12/28/07
เวิร์กฮาร์ดกับเวิร์กสมาร์ต
ทำไมก็ทำงานแบบตัวเป็นเกลียวหัวเป็นนอตขนาดนั้น ยังว่าเขาไม่ฉลาดอีกเหรอ พูดแบบนี้มันประเภทมือไม่พายยังเสือกเอาเท้าราน้ำนี่หว่า""ก็ไม่ได้ว่าเขาโง่สักหน่อย เห็นว่าเป็นคนขยันด้วยซ้ำ แต่ในฐานะของผู้บริหารอย่างเขา การที่มีงานสุมหัวมากมายจนแทบมิดอย่างนั้น มันก็บ่งบอกอะไรบางอย่าง มันตั้งข้อสังเกตได้ว่า เขาใช้งานลูกน้องไม่เป็นหรือไม่ได้ ? เขาหวงงานหรือไม่ ? เขาฝึกสอนหรือสร้างลูกน้องไม่เป็นหรือเปล่า ? หรือแม้แต่เขาจัดลำดับความสำคัญของงานไม่ถูก จนสามารถจะตี ความเลยเถิดไปถึงเขาบริหารไม่เป็นหรือเปล่า ?""เท่าที่รู้นะ ไม่ใช่ว่าเขาจะสอนลูกน้องไม่เป็น ใช้ลูกน้องไม่ได้ เขาเคยแล้ว มอบให้คนนั้นทำไอ้นั่น คนนี้ทำไอ้นี่ แต่มันออกมาห่วย ผิดพลาดเสียส่วนใหญ่ แทนที่งานจะเร็วขึ้น เบาแรงขึ้น ต้องมาแก้ไขทบทวนทำกันใหม่ กลายเป็นเสียทั้งเงินทั้งเวลาดับเบิล สู้ลุยเสียเองและให้ลูกน้องคอยช่วยตามสั่ง มันจะได้ผลดีกว่าทุกครั้ง นอกจากไม่ผิดพลาดแล้ว ผลงานก็ออกมาดีอีกต่างหากด้วย มันไม่ถูกหรือที่เขาเอาผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง ยอมเหนื่อยและหนักเสียเอง ยังมาตั้งข้อสังเกตอะไรกันอีก บั่นทอนกำลังใจและจิตใจกันมากไปหน่อยมั้ง""ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องขอค้านที่ว่าสอนลูกน้องเป็นแล้วล่ะ เพราะถ้าอย่างที่ว่านี่มันแปลว่าสอนลูกน้องให้แบ่งเบางานไม่เป็น""อย่าลืมว่าลูกน้องมันไม่มีคุณภาพนะ เดี๋ยวนี้ความรู้ของคนจบปริญญาตรีมามันก็เท่านั้น ไม่เห็นจะต่างกับคนไม่จบตรงไหนเลย ผิดกันแค่คนหนึ่งมีประกาศนียบัตร อีกคนไม่มีเท่านั้น""งานบางอย่างเนี่ย จบปริญญาหรือไม่จบมันก็มีค่าเท่ากันแหละ ถ้าไม่ใช่งานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางอย่างงานช่าง งานบัญชี หรือวิทยาศาสตร์ ใครจบไม่จบอะไรมา มันก็ต้องมาเริ่มต้นที่จุดเดียวกันใหม่ทั้งนั้น สำหรับการทำงานของบริษัทแต่ละแห่งไอ้ที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานเพื่อเรียนรู้งาน มันมาจากกึ๋น มาจากไหวพริบ มาจากคอมมอนเซนส์ มาจากพื้นฐานนิสัยใจคอต่างหาก และแน่นอนมันจะต้องมาจากคนสอนคนฝึกให้ด้วยเพราะฉะนั้นเราจะเอาเรื่องพื้นฐานการศึกษา ว่าจบอะไรมา มาวัดกันไม่ได้หรอก ว่าลูกน้องมีคุณภาพหรือไม่มี ไปตัดสินเขาตรงนั้นไม่ได้ คนจำนวนไม่น้อยจบแค่ปริญญาตรี แต่เป็นนายของคนจบระดับปริญญาโทหรือแม้แต่ระดับด็อกเตอร์ได้ มันยืนยันว่าระดับการศึกษากับการสอนคนเป็น สร้างคนเป็น ใช้งานคนเป็นนั้น มันคนละเรื่องผู้บริหารหน้าที่หลักคือการบริหาร การใช้คน ฝึกคน สร้างคน วางแผน แก้ปัญหา ติดตาม สำหรับงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบการที่จะบริหารงานได้นั้น มันต้องบริหารคนเป็นด้วย มันต้องควบคู่กันไป เพราะงานมันจะลุล่วงและสำเร็จได้ มันต้องให้คนที่เป็นลูกน้องช่วยทำ ไม่ใช่ตัวเองทำเสียหมด คือถ้าทำเองได้หมดจะต้องมีลูกน้องไว้ทำไม ที่มีลูกน้องก็เพราะรู้ว่าปริมาณงานมันมากเกินกว่าที่ตัวเองจะทำได้หมดในเวลาที่กำหนดดังนั้นการที่ลูกน้องไม่สามารถช่วยทำงานได้มาก ก็แปลว่ายังไม่สามารถฝึกและสอนลูกน้องให้มีประสิทธิภาพได้เพียงพอ อาจจะสอนไม่เป็น ถ่ายทอดไม่เป็น อดทนไม่พอ หรือไม่มีความตั้งใจจริงที่จะสอนมากกว่าคือเรื่องแบบนี้มันไม่ใช่คนที่ทำงานเก่งจะแปลว่าสอนคนอื่นได้ หรือถ่ายทอดเก่งนะ ก็ดูกันง่ายๆ อย่างอาชีพครูนั่นไง คนจะเป็นครูได้ต้องเรียนจบครูมา ร่ำเรียนทางด้านการถ่าย