11/9/07

BSC & KPIs. คืออะไร (ต่อ)

ดัชนี KPIs. สำหรับมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning & growth) ก็คงต้องเริ่มต้นที่แนวความคิดพื้นฐานที่ว่า “เพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ เราควรจะคงไว้ซึ่งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” “ To achieve our vision, how will we sustain our ability to change and improve” มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต จะพูดถึง คน ระบบและเทคโนโลยี่ ดังนั้นดัชนี KPIs. ก็จะเกี่ยวข้องกับคน ระบบและเทคโนโลยี่ ทางด้านคนหรือบุคลากรก็จะต้องกำหนดกลยุทธ์ว่าองค์กรจะให้ความสำคัญกับบุคลากรกลุ่มไหนที่จะมีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลว (Strategic staff) และบุคลากรกลุ่มนี้ควรจะมีความชำนาญหรือสามารถอะไรเป็นพิเศษ (Strategic skills & Strategic competencies) ถึงจะทำให้องค์กรมีจุดได้เปรียบเชิงการแข่งขันหรือสามารถบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจ ดัชนีที่นิยมวัดกันได้แก่ อัตราการลาออกของ Key staff, จำนวนชั่วโมงอบรมสัมมนาต่อคน, Competency level (โดยการทดสอบระดับความสามารถ) ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee satisfaction) , % ค่าใช้จ่ายด้านฝึกอบรมพัฒนาต่อยอดขาย , Employee productivity , Suggestion, สำหรับดัชนีสำหรับด้านเทคโนโลยี เช่น % เงินลงทุนด้าน Information technology , % ค่าใช้จ่าย R&D ต่อยอดขาย(ความสามารถในการพัฒนา Knowhow) , ระดับความสามารถของเทคโนโลยีหรือความพร้อมของเทคโนโลยี สำหรับดัชนีด้านระบบไดแก่ ความพร้อมของระบบงาน เช่นการมีระบบคุณภาพ ISO , ระบบวางแผนงบประมาณ ฯลฯ , % เงินลงทุนในระบบ (Operating system) ต่อยอดขาย , % บุคลากรที่ดูแลด้านพนักงาน ด้านเทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์และด้านระบบต่อพนักงานทั้งหมด นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทให้ความสำคัญจึงกล้าลงทุนและการลงด้านนี้มีความจำเป็นและสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเพราะเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บหรือเสริมศักยภาพการแข่งขันให้แก่องค์กรและเพื่อทำให้สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวดัชนี KPIs สำหรับมุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) ก็คงต้องเริ่มที่แนวความคิดพื้นฐานเช่นเดียวกับมุมมองที่กล่าวมาแล้ว 3 มุมมอง” เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ผลประกอบการด้านการเงินควรจะเป็นอย่างไรในสายตาผู้ถือหุ้น” “ To succeed financially, how should we appear to our shareholders?” การกำหนดดัชนีด้านนี้ไม่ยากเลยเพียงแต่ต้องสอบถามจากผู้ถือหุ้นเลยว่ามีความคาดหวังอะไรบ้าง เช่น ด้านความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง (Liquidity) ความสามารถในการบริหารความเสี่ยง (Risk) ความสามารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายคงที่หรือดอกเบี้ย (Coverage) สำหรับดัชนีด้านการเงินอย่างละเอียดคงจะต้องติดตามในฉบับหน้า อดใจรอหน่อยนะครับ ในฉบับที่แล้วได้รับปากว่าจะพูดถึงดัชนี