1.กล้าเปิดใจรับฟัง (Open Minded)
รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่นด้วยความเต็มใจ แสดงความคิดเห็นของตนและยินดีปฏิบัติตามความคิดเห็นของผู้อื่นที่ดีกว่าความคิดเห็นของตน
๐ยินดีรับฟังและทำความเข้าใจกับความคิดเห็นที่แตกต่างกับความคิดของตนเอง
๐เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของตนไปตามความคิดที่ดีกว่าได้โดยไม่กลัวเสียหน้า
๐ไม่ทับถมความล้มเหลว แต่เรียนรู้และยกย่อง ถ้าสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ในอนาคต
2.กล้าคิดนอกกรอบ (Thinking out of the Box)
กล้าคิดนอกกรอบ คิดในสิ่งที่ต่างจากกรอบความคิดเดิมๆ หรือลึกซึ้งกว่าเดิมได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำความคิดไปปฏิบัติ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่เคยพบมาก่อนได้อย่างฉับพลัน
๐คิดสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้
๐แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมได้อย่างสร้างสรรค์
๐นำแนวความคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้
3.กล้าพูดกล้าทำ (Assertive)
กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงความเห็นที่แตกต่างจากคนหมู่มาก กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่เหมาะสม บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม กล้าตัดสินใจ กล้าเสนอวิธีการทำงานและมุมมองต่างๆ ที่ทำให้งานบรรลุเป้าหมาย ส่งผลถึงตนเองและองค์กรโดยรวม
๐แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความมั่นใจและมีจุดยืน โดยไม่ละเมิดสิทธิในการคิดของผู้อื่น
๐กล้าวิพากษ์แนวคิด (ไม่ใช่วิจารณ์คน) และกล้าตัดสินใจ
๐เสนอแนวทางหรือวิธีการทำงานใหม่ๆ ทั้งในงานที่รับผิดชอบและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม (Risk Taking)
กล้าริเริ่ม กล้าเสี่ยงทำในสิ่งใหม่ๆ บนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้การเสี่ยงบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งกับองค์กรและตัวพนักงานเอง และนำสิ่งที่เป็นบทเรียนจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีต มาประกอบการวิเคราะห์ตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
๐แสวงหาโอกาสในการทำสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายอยู่เสมอ
๐วิเคราะห์โอกาส หรือประเมินผลได้ผลเสียจากความเสี่ยง และกล้าลงมือทำ หลังจากที่ประเมินความเสี่ยงแล้ว
๐ลดความกลัวที่จะล้มเหลว หรือเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันและแสวงหาโอกาสต่อไป
5.กล้าเรียนใฝ่รู้ (Eager to Learn)
๐แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ไม่อายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานอยู่เสมอ สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น
๐แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองหรือทีมงานอยู่เสมอๆ
๐นำความรู้ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ในการทำงาน
๐แบ่งปันความรู้ ความคิด เพื่อการพัฒนาต่อยอด หรือพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ
Inno-Leader (ผู้นำ 3 ประการ)
1.เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Lead Change through Vision & Values)
กำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางอนาคตของธุรกิจหรือหน่วยงานอย่างชัดเจน สื่อสารและส่งเสริมให้ผู้ร่วมทีมมีความเข้าใจตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้องค์กรและพนักงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการ และนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
๐เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
๐กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ชัดเจน
๐ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิผล เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ และทิศทาง การเปลี่ยนแปลงในอนาคตขององค์กร
๐กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเข้าถึงพนักงานโดยตรง เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างผู้นำและพนักงาน
2.เป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Facilitate & Support Change)
กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดกับพนักงาน และสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมทีมแสดงความคิดเห็นและได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ภายในองค์กร
๐สร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้คนกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือปฏิบัติ กล้ารับความผิดพลาด
๐ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ และบริหารกระบวนการนำความคิดสร้างสรรค์ไปทดลองปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ในองค์กร
๐สนับสนุนทุกรูปแบบเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงสู่ผลสำเร็จและเกิดสิ่งใหม่ๆ ในองค์กร
3.เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำเป็นแบบอย่าง (Execute Change by being the Role Model)
เป็นแบบอย่างของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยการลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง บริหารการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับพนักงานในองค์กร และยอมรับผลอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
๐เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น
๐แสดงให้ทุกคนเห็นว่าตนเองพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๐อดทนและควบคุมอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
No comments:
Post a Comment