoogle และ อื่น ๆของ Google เช่น docs.google.com, การ share documents, picasa, การทำ site โดย Google และการสร้าง Blog โดย google ซึ่งเราก็พอมีพื้นฐานอยู่บ้างก็เลยไปเร็วหน่อย และได้มีการเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย
ซึ่งในการอบรมครั้งนี้มีประโยชน์มากในการนำเอาความรู้ Concept และเทคโนโลยี Web มาจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แบบเดิม ๆ ที่อาจารย์พูดฝ่ายเดียว ซึ่ง concept ของรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่นี้สามารถ ชมจาก วิดีโอข้างล่างครับ
7/9/09
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) กับการใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
(บทความลงเอกสาร MGT NEWs, วจก. SKRU by thanapat)
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมและได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งจาก การพัฒนาของโลก เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) จากยุคแรกหรือเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนำเสนอข้อมูลทางเดียว ต่อมาเข้าสู่เว็บ ยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 เป็นยุคที่เน้นให้อินเตอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลกันได้ทั้งในระดับบุคคล หรือกลุ่ม จนกลายเป็นสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต หรือเรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Network) นั่นเอง
สังคมออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่สนใจ และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่า “บริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)” โดยเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจกรรมที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
ปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการสังคมออนไลน์ มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในอินเตอร์เน็ต และมีอัตราการเข้าใช้งานและสมัครสมาชิกสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ Myspace และ Facebook นอกจากนี้เว็บไซต์ที่ให้บริการ สังคมออนไลน์มีหลากหลายเว็บไซต์เช่น digg, Youtube, Multiply, linkedin และเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในสังคมวัยรุ่นบ้านเราคือ Hi5 นั่นเอง
หลาย ๆ คน คงมี Web Social Network เป็นของตัวเอง บางคนมีหลาย ๆ เว็บด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถประยุกต์ใช้สังคมออนไลน์ กับงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หรือการเรียนการสอนในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ร่วมกัน การนำเสนอผลงาน การติวหนังสือด้วยกัน หรือแม้แต่กระทั่งการทำงานกลุ่มร่วมกัน
ปัจจุบันมี เว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network Service (SNS) มากมาย และแต่ละเว็บก็ต่างคิดค้นพัฒนาเพื่อเอาใจผู้ใช้กันอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งและยังมีฟังก์ชั่นมากมายแต่อาจมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปเพื่อเป็นจุดขายให้กับเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้เว็บ SNS เพื่อเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และทำงานร่วมกันได้ โดยกลุ่มหลัก ๆ ของ SNS เพื่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แบ่งออกได้ดังนี้
1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน”เว็บไซต์เหล่านี้ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น
2. กลุ่มเวปไซต์เผยแพร่ “ผลงาน”เราสามารถใช้เว็บไซต์เหล่านี้ในการนำเสนอผลงานของตัวเอง ผลงานของกลุ่ม ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียนเป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น
3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจตรงกัน
มีลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่เราจะทำ Bookmark (เหมือนกับเราคั่นหนังสือ) เว็บที่เราชอบ หรือบทความรายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเราคนเดียว สู้เรา Bookmark เก็บไว้บนเว็บจะดีกว่า เพื่อจะได้แบ่งให้เพื่อน ๆ คนอื่นดูได้ด้วย และเราก็จะได้รู้ด้วยว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นที่น่าสนใจ โดยดูได้จากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ ได้แก่ del.icio.us, Digg, Zickr, duocore.tv เป็นต้น
4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้ทำงานร่วมกัน
เป็นกลุ่ม SNS ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานำเสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้แก่
WikiPedia เป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไขบทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย
ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือแชร์แผนที่ให้คนอื่นได้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหาได้อีกด้วย
และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งสำหรับ Social Network นั้นก็คือ เราสามารถพูดคุย นำเสนอ บอกเล่าเรื่องส่วนตัว และเรื่องราวการเรียน เรื่องราวที่เราสนใจ หรือแม้แต่การทำรายงานของเราและของกลุ่มเราได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตและเว็บสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ แทนที่จะนำเสนอรูปภาพส่วนตัวหรือเรื่องราวที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หันมารวมกลุ่มกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีให้บริการฟรีอยู่มากมายหลากหลายในอินเตอร์เน็ต
ลองชมวิดีโอจาก ต่อไปนี้เกี่ยวกับ Social Network
ชม Concept ของ Web 1.0 2.0 และ 3.0
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมและได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งจาก การพัฒนาของโลก เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) จากยุคแรกหรือเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนำเสนอข้อมูลทางเดียว ต่อมาเข้าสู่เว็บ ยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 เป็นยุคที่เน้นให้อินเตอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลกันได้ทั้งในระดับบุคคล หรือกลุ่ม จนกลายเป็นสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต หรือเรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Network) นั่นเอง
สังคมออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่สนใจ และสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่า “บริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)” โดยเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจกรรมที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
ปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการสังคมออนไลน์ มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในอินเตอร์เน็ต และมีอัตราการเข้าใช้งานและสมัครสมาชิกสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ Myspace และ Facebook นอกจากนี้เว็บไซต์ที่ให้บริการ สังคมออนไลน์มีหลากหลายเว็บไซต์เช่น digg, Youtube, Multiply, linkedin และเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในสังคมวัยรุ่นบ้านเราคือ Hi5 นั่นเอง
หลาย ๆ คน คงมี Web Social Network เป็นของตัวเอง บางคนมีหลาย ๆ เว็บด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถประยุกต์ใช้สังคมออนไลน์ กับงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หรือการเรียนการสอนในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ร่วมกัน การนำเสนอผลงาน การติวหนังสือด้วยกัน หรือแม้แต่กระทั่งการทำงานกลุ่มร่วมกัน
ปัจจุบันมี เว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network Service (SNS) มากมาย และแต่ละเว็บก็ต่างคิดค้นพัฒนาเพื่อเอาใจผู้ใช้กันอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งและยังมีฟังก์ชั่นมากมายแต่อาจมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปเพื่อเป็นจุดขายให้กับเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้เว็บ SNS เพื่อเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และทำงานร่วมกันได้ โดยกลุ่มหลัก ๆ ของ SNS เพื่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แบ่งออกได้ดังนี้
1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน”เว็บไซต์เหล่านี้ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น
2. กลุ่มเวปไซต์เผยแพร่ “ผลงาน”เราสามารถใช้เว็บไซต์เหล่านี้ในการนำเสนอผลงานของตัวเอง ผลงานของกลุ่ม ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียนเป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น
3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจตรงกัน
มีลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่เราจะทำ Bookmark (เหมือนกับเราคั่นหนังสือ) เว็บที่เราชอบ หรือบทความรายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเราคนเดียว สู้เรา Bookmark เก็บไว้บนเว็บจะดีกว่า เพื่อจะได้แบ่งให้เพื่อน ๆ คนอื่นดูได้ด้วย และเราก็จะได้รู้ด้วยว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นที่น่าสนใจ โดยดูได้จากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ ได้แก่ del.icio.us, Digg, Zickr, duocore.tv เป็นต้น
4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้ทำงานร่วมกัน
เป็นกลุ่ม SNS ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานำเสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้แก่
WikiPedia เป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไขบทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย
ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือแชร์แผนที่ให้คนอื่นได้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหาได้อีกด้วย
และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งสำหรับ Social Network นั้นก็คือ เราสามารถพูดคุย นำเสนอ บอกเล่าเรื่องส่วนตัว และเรื่องราวการเรียน เรื่องราวที่เราสนใจ หรือแม้แต่การทำรายงานของเราและของกลุ่มเราได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตและเว็บสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ แทนที่จะนำเสนอรูปภาพส่วนตัวหรือเรื่องราวที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หันมารวมกลุ่มกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีให้บริการฟรีอยู่มากมายหลากหลายในอินเตอร์เน็ต
ลองชมวิดีโอจาก ต่อไปนี้เกี่ยวกับ Social Network
ชม Concept ของ Web 1.0 2.0 และ 3.0
5/20/09
ตลาดน้ำคลองแห วัดคูเต่า

ภาพที่ตั้งตลาดน้ำคลองแห จาก maps.google

ช่วงระหว่างวันที่ 19 - 21 ได้มีการอบรมวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับศักยภาพของตลาดน้ำคลองแหต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว (บังเอิญไปตรงกับช่วงวิกฤติการเมือง ที่นายกเทศมนตรีคลองแห โดนลอบสังหาร)
แ ต่เ นื่องจากได้มีการวางแผนการอบรม และทำวิจัยเอาไว้ล่วงหน้า ก็เลยต้องเดินหน้าต่อไป แต่
อาจจะเบี่ยงประเด็นเรื่่องที่ค่อนข้าง sentitive เกี่ยวกับเรื่องการเมือง มาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปอื่น ๆ ซึ่งในวันที่ลงฟิลด์เก็บข้อมูลก็ได้ไปศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์ทางสายน้ำ คลองอู่ตะเภา และเส้นทางเดินเรือสมัยโบราณ เส้นทางคลองแห คูเต่า นอกจากนี้ยังได้ไปเยี่ยมชมกลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชมการทำกรงนกของชาวบานหนองทราย
ผลิตภัณฑ์กรงนกกลุ่มบ้านหนองทราย คลองแห

วัดคู่เต่า


5/13/09
เที่ยวสมุย
3/6/09
พยากรณ์ไอที 2009
สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้พยากรณ์แนวโน้มของธุรกิจไอซีทีในภาพรวมประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิกโดยไม่รวม ประเทศญี่ปุ่น แต่รวมถึงประเทศไทยด้วย
ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่า แม้ว่าภาพรวมทั้งหมดของการใช้จ่ายด้านไอซีทีจะถูกชะลอลงบ้าง เพราะผลกระทบจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีการมุ่งเน้นไปสู่การตลาดและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะภาคธุรกิจจะต้องตัดค่าใช้จ่ายลงแต่จะต้องปรับปรุงระบบธุรกิจให้ดีขึ้น เพื่อจะได้หาลูกค้าใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่จึงเป็นโอกาสของบริษัททางไอทีที่จะช่วยสร้างระบบธุรกิจและเสริม ประสิทธิภาพให้กับบริษัท ต่าง ๆ สามารถทำตลาดใหม่ ๆ หาลูกค้าใหม่ได้ด้วยระบบไอทีไอดีซีได้พยากรณ์อุตสาหกรรมของประเทศในเอเซีย แปซิฟิกในปี 2009 ไว้ 10 ข้อด้วยกัน ซึ่งผมจะแบ่งบทความเป็น 3 ตอนต่อเนื่องกันไป เพราะเท่าที่อ่านการพยากรณ์จากหลายสำนักเปรียบเทียบกันสำนักไอดีซีจะครอบ คลุม และน่าเชื่อถือมากที่สุด จะได้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับธุรกิจไอซีทีไทยได้
ข้อแรก การ ใช้จ่ายทางด้านไอซีทีของกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิกจะลดลงแต่ไม่ถึงกับต่ำมาก ในปี 2009 สำนักวิจัยไอดีซีพยากรณ์ว่า ก่อนที่จะเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกานั้น ได้พยากรณ์ว่าธุรกิจไอซีทีจะเติบโตอยู่ที่ 9.5% แต่หลังจากเกิดเหตุวิกฤตแล้วตัวเลขจะอยู่ที่ 5.8%ส่วนที่ลดลงไปมากที่สุดน่าจะเป็นตลาดประเภทพีซีและอุปกรณ์พ่วงเพราะบริษัท ต่าง ๆ จะต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและยืดอายุการใช้งานของพีซี เช่น เดิมเคยใช้งานอยู่ที่ 2 หรือ 3 ปีแล้วเปลี่ยนใหม่ ปัจจุบันจะยืดอายุการใช้งานต่อไปโดยชะลอการซื้อของใหม่ไปอีกสักปีหรือสองปีแต่ในส่วนของภาครัฐจะต้องมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีมากขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเพื่อปรับปรุงระบบการบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ดีขึ้น รวมทั้งด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารโดยไอดีซีบอกว่า ที่อื่น ๆ ในโลกจะแย่หมด แต่ที่กลุ่มเอเซียเปซิฟิกน่าจะดีที่สุด
ข้อสอง รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายด้านไอทีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการบริการประชาชนและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีเพื่อเพิ่มบริการให้ประชาชนมากขึ้นและทั่ว ถึงโดยทั่วไปรัฐบาลของประเทศในกลุ่มเอเซียแปซิฟิกจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านไอ ทีให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและช่วยกระตุ้นให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะมีโครงการใหม่ ๆ ในหลายรูปแบบซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจซึ่งจะต้องใช้ระบบ ไอทีเข้าช่วย การสร้างโครงการใหม่ด้วยระบบไอซีทีในหลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกการ บริการต่อสาธารณชนและเพื่อสร้างงานใหม่ซึ่งภาคเอกชนตั้งความหวังไว้กับภาค รัฐเพราะสามารถนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเพื่อสร้างงานและการบริการให้กับประชาชน หลายเรื่อง เช่น สาธารณสุข การศึกษา อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าส่งออก การท่องเที่ยวและอื่นๆ อีก