ทอดการสอนมาโดยตรง แต่ปรากฏว่านักเรียนนักศึกษาเรียนไม่รู้เรื่อง ต้องหาที่เรียนกวดวิชาหรือหาคนติวให้ มันแปลว่าอะไรล่ะแปลว่า ความสามารถในการถ่ายทอดของครูที่เปิดกวดวิชาดีกว่าใช่ไหม มันเป็นความสามารถพิเศษของแต่ละคน มันไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับคนที่เป็นนาย เป็นผู้บริหาร เก่งเรื่องงานก็ไม่ได้แปลว่าเก่งเรื่องคนอาการของคนเก่งเรื่องงานแต่ไม่เก่งเรื่องคนก็จะเป็นแบบนี้ล่ะ คืองานท่วมหัวหนักหนาอยู่คนเดียว ไม่สามารถหามือรอง หรือสร้างลูกน้องขึ้นมาให้รับโหลดงานได้มากไปกว่าการแค่เป็นลูกมือเท่านั้นหากงานสูงกว่านี้ มากกว่านี้ จะทำคนเดียวหมดได้ยังไง เพราะเงื่อนไขเวลามันจะจำกัด หากเป็นผู้บริหารระดับกลางๆ การจะขึ้นได้สูงมันก็คงจะลำบาก เพราะขืนขึ้นไปใครจะรับผิดชอบงานที่ทำอยู่ เพราะลูกน้องทำไม่เป็น รับช่วงไม่ได้ ผู้ใหญ่เขาก็คงต้องเอาไว้ที่เดิม ขืนขยับเดี๋ยวงานเสียและหากเป็นเจ้าของเอง ธุรกิจมันก็คงขยายไม่ออก เพราะเถ้าแก่ขยับไม่ออกแล้ว แค่นี้งานก็ล้นมือ เพราะลูกน้องมันช่วยอะไรไม่ได้มากพอจะสรุปได้ว่า ทำงานเก่งแต่ยังไม่ฉลาดพอในการทำงาน คือเวิร์กฮาร์ดก็จริง แต่เวิร์กไม่สมาร์ต""จะเวิร์กให้สมาร์ตต้องทำยังไง ?""ฝึกคน สอนคน สร้างคนให้ได้สิ""จะเอาช่วงไหน จังหวะไหน เวลาไหน ไปฝึกไปสอนล่ะ ในเมื่อตอนนี้มันก็เต็มสูบอยู่แล้ว ขืนหันมาทำอย่างว่า งานจะยิ่งเสียหายเข้าไปใหญ่""ไอ้เรื่องการฝึกการสอนลูกน้องน่ะ เขาใช้วิธีทำไปสอนไปฝึกไปแบบออนจ๊อบเทรนนิ่งนั่นแหละ แต่ข้อสำคัญเราต้องมีแท็กติกและกุศโลบายในการสอน มันต้องค่อยเป็นค่อยไป เอาง่ายๆ ทำให้รับผิดชอบก่อน ทำได้ก็ค่อยเพิ่มระดับให้มันยากขึ้น"ก่อนให้งานมันก็ต้องทำให้เขาเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งเสียก่อน มันอยู่ที่การบรีฟงาน ทำให้เขาเห็นภาพและเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เขารู้ที่มาที่ไปและเหตุผลต่างๆ หรือไม่ ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการไหม อาจจะให้วิธีการขั้นตอนหนึ่งสองสามไปก่อนในช่วงแรกๆ พอมันเวิร์ก ก็อาจเริ่มให้เขาใช้ความคิดของเขาเองเพิ่มขึ้นๆ โดยบรีฟงานให้สั้นลง กระชับขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ใช้ความคิดและวิจารณญาณเพิ่มขึ้น ค่อยๆปล่อยให้เขาได้ตัดสินใจเองบ้างทีแรกๆ ก็ถามว่า เขาคิดว่ายังไง งานนี้จะทำแบบไหน เริ่มตรงไหนอย่างไร เจอปัญหาแล้วจะหาทางแก้แบบไหน ให้เขาออกความคิดเห็น อันไหนเห็นเข้าท่าก็ปล่อยเขาตัดสินใจไป อันไหนยังไม่ถูกต้องนัก ก็ลองให้ข้อสังเกต อย่าไปคิดไปสั่งเขาทุกขั้นตอน ค่อยๆ สร้างความเชื่อมั่นในตัวเขาขึ้นมาบางเรื่องผลมันอาจออกมาไม่ได้อย่างที่เราต้องการเสียทีเดียว มันต้องทำใจบ้าง ยอมพลาด ยอมเสียบ้าง มันก็เหมือนกับการลงทุนนั่นแหละ กว่าจะได้มันก็ต้องมีเสียบ้าง แต่มันจะคุ้มค่าในภายหลัง เมื่อลูกน้องสามารถรับงานเป็นชิ้นๆ เป็นเรื่องๆ ไปได้ยิ่งฝึกลูกน้อง สร้างลูกน้องขึ้นมาได้มากเท่าไหร่ งานในมือก็จะลดลงไปมากเท่านั้น เวลาจะมีมากขึ้นที่จะเอามานั่งคิดวิธีพัฒนาอะไรๆ ให้มันดีขึ้น มองอะไร ศึกษาอะไร ได้กว้างขึ้นลึกซึ้งขึ้น และจะสามารถรับงานได้เพิ่มขึ้นอีกแบบนี้แหละเขาถึงจะเรียกว่าเวิร์กฮาร์ดและเวิร์กสมาร์ต
เทคนิคการพัฒนาศักยภาพตนเอง :
การบริหารธุรกิจชีวิตสู่ความสำเร็จ