KPIs. ในมุมมองด้านการเงินอย่างละเอียด ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจแนวความคิดพื้นฐานสำหรับมุมมองด้านนี้ก็คือว่า “เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ผลประกอบการด้านการเงินควรจะเป็นอย่างไรในสายตาผู้ถือหุ้น” “ To succeed financially, how should we appear to our shareholders?” โดยปกติทั่วไปการกำหนดดัชนี KPIs. ด้านการเงินที่ง่ายและตรงประเด็นก็คือการสอบถามจากผู้ถือหุ้นเลยว่าผู้ถือหุ้นคาดหวังผลงานด้านการเงิน (Financial performance) อะไรจากบริษัท ซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละบริษัทก็จะมีความคาดหวังแตกต่างกันออกไปและการที่ถามโดยตรงจากผู้ถือหุ้นก็เป็นการทำงานที่สั้นไม่ต้องมาเสียเวลาเดาความต้องการซึ่งผลจากการคาดเดาอาจทำให้ผิดๆถูกๆเสียเวลา ควรเอาเวลาที่มีค่าไปคิดเรื่องอื่นๆจะดีกว่า ในคราวนี้จะหยิบยกประสบการณ์ที่ทำงานด้าน Corporate planning และเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหาร ที่ได้มีโอกาสสัมผัสถึงความคาดหวังของผู้ถือหุ้นที่หลากหลาย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านและเป็นแนวทางในการกำหนดดัชนี KPIs. สิ่งที่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนต้องการก็คือผลตอบแทนจากการลงทุน(Return on investment) คงไม่มีใครลงทุนแล้วไม่หวังผลตอบแทน ฝากธนาคารยังต้องการดอกเบี้ย ดัชนี KPIs. ที่นิยมได้แก่ 1. % margin คือ กำไรเบื้องต้น(ยอดขายหักต้นทุนสินค้าขาย) โดยคิดเป็นร้อยละของยอดขาย(%) ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหรือแข่งกับตัวเอง คำว่าแข่งกับตัวเองหมายถึงเทียบกับที่เคยทำได้แล้วและควรจะทำให้ดีกว่าขึ้นไปเรื่อยๆ(Continuous improvement) ท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องวัดกำไรเบื้องต้น คำตอบก็คือกำไรเบื้องต้นเป็นผลของการบริหารการตลาด ท่านลองพิจารณา Product mix strategyเป้าหมายของ Product mix strategy คือทำอย่างไรให้ กำไรเบื้องต้นสูงที่สุด เช่นจากตัวอย่าง ทำอย่างไรบริษัทของเราจึงจะได้กำไรเบื้องต้นมากกว่า 1,400 ซึ่งมีวิธีการหลายวิธีด้วยกันดังนี้1. เพิ่มสัดส่วนยอดขายสำหรับสินค้าที่มี margin สูงให้มากขึ้น ก็คือสินค้า ก ซึ่งมี margin 33 % และมีสัดส่วนแค่ 9% เท่านั้น ดังนั้นถ้าเราเพิ่มยอดขายสินค้า ก จะพบว่าทุกๆ 100 บาทเราก็จะได้ margin 33 บาทเพราะถ้าเพิ่มสินค้า ค ทุกๆ100บาทจะได้ marginแค่ 4 บาท สรุปแล้วการเพิ่มยอดขายอาจจะเพิ่มปริมาณขายหรือราคาขายก็ได้ การเพิ่มปริมาณสินค้าที่มี % margin ท่านคงเคยเห็นตามร้านอาหารที่มีการอาหารชุด(Combo set) เช่นในชุดนั้นมีน้ำอัดลมอยู่ด้วย น้ำอัดลมต้นทุนต่ำมากหรือเรียกได้ว่ามี margin สูง ก็ขายพ่วงเข้าไป หรือบางชุดมีซุปอยู่ด้วยก็เช่นกันนอกจากนั้นเราก็สามารถตัดกำไรส่วนหนึ่งมาเป็นส่วนลดนั่นหมายความว่าถ้าซื้อเป็นชุดจะถูกกว่าซื้อแยก วิธีการเช่นนี้ท่านคงเคยสัมผัสแน่นอน แสดงว่าร้านอาหารนั้นใช้หลักการของ Product mix strategy เพื่อเพิ่มกำไรเบื้องต้นหรือไม่ก็ลดต้นทุนสินค้าขาย เทคนิคเอาไปช่วยผลักสินค้าที่ขายไม่ดีให้มียอดขายมากขึ้นวิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เพิ่มราคาไม่ได้ ซึ่งท่านสามารถนำเอาแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจของท่านได้และถ้าได้ผลอย่าลืมแจ้งข่าวกันบ้างที่ 01-86949152.