ข้อสาม บริการไอทีประเภทบริการร่วมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า คลาวด์ หรือ Cloud Based Service จะมีมากขึ้น ตัวอย่างบริการคลาวด์ที่เราเห็นได้ชัด ๆ เช่น บริการจ่ายเงินของ Amazon หรือ PayPal บริการแผนที่ของ Google Maps ประเภทเล็ก ๆ ที่เขาทำกันเช่น บริการร่วมทางการศึกษาอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ด้วยระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า แอลเอ็มเอส หรือ Learning Management System ซึ่งก็จะเห็นในประเทศไทยโดยใช้ มูเดิ้ล (Moodle) รวมกันหลายมหาวิทยาลัย ประเภทจะสร้างระบบเองเพื่อใช้เองจะต้องลงทุนมากไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงนี้
ข้อสี่ เศรษฐกิจยามนี้ทำให้บริษัทต่าง ๆ จะต้องรักษาและดูแลลูกค้าให้กระชับขึ้น เลยทำให้บริการของเว้ปซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้หมายถึง Web 2.0 ซึ่งจะได้ทั้งเครือข่ายสมาชิกและสามารถเข้าร่วมปฏิสัมพันธ์ได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับหาลูกค้ามาก บริการประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น บริการของเครือข่ายสังคม ไฮไฟว์ มายสเปส ยูทูป และบริการร่วมกันทำของ วิกิพีเดีย ในประเทศไทย บริการประเภท Dekdern.com ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อบริการให้นักเรียนสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อรู้จักพี่ ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นลักษณะบริการนี้ไอดีซีประมาณการไว้ว่ารายได้จากศูนย์บริการประเภทนี้ในกลุ่มประเทศเอเซีย แปซิฟิก จะเพิ่มจากปี 2008 ซึ่งมี 278 ล้านดอลลาร์ เป็น 518 ล้านดอลลาร์ในปี 2012 ซึ่งจะเติบโตในระดับ 17% ต่อปีติดต่อกันเลยทีเดียว
ข้อห้า บริการ เจาะหาตลาดทางอินเตอร์เน็ตหรือบริการที่เรียกว่า อีเอสเอ็ม หรือ Enterprise Search Market จะเติบโตเร็ว บริการหาตลาดประเภทนี้ ก็นับเป็นการต่อยอดจากเครื่องจักรค้นหาข้อมูลของกูเกิ้ลและยาฮู ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้สามารถคำนวณได้ว่าค่าผลตอบแทนต่อการลงทุนหรือ อาร์โอไอ Return on Investment มีเท่าไร คุ้มหรือไม่ ซึ่งการรวมตัวของบริษัท ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟต์ ออราเคิล และเอสเอพี เพื่อร่วมกันทำบริการประเภทนี้ และบริการประเภทอีเอสเอ็มจะเติบโตในกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิก
ข้อหก จะมีการใช้ไอทีสีเขียวมากขึ้นโดยเฉพาะการสร้างโลกเสมือนเพื่อทดแทนของจริง แทนที่จะสร้างตึก สร้างป่าไม้ สร้างอาณาจักรของจริงบนโลกก็ทำในโลกเสมือนเสียเลย จะให้สวยเท่าไรก็ได้ ทำไปในโลกเสมือนเพราะไม่มีค่าวัสดุก่อสร้าง ไม่มีการตัดป่า ตัดไม้ ประเภทการเรียนการสอนผ่านมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ก็ถือว่าไอทีสีเขียวเหมือนกัน เพราะไม่เสียค่าเดินทาง ไม่ต้องสร้างตึกสร้างห้องเรียนติดแอร์ อยู่ที่ไหนก็เรียนที่นั่นในมหาวิทยาลัยเสมือน
ข้อเจ็ด สภาวะการตลาดซบเซา จะส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม ได้พิจารณาถึงยุทธศาสตร์ใหม่ ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่าผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมที่ยังมีผลประกอบการดีอยู่ ก็คงจะลงทุนในเรื่องการขยายระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ส่วนผู้ประกอบการในระดับรองลงมาเช่น กลุ่มไอเอสพี หรือ เอเอสพี ก็คงจะเร่งขยายในส่วนการคืนทุนเร็ว โดยเฉพาะเรื่องตลาดบรอดแบนด์ของประเทศกลุ่มเอเซียแปซิฟิกก็กำลังเติบโตอย่าง รวดเร็วส่วนเทคโนโลยีใหม่ ๆ คงจะถูกชะลอลง เช่น 3 จีในอินเดีย จีน และเวียตนาม ไวเมกซ์ ไอพีทีวี บริการสื่อผสม เครือข่ายวิทยุเคลื่อนที่หรือ Mobile Radio Access Network หรือ RAN
ข้อแปด บริษัท ต่าง ๆ จะนิยมใช้บริการทางด้านศูนย์การจัดการบริการข้อมูลมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Managed Datacenter เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งศูนย์การจัดการบริการข้อมูลก็จะต้องให้ลูกค้าเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่หลาย ประเภทเช่น การแบ่งการใช้งานคำนวณประเภท Cloud Computering ที่ผมเขียนไว้ในข้อ 3 การกู้อุบัติภัยทางข้อมูล หรือ Diaster Recovery และการทำเซอร์ฟเวอร์แบบเสมือน หรือ Server virtualization