ผมมีความเชื่อว่าการดำเนินชีวิตคือการบริหารธุรกิจประเภทหนึ่งที่เป้าหมายสุดท้ายคือกำไร กำไรในที่นี้มิได้หมายถึงเงิน แต่หมายถึง “ความสำเร็จ” ดังนั้น ถ้าเป้าหมายของธุรกิจชีวิตเราคือความสำเร็จ เราคงต้องเริ่มบริหารชีวิตอย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น คนหลายคนสูญเสียเวลาแห่งชีวิตไปกับเรื่องที่ไร้สาระ ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปกับเข็มนาฬิกา ปล่อยให้โอกาสล่องลอยไปกับสายลมและแสงแดด คนหลายคนมีคำว่า “เสียดาย” อยู่เต็มหัว เพราะมารู้สึกตัวในเรื่องต่างๆ หรือคิดได้ก็สายไปเสียแล้ว กว่าจะรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ก็เจ็บป่วยไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าครอบครัวสำคัญก็มีปัญหาครอบครัวแตกแยกไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าความสามารถยังไม่ถึงก็ต่อเมื่อโอกาสดีผ่านไปแล้ว
เพื่อให้ชีวิตมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิตคือความสำเร็จ เราคงต้องมีการบริหารชีวิตตามแนวทางการบริหารธุรกิจชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราไม่ได้ละเลย หลงลืม หรือแกล้งลืมทำบางสิ่งบางอย่างในชีวิตในเวลาที่ควรจะทำ พูดง่ายๆก็คือ ป้องกันคำว่า “เสียดาย” อย่าให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราเลย ผมจึงขอแนะนำแนวทางในการบริหารธุรกิจชีวิตดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิต (Life Vision)
เราต้องกำหนดเป้าหมายสูงสุดในชีวิตให้ชัดเจนว่าเราต้องการความสำเร็จอะไร เมื่อไหร่ เช่น ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเมื่ออายุ 35 ปี ต้องการเป็นนักการเมืองเมื่ออายุ 40 ปี หรือต้องการมีเงินเก็บสัก 10-20 ล้าน ภายใน 10 ปี ฯลฯ คนหลายคนมักจะบอกว่าไม่รู้จะกำหนดเป้าหมายชีวิตได้อย่างไร จะเริ่มต้นที่ไหน ผมขอแนะนำว่าการกำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตสามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะคือก) กำหนดจากความฝันของเราเอง ความฝันของเราอาจจะเกิดจากแรงดลใจบางอย่างในชีวิต หรือเกิดจากความยากลำบากในชีวิต เช่น บางคนฝันอยากทำงานมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็ก เพราะเคยเป็นเด็กกำพร้ามาก่อนข) กำหนดแบบอย่างความสำเร็จของผู้อื่น โดยเราอาจเลือกคนมาเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ให้กับตัวเอง หรืออาจจะกำหนดความสำเร็จของคนหลายคนรวมกันก็ได้ เช่น เราอยากเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จเหมือนนักเขียนบางคน หรือเราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเหมือนเจ้าของธุรกิจบางคนที่ประสบความสำเร็จวิสัยทัศน์ของชีวิตเปรียบเสมือนดวงดาวบนท้องฟ้าที่ถึงแม้จะอยู่ห่างไกล แต่ก็สามารถสร้างพลังแสงสว่างให้กับเราได้ ในขณะเดียวกันวิสัยทัศน์ก็เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำพาชีวิตเราไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลาหลงทาง คนที่กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตได้ชัดเจนย่อมได้เปรียบคนอื่นอย่างแน่นอน เพราะในแต่ละย่างก้าวของชีวิตย่อมเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมาย และคงไม่ปล่อยให้ชีวิตก้าวออกนอกเส้นทางไปสู่เป้าหมายอย่างเด็ดขาด
2. วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT Analysis)
เมื่อเรามีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องกลับมาวิเคราะห์ตัวเราเองว่าชีวิตเราส่วนไหนบ้างที่เป็นจุดแข็งจะสามารถนำพาเราไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ได้ มีจุดไหนบ้างที่เรายังต้องพิจารณาปรับปรุงเพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ค้าขายกับต่างประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก จุดแข็ง (Strengths) ของเราก็คือเรามีเงินลงทุนเพียงพอ เคยทำธุรกิจครอบครัวมาก่อน แต่จุดอ่อน (Weaknesses) ของเราคือ เราใช้ภาษาต่างประเทศไม่เก่งหรือไม่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมของคนต่างชาติ
ในขณะเดียวกันเราก็คงจะต้องวิเคราะห์ว่าชีวิตของเรามีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้ออำนวย (Opportunities) และเป็นอุปสรรค (Threats) ในการเดินทางไปสู่จุดหมาย เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าช่วยให้เราสามารถขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตได้ แต่เราจะต้องประสบกับปัญหาการกีดกันทางการค้าจากประเทศตะวันตกโดยเงื่อนไขทางการค้าหรือมาตรฐานสากลประเภทต่างๆ
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและปัญหาอุปสรรคในชีวิตนั้น จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง ยอมรับจุดบกพร่องของตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาให้ถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตได้ ถ้าวิสัยทัศน์ของชีวิตคือ การเดินทางไปเชียงใหม่โดยรถยนต์ภายในเวลา 10 ชั่วโมง การวิเคราะห์ SWOT ของชีวิตก็เปรียบเสมือนการตรวจสภาพของรถยนต์ว่าสามารถวิ่งทางไกลได้หรือไม่ เครื่องร้อนเร็วหรือช้า ทำความเร็วได้กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งขึ้นเขาได้หรือไม่ มีส่วนไหนของรถที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างทางได้บ้าง รวมถึงการวิเคราะห์ว่าเส้นทางที่เราไปนั้นมีบ้านคนมากหรือไม่ มีปั๊มน้ำมันมากหรือน้อย โอกาสที่ฝนจะตกมีมากหรือไม่
3. กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors)
การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหมายถึง การกำหนดว่าอะไรคือตัวที่สำคัญที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ปัจจัยสู่ความสำเร็จอาจจะประกอบด้วย
เงินลงทุน เพราะถ้าเราไม่มีเงินเราคงเป็นเจ้าของกิจการไม่ได้
ความรู้ด้านการจัดการ เราในฐานะเจ้าของกิจการจะต้องมีความรู้ในธุรกิจนั้นๆ เพียงพอ
ลูกค้า เราต้องมีกลุ่มลูกค้าที่สนับสนุนสินค้าหรือบริการของเรา
บุคลากร ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการทำงานให้กับเรา
เทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขัน
แต่ถ้าเป้าหมายชีวิตของเราคือ การเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ
ความรู้ เพราะถ้าขาดความรู้คงไม่สามารถเขียนหนังสือหรือบทความได้
เทคนิคการเขียน เป็นศิลปะการเขียนที่มีเอกลักษณ์ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับสิ่งที่เขียน
ผู้อ่าน เป็นผู้ที่บ่งบอกว่างานเขียนของเราประสบความสำเร็จหรือไม่
ประสบการณ์ คือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราก้าวไปสู่เส้นทางนักเขียน