การเพิ่มกำไรเบื้องต้น อาจจะเพิ่ม % margin ของสินค้าก็ได้ เช่นโดยการเพิ่มราคาหรือไม่ก็ลดต้นทุน การลดต้นทุนก็อาจจะต่อรองต้นทุนต่อหน่วยหรือจะซื้อแบบมีส่วนลดปริมาณ(Quantity discount) หรือมีส่วนลดเงินสด(Cash discount)2. ดัชนี ROA : Return on asset ก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในทรัพย์สิน คำนวณได้จากกำไรหารด้วยทรัพย์สินรวมคูณร้อย หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ดัชนีนี้สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารทรัพย์สินว่าใช้ทรัพย์สินคุ้มหรือไม่(Asset turnover)และความสามารถในการกำไร(Profitability) ดังสมการข้างล่างนี้ROA = กำไร x 100 = ยอดขาย x กำไร x 100 ทรัพย์สิน ทรัพย์สิน ยอดขาย= รอบหมุนในทรัพย์สิน x % กำไร แนวความคิดก็คือว่า ถ้าอยากจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ก็อาจทำได้ 2 วิธีคือ1. เพิ่มรอบหมุนในทรัพย์สิน วิธีเพิ่มทำได้โดยเพิ่มยอดขายหรือไม่ก็ลดทรัพย์สินการเพิ่มยอดขายได้กล่าวไปแล้วในข้อ 1 การลดทรัพย์สินก่อนอื่นก็จะต้องทราบก่อนว่าทรัพย์สินประกอบด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนและทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินหมุนเวียนก็ประกอบด้วยเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือและทรัพย์สินหมุนเวียนอื่น ส่วนทรัพย์สินถาวรก็ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ ท่านคงสงสัยแล้วใช่ไหมว่าทำไมต้องลดทรัพย์สิน ลองดูตัวอย่างแล้วจะเข้าใจ เช่นเรามีลูกหนี้การค้ามาก ถ้ามากขึ้นเพราะเราขายมากขึ้นไม่เป็นไรแต่ถ้ามากขึ้นเพราะลูกหนี้เหนียวหนี้ไม่ยอมจ่าย อายุลูกหนี้ก็ยาวขึ้นเช่นจาก 30 วันเป็น 40 วัน เราเคยขายเฉลี่ยวันละ 1 ล้าน ถ้าเครดิตเทรม 30 วันเราก็จะมีลูกหนี้การค้า 30 ล้าน ถ้าลูกหนี้เรายาวขึ้นอีก 10 วันก็เท่ากับเรามีลูกหนี้มากขึ้นอีก 10 ล้านบาท ทำให้ทรัพย์สินในงบดุลเพิ่มอีก 10 ล้าน รอบหมุนในทรัพย์สินก็จะตกลง ดังนั้นหลายบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพย์สินอย่างมากไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ยิ่งสินค้าคงเหลือยิ่งเก็บมากเก็บนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะสูญหาย เสื่อมสภาพ ล้าสมัย เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บ ชึ่งสมัยนี้เขากำลังพูดถึง JIT : Just in time กันแล้วคือพยายามให้มีสต็อกวัตถุดิบหรือสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลยได้ยิ่งดีแต่นั่นท่านจะต้องมีระบบข้อมูลที่ดี ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน บุคลากรเป็นมืออาชีพ มีการวางแผนงานประสานงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่งมายังโรงงาน การนำเข้าผลิตจนออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจัดส่งให้ลูกค้าที่จะต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากๆ ถ้าทำได้เช่นนี้รับรองบริษัทของท่านเป็นผู้นำตลาดแน่นอนและอยากให้กำลังใจว่าไม่ยากและก็ไม่มีอะไรซับซ้อนยุ่งยากเพียงแต่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทรัพย์สินถาวรก็ต้องไปพิจารณาว่ามี Idle หรือไม่ หรือใช้ไม่คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าเจอปัญหาดังกล่าวท่านก็จะต้องหาทางใช้ประโยชน์ หรือไม่ก็ขายออกไปเก็บเป็นสดขึ้นมาดีกว่า ท่านเห็นหรือไม่ว่าการที่ผู้ถือหุ้นอยากเห็น ROA สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไปผลักดันให้มีการปรับปรุงพัฒนาในขบวนการธุรกิจตาม The balanced scorecard : BSC ในมุมมอง internal business process ตามที่ยกตัวอย่างมาแล้วเช่นปรับปรุงขบวนการไปสู่ JIT โดยอาศัย supply chain management เป็นต้น 2. เพิ่มกำไรต่อยอดขาย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่ม ROA การเพิ่มกำไรเบื้องต้นได้พูดไปแล้วในหัวข้อ product mix strategy คำว่ากำไรสุทธิ ท่านต้องเอากำไรเบื้องต้นมาหักด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเช่นค่าใช้จ่ายขาย ค่าใช้จ่ายบริหาร ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยจ่ายเป็นต้น การลดค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกลยุทธ์พอสมควร การลดค่าใช่จ่ายไม่ใช่การตัดค่าใช้จ่าย การลดค่าใช้จ่ายเกิดจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ (Productivity) การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพ (Efficiency) การลดลงของค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มีผลกระทบต่อ Performance ค่าใช้จ่ายขายหรือบริหารจะคิดเป็น % ต่อยอดขาย ดังนั้นควรมุ่งไปที่การลดลงในเชิง % ไม่ใช่ตัวเงินลดลง ตัวเงินมากขึ้นแต่ % ลดลงนั่นแสดงว่ายอดขายมากขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายคงเดิมหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการมุ่งหารายได้ดีกว่ามุ่งตัดรายจ่าย การตัดรายจ่ายยังคงต้องทำเช่นกันแต่ทำเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเท่านั้นและต้องไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน3. Trendดัชนี Growth ทั้งตลาดใหม่และตลาดเก่า (New & Existing Market) คำถามก็คือว่าทำไมผู้ถือหุ้นจึงสนใจอัตราการเจริญเติบโต จากการได้พูดคุยด้วยพบว่า ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์มีอายุไขของมันหรือเรียกว่า Business life cycle หรือ product life cycle การยึดติดกับธุรกิจหนึ่งธุรกิจได วันหนึ่งธุรกิจนั้นมีปัญหาขึ้นมา บริษัทจะอยู่อย่างไร Life cycle จะประกอบด้วย Introduction stage, Growth stage, Maturity stage &Declining stage การทำให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดในระยะยาว (Long term renewal)จากกราฟที่แสดงจะเห็นว่าธุรกิจ A วันหนึ่งก็ต้องเข้าสู่ช่วงตกต่ำของธุรกิจ แทนที่เราจะรอให้ถึงวันนั้น บริษัทก็มีความจำเป็นที่จะสร้างธุรกิจใหม่ B ,C ในช่วงที่ธุรกิจ A กำลังทำกำไร บริษัทก็ต้องกันกำไรส่วนหนึ่งมาสร้างธุรกิจ B หรือ C ตามลำดับ จากกราฟ จะเห็นว่าพอธุรกิจ A เริ่มจะตก B ก็มาแทนที่ พอ B จะตก C ก็มาแทนที่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าฝ่ายจัดการสามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตไว้ได้ ผู้ถือหุ้นชอบใจแน่นอน ไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น stakeholder อื่นๆเช่นพนักงาน ผู้ขายสินค้า หรือวัตถุดิบให้เรา หรือแม้แต่ธนาคารก็ต้องชอบใจเพราะนั่นคือความมั่นคงที่ทุกคนไฝ่หาอยู่แล้ว การจะออกสินค้าใหม่หรือธุรกิจใหม่ หรือแม้แต่ตลาดใหม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ต้องมีการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นนับตั้งแต่การวิจัยตลาดเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ว่าถ้าออกสินค้าใหม่ออกมาแล้วจะขายได้หรือไม่ หรือมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน (Feasibility study) การลงทุนสร้าง Line การผลิตใหม่ หรือแม้แต่สร้างโรงงานใหม่ หรือเปิดสำนักงานขายในต่างประเทศเพื่อหาลู่ทางเปิดตลาดใหม่ ที่กล่าวมาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดในระยะยาวทั้งสิ้นและสิ่งที่กล่าวมานี้ก็คือมุมมองด้านการเรียนและเติบโต (Learning & growth perspective) ที่จะส่งผลไปยังมุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) หรือมุมมองด้านการเงินมากำหนดกิจกรรมหรือการลงทุนในมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต คำว่า growth อาจจะหมายถึงอัตราการเจริญเติบโตของทรัพย์สินรวม (Total Assets) หรืออัตราการเจริญเติบโตของส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) เพราะเป็นดัชนีชี้ความมั่งคั่ง3. ดัชนีความเสี่ยง (Risk) ซึ่งนิยมวัดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt – Equity ratio) นี้อัตราส่วนยิ่งต่ำยิ่งดี เช่น 1:1 ย่อมเสี่ยงน้อยกว่า 3:1 แน่นอน เพราะเงินที่นำมาใช้ในกิจการจะประกอบด้วย 2 แหล่งคือ การกู้ยืมและจากส่วนผู้ถือหุ้น เช่น 3:1 แสดงว่าใน 100 ส่วนของเงินที่ใช้ในกิจการมาจากการเป็นหนี้ 75 % ย่อมต้องเสี่ยงกว่า 1:1 ที่มีหนี้แค่ 50 % เท่านั้น ถามว่าถ้าไม่เป็นหนี้เลยดีไหม คำตอบแล้วแต่มุมมอง ผู้บริหารที่เป็น Risk avoider จะชอบแต่ Risk taker จะไม่ชอบการเป็นหนี้ทำให้เรามีเงินทุนมาขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ถ้าใช้แต่เงินส่วนผู้ถือหุ้นก็จะทำธุรกิจได้จำกัด ส่งผลทำให้โตช้าแต่ก็ไม่เสี่ยง คำว่าเสี่ยงแปลว่าเราไปเป็นหนี้และเอามาทำธุรกิจ ถ้าธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ประสบกับภาวะขาดทุน สินค้าก็ขายไม่ออก ไม่มีเงินชำระหนี้ สุดท้ายเป็น NPL 4. ดัชนีสภาพคล่อง (Liquidity) ดัชนีนี้มีความสำคัญไม่แพ้ดัชนีที่กล่าวมา เพราะกิจการขาดทุนไม่เป็นไรแต่อย่าขาดสภาพคล่อง เหมือนคนขาดเลือดก็จะอยู่ไม่ได้ ดัชนีนี้เป็นอัตราส่วนของทรัพย์สินหมุนเวียน (Current asset) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน (Current liability) หรือจะตีความว่ากิจการของเรามีทรัพย์สินหมุนเวียนเพียงพอในการจ่ายคืนหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ เช่นเราเก็บเงินจากลูกหนี้มาจ่ายเจ้าหนี้เพียงพอ จึงเกิดคำกล่าวที่ “เก็บเงินเร็วแต่จ่ายเงินให้ช้า” ถ้าจะวัดสภาพคล่องให้ดีกว่านี้จะต้องหักสินค้าคงเหลือออกจากทรัพย์สินหมุนเวียนแล้วค่อยหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินได้ช้า