ข้อเก้า การบริการร่วมสำหรับลูกค้าจอแบนหรือ Thin Clients ก็จะเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเพราะสมัยนี้ จอแบนซึ่งไม่ต้องใช้ซีพียูขนาดใหญ่เหมือนเซอร์ฟเวอร์เพื่อใช้กับงานบริการ ทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีการคำนวณขั้นสูงมาก ๆ แต่จะใช้ร่วมกับศูนย์บริการข้อมูลใหญ่หรือเซอร์ฟเวอร์ใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบ รวมและจัดการข้อมูล ไอดีซีคาดว่าตลาด Thin Clients จะเติบโตกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 12.-15% หรือประมาณ 765,000 เครื่องในแถบเอเซียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ข้อ 10 โน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่มีขนาดกำลังประมวลผลและความจุจำกัดแต่ราคาถูกจะเริ่ม เข้ามาแทรกตลาดโน้ตบุ๊คมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าตลาดของโน้ตบุ๊คขนาดเล็กจะโต ขึ้นประมาณ 10% ในปี2009 เนื่องจากขนาดกำลังการคำนวณและความจุไม่มากนัก จึงทำให้ต้องพึ่งระบบอินเตอร์เน็ตและร่วมกันใช้ข้อมูลสำหรับการประมวลผลใน ลักษณะเดียวกัน Cloud Service นั่นเองเมื่อพินิจพิเคราะห์ดูทั้ง 10 ข้อ ที่ผมได้นำเสนอ บทความ 3 ตอนนั้น คิดว่าสำหรับตลาดธุรกิจไอทีประเทศไทยก็คงจะมีแนวโน้มมาทางนี้ ในปี 2009 คิดว่าข้อมูลที่นำเสนอนี้ คงจะให้ประโยชน์กับผู้อ่านใช้เป็นแนวทางในปีหน้าตลอดทั้งปีได้
ที่มา : ดร. บุญมาก http://www.rsu-cyberu.com/
ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่า แม้ว่าภาพรวมทั้งหมดของการใช้จ่ายด้านไอซีทีจะถูกชะลอลงบ้าง เพราะผลกระทบจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีการมุ่งเน้นไปสู่การตลาดและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะภาคธุรกิจจะต้องตัดค่าใช้จ่ายลงแต่จะต้องปรับปรุงระบบธุรกิจให้ดีขึ้น เพื่อจะได้หาลูกค้าใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่จึงเป็นโอกาสของบริษัททางไอทีที่จะช่วยสร้างระบบธุรกิจและเสริม ประสิทธิภาพให้กับบริษัท ต่าง ๆ สามารถทำตลาดใหม่ ๆ หาลูกค้าใหม่ได้ด้วยระบบไอทีไอดีซีได้พยากรณ์อุตสาหกรรมของประเทศในเอเซีย แปซิฟิกในปี 2009 ไว้ 10 ข้อด้วยกัน ซึ่งผมจะแบ่งบทความเป็น 3 ตอนต่อเนื่องกันไป เพราะเท่าที่อ่านการพยากรณ์จากหลายสำนักเปรียบเทียบกันสำนักไอดีซีจะครอบ คลุม และน่าเชื่อถือมากที่สุด จะได้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับธุรกิจไอซีทีไทยได้
ข้อแรก การ ใช้จ่ายทางด้านไอซีทีของกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิกจะลดลงแต่ไม่ถึงกับต่ำมาก ในปี 2009 สำนักวิจัยไอดีซีพยากรณ์ว่า ก่อนที่จะเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกานั้น ได้พยากรณ์ว่าธุรกิจไอซีทีจะเติบโตอยู่ที่ 9.5% แต่หลังจากเกิดเหตุวิกฤตแล้วตัวเลขจะอยู่ที่ 5.8%ส่วนที่ลดลงไปมากที่สุดน่าจะเป็นตลาดประเภทพีซีและอุปกรณ์พ่วงเพราะบริษัท ต่าง ๆ จะต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและยืดอายุการใช้งานของพีซี เช่น เดิมเคยใช้งานอยู่ที่ 2 หรือ 3 ปีแล้วเปลี่ยนใหม่ ปัจจุบันจะยืดอายุการใช้งานต่อไปโดยชะลอการซื้อของใหม่ไปอีกสักปีหรือสองปีแต่ในส่วนของภาครัฐจะต้องมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีมากขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเพื่อปรับปรุงระบบการบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ดีขึ้น รวมทั้งด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารโดยไอดีซีบอกว่า ที่อื่น ๆ ในโลกจะแย่หมด แต่ที่กลุ่มเอเซียเปซิฟิกน่าจะดีที่สุด
ข้อสอง รัฐบาลจะต้องใช้จ่ายด้านไอทีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการบริการประชาชนและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีเพื่อเพิ่มบริการให้ประชาชนมากขึ้นและทั่ว ถึงโดยทั่วไปรัฐบาลของประเทศในกลุ่มเอเซียแปซิฟิกจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านไอ ทีให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและช่วยกระตุ้นให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะมีโครงการใหม่ ๆ ในหลายรูปแบบซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจซึ่งจะต้องใช้ระบบ ไอทีเข้าช่วย การสร้างโครงการใหม่ด้วยระบบไอซีทีในหลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกการ บริการต่อสาธารณชนและเพื่อสร้างงานใหม่ซึ่งภาคเอกชนตั้งความหวังไว้กับภาค รัฐเพราะสามารถนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเพื่อสร้างงานและการบริการให้กับประชาชน หลายเรื่อง เช่น สาธารณสุข การศึกษา อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าส่งออก การท่องเที่ยวและอื่นๆ อีก