เราจะเห็นว่าการมีวิสัยทัศน์เป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จนั้น ถึงแม้เงินลงทุนจะมีความจำเป็นแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ ไม่เหมือนกับการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ดังนั้น การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จในชีวิตนี้จะช่วยให้เรามองเห็นความในชีวิตนี้เราจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งใดมาก ให้ความสำคัญกับสิ่งใดน้อย จะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิตได้อย่างดียิ่งขึ้น เราจะเห็นว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักกีฬาส่วนมากต้องประกอบด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จประเภทนี้ ในขณะที่ความสำคัญอันดับแรกๆของคนที่เป็นนักเขียนคือการแสวงหาความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
4. กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Aim)
เมื่อทราบเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองแล้ว ก็ต้องเริ่มกำหนดเป้าหมายในเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าต้องการเป็นเจ้าของกิจการ เราจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเรามีเงินทุนเพียง 5 แสนบาท เราหลือเวลาอีก 5 ปีในการหาเงินทุนให้ครบ ดังนั้น เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในแง่ของเงินทุนเราคือ 5 แสนบาทภายใน 5 ปี
การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ให้กับชีวิตในแต่ละด้าน จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นว่าปัจจัยตัวไหนที่ยังอยู่ห่างจากเป้าหมาย ปัจจัยตัวไหนที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของการไปสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น เป้าหมายทางด้านเงินทุนไม่ค่อยยากนักเพราะมีเวลาเก็บเงินอีกหลายปี แต่เป้าหมายทางด้านความรู้และประสบการณ์ในการจัดการทางธุรกิจเราอาจจะยังห่างจากเป้าหมายอยู่มาก ดังนั้น พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเราก็จะต้องทุ่มเทเวลาในการหาความรู้และประสบการณ์มากกว่าการหาเงินทุน
5. กำหนดทางเลือก (Strategic Option)
ในแต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ย่อยๆ ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายด้านเงินทุน เป้าหมายด้านความรู้และประสบการณ์ เราจะต้องกำหนดทางเลือกขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับตัวเราให้มากที่สุด เช่น เป้าหมายย่อยทางด้านเงินทุน เราอาจจะกำหนดทางเลือกในการหาเงินลงทุนดังนี้
กู้เงินจากสถาบันการเงิน เงื่อนไขคือเราต้องมีหลักทรัพย์หรือการค้ำประกัน
กู้ยืมเงินจากญาติพี่น้อง เงื่อนไขคือญาติพี่น้องเรามีเงินหรือไม่ เขาไว้ใจเราหรือไม่
เก็บสะสมเงินด้วยตัวเอง เงื่อนไขคือต้องใช้เวลานาน
ระดมทุนจากหุ้นส่วน เงื่อนไขคือ กิจการนั้นต้องมีผู้ถือหุ้นหลายคน
คนหลายคนที่มักจะตายน้ำตื้นก็คือมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน วิเคราะห์ตัวเองดี มีการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ไว้อย่างดี แต่พอมาถึงการหาทางเลือกคิดไม่ออก ไม่สามารถหาทางเลือกให้กับตัวเองได้ เพราะคนส่วนมากมักจะคิดในเชิงลบ เช่น คงไม่ไปไม่ได้หรอกเพราะต้องลงทุนเป็นล้าน คงจะยากนะที่จะไปขอกู้เงินเพราะเราไม่มีหลักทรัพย์ คนประเภทนี้มักจะตัดสินความคิดของตัวเองด้วยตัวเอง ทั้งๆที่บางคนคิดอาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ถ้าเราได้ลองลงมือทำจริงๆ เราต้องทดลองทำก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าใช่หรือไม่ใช่