1 comment:

ksuchat said...

บริษัทกิตติพลคอนซัล จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาในเรื่องการจัดหาเงินทุน จากสถบันการเงิน และจะเลือกสรรค์ให้ตรงกับคุณสมบัติและความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ลูกค้าจะได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดในเรื่องของดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ย อยู่ระหว่าง 8-15% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประเภทธุรกิจ คุณสมบัติ ของลูกค้า และสถาบันการเงินที่จัดหาให้

*** ค่าที่ปรึกษา ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ความยากง่ายของการดำเนินงาน
(ค่าที่ปรึกษาจะเก็บก็ต่อเมื่อวงเงินได้รับอนุมัติเท่านั้น)

รายละเอียดมีดังนี้

แฟ็กเตอร์ริง !!!! (รับซื้อลูกหนี้ทางการค้า) วงเงิน 10 ล้านบาทขึ้นไป
เป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นประเภทหนึ่ง
ที่เกิดจากการรับซื้อลูกหนี้การค้าในรูปแบบเอกสารทางการค้า
ที่มีการส่งมอบสินค้า หรือให้บริการเรียบร้อยแล้ว
แต่ต้องรอเวลาชำระหนี้ตามเครดิตเทอมของลูกหนี้การค้า
โดยผู้ใช้บริการแฟ็กเตอริงจะได้รับเงินล่วงหน้าก่อนระยะเวลาที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้
เพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือให้บริการในรอบถัดไป( ระยะเวลาให้เครดิต ไม่เกิน 150 วัน )

ประโยชน์ของแฟ็กเตอร์ริง

1. เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้กิจการ : หลังส่งสินค้าให้กับลูกหนี้การค้า
เพียงคุณนำเอกสารทางการค้า เช่น ใบอินวอยซ์ ใบวางบิล หรือใบเสร็จรับเงินฯ
หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้กับ คุณก็สามารถรับเงินสดล่วงหน้าได้ทันที
สูงสุดถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าอินวอยซ์และยังได้รับส่วนต่างคืนหลังจากที่ลูกหนี้การค้าของคุณได้ชำระเงินตามมูลค่าที่แจ้งในใบอินวอยซ์นั้นๆ

2. เสริมศักยภาพในการแข่งขัน :
ด้วยบริการของ แฟ็กเตอริง ท่านสามารถเสนอเครดิตทางการค้าที่ดีกว่า หรือยืดระยะเวลาการชำระเงินให้กับลูกหนี้การค้า เนื่องจากไม่มีปัญหาทางด้านสภาพคล่อง
วงเงินเติบโตได้ตามยอดขาย :
ท่านสามารถใช้วงเงินได้ตามยอดขายที่เติบโตขึ้น
โดยไม่ต้องกังวลกับเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
ทำให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และบริหารธุรกิจได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
หมดปัญหาเรื่องการจัดเก็บหนี้สิน จะรับผิดชอบภาระทั้งหมดในการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าของคุณ ตามจำนวนและเวลาที่ระบุไว้ตามเอกสารที่ท่านนำมาขายกับเราช่วยให้ท่านประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มาก

3. ช่วยจัดทำบัญชีการขาย ทุกเดือน
ธนาคารจะ จัดทำบัญชีรายการขายด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมแจ้งสถานะของลูกหนี้การค้านั้น ๆ เป็นรายงานประจำเดือน
เพื่อให้ท่านและลูกหนี้การค้าของท่านได้ทราบถึงรายละเอียดการขายต่างๆ

ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการขอสินเชื่อ :
เพียงมีบุคคลผู้มีอำนาจ ตามหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์มาค้ำประกันเท่านั้น ช่วยเช็คเครดิตลูกหนี้การค้า : เพียงท่านแจ้งชื่อลูกหนี้การค้า และเลขที่บัญชีที่มีอยู่กับธนาคาร สามารถเช็คข้อมูลทางการเงินของลูกหนี้การค้าให้ท่าน เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจและเป็นประโยชน์ในการค้าขายกับลูกหนี้การค้านั้น ๆ มากขึ้นในอนาคต
คุณสมบัติ

1.ต้องเป็นการซื้อ-ขายระหว่างนิติบุคคลด้วยกันเท่านั้น
2.วงเงิน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
3.ดำเนินกิจการมา 3 ปี ขึ้นไป
4.งบดุลไม่ติดลบ 3 เดือน ติดต่อกัน
5.ประวัติทางการเงินเดินเป็นปกติ (ไม่เป็น NPL)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และบริการอื่นๆได้ที่
http://www.thelandandhouse.com/kpc
http://www.dbdmart.com/ksuchat

คุณสุชาติ Tell: 0867096147 Fax: 025404632
Email : ksuchat@windowslive.com