ข้อสาม บริการไอทีประเภทบริการร่วมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า คลาวด์ หรือ Cloud Based Service จะมีมากขึ้น ตัวอย่างบริการคลาวด์ที่เราเห็นได้ชัด ๆ เช่น บริการจ่ายเงินของ Amazon หรือ PayPal บริการแผนที่ของ Google Maps ประเภทเล็ก ๆ ที่เขาทำกันเช่น บริการร่วมทางการศึกษาอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ด้วยระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า แอลเอ็มเอส หรือ Learning Management System ซึ่งก็จะเห็นในประเทศไทยโดยใช้ มูเดิ้ล (Moodle) รวมกันหลายมหาวิทยาลัย ประเภทจะสร้างระบบเองเพื่อใช้เองจะต้องลงทุนมากไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงนี้
ข้อสี่ เศรษฐกิจยามนี้ทำให้บริษัทต่าง ๆ จะต้องรักษาและดูแลลูกค้าให้กระชับขึ้น เลยทำให้บริการของเว้ปซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้หมายถึง Web 2.0 ซึ่งจะได้ทั้งเครือข่ายสมาชิกและสามารถเข้าร่วมปฏิสัมพันธ์ได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับหาลูกค้ามาก บริการประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น บริการของเครือข่ายสังคม ไฮไฟว์ มายสเปส ยูทูป และบริการร่วมกันทำของ วิกิพีเดีย ในประเทศไทย บริการประเภท Dekdern.com ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อบริการให้นักเรียนสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อรู้จักพี่ ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นลักษณะบริการนี้ไอดีซีประมาณการไว้ว่ารายได้จากศูนย์บริการประเภทนี้ในกลุ่มประเทศเอเซีย แปซิฟิก จะเพิ่มจากปี 2008 ซึ่งมี 278 ล้านดอลลาร์ เป็น 518 ล้านดอลลาร์ในปี 2012 ซึ่งจะเติบโตในระดับ 17% ต่อปีติดต่อกันเลยทีเดียว
ข้อห้า บริการ เจาะหาตลาดทางอินเตอร์เน็ตหรือบริการที่เรียกว่า อีเอสเอ็ม หรือ Enterprise Search Market จะเติบโตเร็ว บริการหาตลาดประเภทนี้ ก็นับเป็นการต่อยอดจากเครื่องจักรค้นหาข้อมูลของกูเกิ้ลและยาฮู ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้สามารถคำนวณได้ว่าค่าผลตอบแทนต่อการลงทุนหรือ อาร์โอไอ Return on Investment มีเท่าไร คุ้มหรือไม่ ซึ่งการรวมตัวของบริษัท ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟต์ ออราเคิล และเอสเอพี เพื่อร่วมกันทำบริการประเภทนี้ และบริการประเภทอีเอสเอ็มจะเติบโตในกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิก
ข้อหก จะมีการใช้ไอทีสีเขียวมากขึ้นโดยเฉพาะการสร้างโลกเสมือนเพื่อทดแทนของจริง แทนที่จะสร้างตึก สร้างป่าไม้ สร้างอาณาจักรของจริงบนโลกก็ทำในโลกเสมือนเสียเลย จะให้สวยเท่าไรก็ได้ ทำไปในโลกเสมือนเพราะไม่มีค่าวัสดุก่อสร้าง ไม่มีการตัดป่า ตัดไม้ ประเภทการเรียนการสอนผ่านมหาวิทยาลัยไซเบอร์ ก็ถือว่าไอทีสีเขียวเหมือนกัน เพราะไม่เสียค่าเดินทาง ไม่ต้องสร้างตึกสร้างห้องเรียนติดแอร์ อยู่ที่ไหนก็เรียนที่นั่นในมหาวิทยาลัยเสมือน
ข้อเจ็ด สภาวะการตลาดซบเซา จะส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม ได้พิจารณาถึงยุทธศาสตร์ใหม่ ไอดีซี ได้พยากรณ์ว่าผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมที่ยังมีผลประกอบการดีอยู่ ก็คงจะลงทุนในเรื่องการขยายระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ส่วนผู้ประกอบการในระดับรองลงมาเช่น กลุ่มไอเอสพี หรือ เอเอสพี ก็คงจะเร่งขยายในส่วนการคืนทุนเร็ว โดยเฉพาะเรื่องตลาดบรอดแบนด์ของประเทศกลุ่มเอเซียแปซิฟิกก็กำลังเติบโตอย่าง รวดเร็วส่วนเทคโนโลยีใหม่ ๆ คงจะถูกชะลอลง เช่น 3 จีในอินเดีย จีน และเวียตนาม ไวเมกซ์ ไอพีทีวี บริการสื่อผสม เครือข่ายวิทยุเคลื่อนที่หรือ Mobile Radio Access Network หรือ RAN
ข้อแปด บริษัท ต่าง ๆ จะนิยมใช้บริการทางด้านศูนย์การจัดการบริการข้อมูลมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Managed Datacenter เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งศูนย์การจัดการบริการข้อมูลก็จะต้องให้ลูกค้าเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่หลาย ประเภทเช่น การแบ่งการใช้งานคำนวณประเภท Cloud Computering ที่ผมเขียนไว้ในข้อ 3 การกู้อุบัติภัยทางข้อมูล หรือ Diaster Recovery และการทำเซอร์ฟเวอร์แบบเสมือน หรือ Server virtualization
ข้อเก้า การบริการร่วมสำหรับลูกค้าจอแบนหรือ Thin Clients ก็จะเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเพราะสมัยนี้ จอแบนซึ่งไม่ต้องใช้ซีพียูขนาดใหญ่เหมือนเซอร์ฟเวอร์เพื่อใช้กับงานบริการ ทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีการคำนวณขั้นสูงมาก ๆ แต่จะใช้ร่วมกับศูนย์บริการข้อมูลใหญ่หรือเซอร์ฟเวอร์ใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบ รวมและจัดการข้อมูล ไอดีซีคาดว่าตลาด Thin Clients จะเติบโตกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 12.-15% หรือประมาณ 765,000 เครื่องในแถบเอเซียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ข้อ 10 โน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่มีขนาดกำลังประมวลผลและความจุจำกัดแต่ราคาถูกจะเริ่ม เข้ามาแทรกตลาดโน้ตบุ๊คมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าตลาดของโน้ตบุ๊คขนาดเล็กจะโต ขึ้นประมาณ 10% ในปี2009 เนื่องจากขนาดกำลังการคำนวณและความจุไม่มากนัก จึงทำให้ต้องพึ่งระบบอินเตอร์เน็ตและร่วมกันใช้ข้อมูลสำหรับการประมวลผลใน ลักษณะเดียวกัน Cloud Service นั่นเองเมื่อพินิจพิเคราะห์ดูทั้ง 10 ข้อ ที่ผมได้นำเสนอ บทความ 3 ตอนนั้น คิดว่าสำหรับตลาดธุรกิจไอทีประเทศไทยก็คงจะมีแนวโน้มมาทางนี้ ในปี 2009 คิดว่าข้อมูลที่นำเสนอนี้ คงจะให้ประโยชน์กับผู้อ่านใช้เป็นแนวทางในปีหน้าตลอดทั้งปีได้
ที่มา : ดร. บุญมาก http://www.rsu-cyberu.com/
1/11/09
Digitalism ลัทธิทำเงิน
โดย อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์
ผู้จัดการรายสัปดาห์ ธันวาคม 2551
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชีวิตของคนยุคใหม่ต่างเกี่ยวพันแนบแน่นกับโลกดิจิตอล หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคน Gen C ที่วิวัฒนาการมาจาก Gen C ยุคเดิม กลายเป็น C ++ เช่น Connected,Creativity,Community,Content, Comunicate,Co-creator,Control และ Channel นับเป็นผู้บริโภคที่มีอิทธิพลสูงมากกว่ายุคสมัยใดๆ เพราะทุกอย่างอยู่เพียงแค่ “คลิ๊ก”
หาก 3G และ Wimax ปรากฎเป็นจริงในปีหน้า อีกทั้ง iPhone ได้ฤกษ์จำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทย จะยิ่งเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้ถึงขีดสุดด้วยความเร็วแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในโลกออนไลน์ของเมืองไทยเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินทางอินเตอร์เน็ตและบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ทั้งการซื้อขายผ่าน ebay การจองตั๋วออนไลน์ รวมถึงการสร้างเวบไซต์เพื่อหารายได้ผ่านทาง AdSense ของ Google ผู้คนจะหลั่งไหลเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นโดยมี “ความเร็ว” เป็นตัวดึงดูด
จากผลสำรวจของ http://www.internetworldstats.com/ พบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย มีอัตราเติบโต (ปี 2000-2008) 483.3% มีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 13,146,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 65,493,298 คน หรือคิดเป็น penetration rate 20.5% แสดงให้เห็นถึงประชากรจำนวนหนึ่งที่โลดแล่นอยู่ในโลกออนไลน์ ในฐานะที่เป็น Gen C การมองหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ บนอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมพวกเขาอาจเพียงสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาเพื่อ Share & Show แต่ตอนนี้พวกเขาเรียนรู้แล้วว่าคอนเทนท์ที่เขาเป็นเจ้าของมีค่ามากกว่านั้น การที่กูเกิลตัดสินใจ พัฒนา AdSense บริการโฆษณาออนไลน์ รองรับภาษาไทยได้แล้ว ทำให้บรรดาเว็บไซต์ บล็อกเกอร์ ไม่รีรอที่จะกระโจนลงสู่บ่อเงินบ่อทองแห่งนี้ ในการหารายได้ด้วยการเคี่ยวกรำคอนเทนท์ของตัวเองให้เข้มข้นและโดดเด่น จนกระทั่งสินค้าและบริการให้ความสนใจมาลงโฆษณาออนไลน์กันอย่างคับคั่ง ถึงเวลาของ “ตัวจริง” คอนเทนท์ประเภท “ได้แรงบันดาลใจ” หรือ “ก๊อป-ตัด-แปะ” จะไร้ความหมายและตายไปในที่สุด ขณะที่รายได้ด้านอื่นๆ ก็มีให้เก็บเกี่ยว เช่น ค่าสมาชิก ค่าอัพเกรดเพื่อรับบริการที่มากกว่า หรือจากค่าบริจาคเป็นต้น โดย Wikipedia ได้ค่าบริจาคเพื่อสนับสนุนประมาณปีละ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ว่ากันถึงเจ้าของ Facebook,Google หรือย้อนกลับไปถึง Hotmail ก็ล้วนเป็นหนึ่งใน Gen C ที่สร้างธุรกิจระดับโลกจากความเชี่ยวชาญ ขณะที่ในไทยกรณีศึกษาของ jeban.com ก็เป็นสิ่งที่น่าจับตา ต้องรอดูกันว่าจะในปีที่เทรนด์ Digitalism มาแรงอย่างที่สุดนี้ จะมีจีบันเพิ่มขึ้นในเมืองไทยอีกสักกี่ราย อนาคตมหาเศรษฐีคนใหม่ของเมืองไทยอาจมาจากธุรกิจออนไลน์ก็เป็นได้
Online Trend 2009
1.Crowd Sourcing ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย Jeff Howe ในนิตยสาร Wired ฉบับมิถุนายน 2006 โดยในปี 2009 นี้จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มชนในการสร้างสรรค์หรือพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน หากไม่นับ Wikipedia ที่คุ้นเคยกันดี ตัวอย่างที่น่าสนใจมากคือ รัฐเท็กซัสได้ติดตั้งกล้องเคลื่อนที่จำนวน 200 ตัวตลอดระยะทางพรมแดนของรัฐเท็กซัสกับประเทศเม็กซิโก และเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ได้เห็นความเคลื่อนไหวระหว่างพรมแดนดังกล่าว และช่วยระแวดระวัง รวมถึงรายงานสิ่งผิดปกติให้กับทางการ ซึ่งได้รับความสนใจจากอเมริกันชนเป็นอย่างมากแม้ว่าพวกเขาบางส่วนอาจไม่ได้อาศัยอยู่ในรัฐเท็กซัสเลยก็ตาม
2. Phygital หรือการที่โลกออนไลน์กับโลกออฟไลน์ผสานเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์จากออนไลน์ ด้วยการทำเว็บไซต์ i-greenspace.com ไว้เป็นแหล่งในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย ของไฮเนเก้น ประเทศไทย
3. Web Application ของฟรีที่ดีมีในโลกซึ่งช่วยให้ชีวิตของคุณทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานง่ายขึ้นทั้งการจัดเก็บเอกสาร การจัดเก็บรูปภาพ การทำพรีเซนเตเชั่นต่างๆ เป็นต้น โดยมีจุดขายคือ Freemium ให้ใช้งานฟรีได้ แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากติดใจอยากใช้งานแบบเต็มๆ ก็เสียค่าสมัครเพิ่ม
ผู้จัดการรายสัปดาห์ ธันวาคม 2551
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชีวิตของคนยุคใหม่ต่างเกี่ยวพันแนบแน่นกับโลกดิจิตอล หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคน Gen C ที่วิวัฒนาการมาจาก Gen C ยุคเดิม กลายเป็น C ++ เช่น Connected,Creativity,Community,Content, Comunicate,Co-creator,Control และ Channel นับเป็นผู้บริโภคที่มีอิทธิพลสูงมากกว่ายุคสมัยใดๆ เพราะทุกอย่างอยู่เพียงแค่ “คลิ๊ก”
หาก 3G และ Wimax ปรากฎเป็นจริงในปีหน้า อีกทั้ง iPhone ได้ฤกษ์จำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทย จะยิ่งเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้ถึงขีดสุดด้วยความเร็วแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในโลกออนไลน์ของเมืองไทยเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินทางอินเตอร์เน็ตและบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ทั้งการซื้อขายผ่าน ebay การจองตั๋วออนไลน์ รวมถึงการสร้างเวบไซต์เพื่อหารายได้ผ่านทาง AdSense ของ Google ผู้คนจะหลั่งไหลเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นโดยมี “ความเร็ว” เป็นตัวดึงดูด
จากผลสำรวจของ http://www.internetworldstats.com/ พบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย มีอัตราเติบโต (ปี 2000-2008) 483.3% มีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 13,146,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 65,493,298 คน หรือคิดเป็น penetration rate 20.5% แสดงให้เห็นถึงประชากรจำนวนหนึ่งที่โลดแล่นอยู่ในโลกออนไลน์ ในฐานะที่เป็น Gen C การมองหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ บนอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมพวกเขาอาจเพียงสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาเพื่อ Share & Show แต่ตอนนี้พวกเขาเรียนรู้แล้วว่าคอนเทนท์ที่เขาเป็นเจ้าของมีค่ามากกว่านั้น การที่กูเกิลตัดสินใจ พัฒนา AdSense บริการโฆษณาออนไลน์ รองรับภาษาไทยได้แล้ว ทำให้บรรดาเว็บไซต์ บล็อกเกอร์ ไม่รีรอที่จะกระโจนลงสู่บ่อเงินบ่อทองแห่งนี้ ในการหารายได้ด้วยการเคี่ยวกรำคอนเทนท์ของตัวเองให้เข้มข้นและโดดเด่น จนกระทั่งสินค้าและบริการให้ความสนใจมาลงโฆษณาออนไลน์กันอย่างคับคั่ง ถึงเวลาของ “ตัวจริง” คอนเทนท์ประเภท “ได้แรงบันดาลใจ” หรือ “ก๊อป-ตัด-แปะ” จะไร้ความหมายและตายไปในที่สุด ขณะที่รายได้ด้านอื่นๆ ก็มีให้เก็บเกี่ยว เช่น ค่าสมาชิก ค่าอัพเกรดเพื่อรับบริการที่มากกว่า หรือจากค่าบริจาคเป็นต้น โดย Wikipedia ได้ค่าบริจาคเพื่อสนับสนุนประมาณปีละ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ว่ากันถึงเจ้าของ Facebook,Google หรือย้อนกลับไปถึง Hotmail ก็ล้วนเป็นหนึ่งใน Gen C ที่สร้างธุรกิจระดับโลกจากความเชี่ยวชาญ ขณะที่ในไทยกรณีศึกษาของ jeban.com ก็เป็นสิ่งที่น่าจับตา ต้องรอดูกันว่าจะในปีที่เทรนด์ Digitalism มาแรงอย่างที่สุดนี้ จะมีจีบันเพิ่มขึ้นในเมืองไทยอีกสักกี่ราย อนาคตมหาเศรษฐีคนใหม่ของเมืองไทยอาจมาจากธุรกิจออนไลน์ก็เป็นได้
Online Trend 2009
1.Crowd Sourcing ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย Jeff Howe ในนิตยสาร Wired ฉบับมิถุนายน 2006 โดยในปี 2009 นี้จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มชนในการสร้างสรรค์หรือพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน หากไม่นับ Wikipedia ที่คุ้นเคยกันดี ตัวอย่างที่น่าสนใจมากคือ รัฐเท็กซัสได้ติดตั้งกล้องเคลื่อนที่จำนวน 200 ตัวตลอดระยะทางพรมแดนของรัฐเท็กซัสกับประเทศเม็กซิโก และเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ได้เห็นความเคลื่อนไหวระหว่างพรมแดนดังกล่าว และช่วยระแวดระวัง รวมถึงรายงานสิ่งผิดปกติให้กับทางการ ซึ่งได้รับความสนใจจากอเมริกันชนเป็นอย่างมากแม้ว่าพวกเขาบางส่วนอาจไม่ได้อาศัยอยู่ในรัฐเท็กซัสเลยก็ตาม
2. Phygital หรือการที่โลกออนไลน์กับโลกออฟไลน์ผสานเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์จากออนไลน์ ด้วยการทำเว็บไซต์ i-greenspace.com ไว้เป็นแหล่งในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย ของไฮเนเก้น ประเทศไทย
3. Web Application ของฟรีที่ดีมีในโลกซึ่งช่วยให้ชีวิตของคุณทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานง่ายขึ้นทั้งการจัดเก็บเอกสาร การจัดเก็บรูปภาพ การทำพรีเซนเตเชั่นต่างๆ เป็นต้น โดยมีจุดขายคือ Freemium ให้ใช้งานฟรีได้ แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากติดใจอยากใช้งานแบบเต็มๆ ก็เสียค่าสมัครเพิ่ม
Subscribe to:
Posts (Atom)