เราคงเคยได้รับทราบประวัติของเจ้าของธุรกิจบางคนที่เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีเงิน แต่มีความพยายาม มีความขยัน มีความสุจริต มีน้ำใจ วันหนึ่งสิ่งใดๆที่เขาเคยทำในอดีตอาจจะส่งผลต่อการแสวงหาทางเลือกของเขาได้ เช่น มีชายคนหนึ่งยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เดินไปขอกู้เงินที่ไหนก็ไม่มีใครให้เพราะไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย จนมาวันหนึ่งเขาเดินไปขอกู้เงินที่ธนาคารๆหนึ่ง พอเข้าไปคุยกับผู้จัดการแล้ว ผู้จัดการท่านนั้นไม่ได้ให้เขากู้เงิน ธนาคารหรอก แต่ให้เขากู้เงินส่วนตัวของเขาเอง เพราะเมื่อหลายปีก่อนผู้จัดการธนาคารผู้นี้เคยประสบอุบัติเหตุเกือบเอาชีวิตไม่รอด ถ้าไม่ได้ชายคนนี้ช่วยเหลือไว้
จากเรื่องนี้ผมอยากให้ทุกคนคิดอยู่เสมอว่าทุกเส้นทางที่เราต้องการจะไปถึงนั้น มีทางออกอยู่เสมอ เพียงแต่ทางออกสำหรับชีวิตของเราเองอาจจะแตกต่างจากคนทั่วไป อาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเบื้องหน้าและเบื้องหลังชีวิตของคนแต่ละคน จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าไม่ใช่คนทุกคนจะได้รับเงินกู้จากผู้จัดการธนาคารคนนี้ บางคนอาจจะได้รับเงินกู้จากภรรยาผู้จัดการธนาคาร บางคนอาจจะได้รับเงินให้เปล่าจากคนบางคน บางคนอาจจะได้คนมาร่วมลงทุนก็เป็นไปได้ ดังนั้นจะขอให้ทุกคนเชื่อว่า “ทุกปัญหามีทางออกเสมอ” แต่จะต่างกันตรงที่มีความยากง่าย เร็วหรือช้าเท่านั้น
6. กำหนดแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
เมื่อเราได้เลือกทางเลือกเชิงกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ไปแล้ว เช่น เราจะหาเงินได้โดยการเก็บออมด้วยตนเอง เราจะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาต่อปริญญาโทการบริหารธุรกิจ เราจะหาประสบการณ์โดยเข้าไปทำงานกับธุรกิจครอบครัวที่เป็นมืออาชีพ เราจะอ่านหนังสือด้านการทำธุรกิจแบบมืออาชีพให้มากขึ้น เราต้องนำเอากลยุทธ์ในแต่ละด้านมาจัดทำเป็นแผนเชิงกลยุทธ์ว่าในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เราจะทำอะไรก่อนหลัง อะไรที่ทำควบคู่กันไปได้ พูดง่ายๆก็คือการเอาสิ่งต่างๆมาจัดทำตารางการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร นั่นเอง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในเรื่องของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของชีวิตคือ ต้องมีแผนสำรอง (Contingency Plan) กรณีที่แผนที่วางไว้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
7. นำไปปฏิบัติตามวงจร PDCA
เมื่อเรากำหนดแผนงานชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว (Plan) จึงจะลงมือนำไปปฏิบัติจริง (Do) จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ ว่าสิ่งที่ได้ลงมือทำไปนั้นเป็นไปตามแผนและเป้าหมายหรือไม่ (Check) หลังจากนั้นถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย (Action) ซึ่งเราจะต้องคำนึงถึงวงจรนี้อยู่ตลอดเวลา วงจร PDCA นี้ใช้ได้ทั้งวงจรของแผนใหญ่ของชีวิตและแผนสนับสนุนย่อยๆ เช่น แผนด้านการเงินก็ต้องใช้ PDCA แผนด้านการหาความรู้เพิ่มเติมก็ต้องใช้วงจร PDCA เช่นเดียวกัน
จากแนวทางดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะสามารถจุดประกายให้ท่านผู้อ่านได้ลองหยุดคิดพิจารณาดูนิดหนึ่งว่าชีวิตของเราได้ถูกกำหนดไว้เป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอนหรือไม่ ทำไมเราจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ของชีวิตได้ เป็นเพราะเราวางแผนธุรกิจชีวิตไว้ก่อนล่วงหน้าดี หรือเพราะดวงชะตาฟ้าลิขิต หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ แล้วช่วงเวลาแห่งชีวิตที่ยังเหลืออยู่ เราจะยังคงใช้วิธีการเดิมๆเดินไปสู่จุดหมายหรือเราจะต้องกำหนดแผนกลยุทธ์ชีวิตเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่จำเป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เราต้องเชื่อมั่นเสมอว่าผู้ที่วางแผนชีวิตได้ดีกว่า ย่อมมีโอกาสไปสู่เส้นชัยเหนือคนอื่นมากกว่าอย่างแน่นอน
ผมมีความเชื่อว่าการดำเนินชีวิตคือการบริหารธุรกิจประเภทหนึ่งที่เป้าหมายสุดท้ายคือกำไร กำไรในที่นี้มิได้หมายถึงเงิน แต่หมายถึง “ความสำเร็จ” ดังนั้น ถ้าเป้าหมายของธุรกิจชีวิตเราคือความสำเร็จ เราคงต้องเริ่มบริหารชีวิตอย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น คนหลายคนสูญเสียเวลาแห่งชีวิตไปกับเรื่องที่ไร้สาระ ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปกับเข็มนาฬิกา ปล่อยให้โอกาสล่องลอยไปกับสายลมและแสงแดด คนหลายคนมีคำว่า “เสียดาย” อยู่เต็มหัว เพราะมารู้สึกตัวในเรื่องต่างๆ หรือคิดได้ก็สายไปเสียแล้ว กว่าจะรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ก็เจ็บป่วยไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าครอบครัวสำคัญก็มีปัญหาครอบครัวแตกแยกไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะรู้ว่าความสามารถยังไม่ถึงก็ต่อเมื่อโอกาสดีผ่านไปแล้ว
เพื่อให้ชีวิตมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิตคือความสำเร็จ เราคงต้องมีการบริหารชีวิตตามแนวทางการบริหารธุรกิจชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราไม่ได้ละเลย หลงลืม หรือแกล้งลืมทำบางสิ่งบางอย่างในชีวิตในเวลาที่ควรจะทำ พูดง่ายๆก็คือ ป้องกันคำว่า “เสียดาย” อย่าให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราเลย ผมจึงขอแนะนำแนวทางในการบริหารธุรกิจชีวิตดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิต (Life Vision)
เราต้องกำหนดเป้าหมายสูงสุดในชีวิตให้ชัดเจนว่าเราต้องการความสำเร็จอะไร เมื่อไหร่ เช่น ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเมื่ออายุ 35 ปี ต้องการเป็นนักการเมืองเมื่ออายุ 40 ปี หรือต้องการมีเงินเก็บสัก 10-20 ล้าน ภายใน 10 ปี ฯลฯ คนหลายคนมักจะบอกว่าไม่รู้จะกำหนดเป้าหมายชีวิตได้อย่างไร จะเริ่มต้นที่ไหน ผมขอแนะนำว่าการกำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตสามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะคือก) กำหนดจากความฝันของเราเอง ความฝันของเราอาจจะเกิดจากแรงดลใจบางอย่างในชีวิต หรือเกิดจากความยากลำบากในชีวิต เช่น บางคนฝันอยากทำงานมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็ก เพราะเคยเป็นเด็กกำพร้ามาก่อนข) กำหนดแบบอย่างความสำเร็จของผู้อื่น โดยเราอาจเลือกคนมาเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ให้กับตัวเอง หรืออาจจะกำหนดความสำเร็จของคนหลายคนรวมกันก็ได้ เช่น เราอยากเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จเหมือนนักเขียนบางคน หรือเราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเหมือนเจ้าของธุรกิจบางคนที่ประสบความสำเร็จวิสัยทัศน์ของชีวิตเปรียบเสมือนดวงดาวบนท้องฟ้าที่ถึงแม้จะอยู่ห่างไกล แต่ก็สามารถสร้างพลังแสงสว่างให้กับเราได้ ในขณะเดียวกันวิสัยทัศน์ก็เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำพาชีวิตเราไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลาหลงทาง คนที่กำหนดวิสัยทัศน์ของชีวิตได้ชัดเจนย่อมได้เปรียบคนอื่นอย่างแน่นอน เพราะในแต่ละย่างก้าวของชีวิตย่อมเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมาย และคงไม่ปล่อยให้ชีวิตก้าวออกนอกเส้นทางไปสู่เป้าหมายอย่างเด็ดขาด
2. วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT Analysis)
เมื่อเรามีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องกลับมาวิเคราะห์ตัวเราเองว่าชีวิตเราส่วนไหนบ้างที่เป็นจุดแข็งจะสามารถนำพาเราไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ได้ มีจุดไหนบ้างที่เรายังต้องพิจารณาปรับปรุงเพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ค้าขายกับต่างประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก จุดแข็ง (Strengths) ของเราก็คือเรามีเงินลงทุนเพียงพอ เคยทำธุรกิจครอบครัวมาก่อน แต่จุดอ่อน (Weaknesses) ของเราคือ เราใช้ภาษาต่างประเทศไม่เก่งหรือไม่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมของคนต่างชาติ
ในขณะเดียวกันเราก็คงจะต้องวิเคราะห์ว่าชีวิตของเรามีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้ออำนวย (Opportunities) และเป็นอุปสรรค (Threats) ในการเดินทางไปสู่จุดหมาย เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าช่วยให้เราสามารถขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตได้ แต่เราจะต้องประสบกับปัญหาการกีดกันทางการค้าจากประเทศตะวันตกโดยเงื่อนไขทางการค้าหรือมาตรฐานสากลประเภทต่างๆ
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและปัญหาอุปสรรคในชีวิตนั้น จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง ยอมรับจุดบกพร่องของตัวเอง และพร้อมที่จะพัฒนาให้ถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตได้ ถ้าวิสัยทัศน์ของชีวิตคือ การเดินทางไปเชียงใหม่โดยรถยนต์ภายในเวลา 10 ชั่วโมง การวิเคราะห์ SWOT ของชีวิตก็เปรียบเสมือนการตรวจสภาพของรถยนต์ว่าสามารถวิ่งทางไกลได้หรือไม่ เครื่องร้อนเร็วหรือช้า ทำความเร็วได้กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งขึ้นเขาได้หรือไม่ มีส่วนไหนของรถที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างทางได้บ้าง รวมถึงการวิเคราะห์ว่าเส้นทางที่เราไปนั้นมีบ้านคนมากหรือไม่ มีปั๊มน้ำมันมากหรือน้อย โอกาสที่ฝนจะตกมีมากหรือไม่
3. กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors)
การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหมายถึง การกำหนดว่าอะไรคือตัวที่สำคัญที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ เช่น เราต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ปัจจัยสู่ความสำเร็จอาจจะประกอบด้วย
เงินลงทุน เพราะถ้าเราไม่มีเงินเราคงเป็นเจ้าของกิจการไม่ได้
ความรู้ด้านการจัดการ เราในฐานะเจ้าของกิจการจะต้องมีความรู้ในธุรกิจนั้นๆ เพียงพอ
ลูกค้า เราต้องมีกลุ่มลูกค้าที่สนับสนุนสินค้าหรือบริการของเรา
บุคลากร ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการทำงานให้กับเรา
เทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขัน
แต่ถ้าเป้าหมายชีวิตของเราคือ การเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ
ความรู้ เพราะถ้าขาดความรู้คงไม่สามารถเขียนหนังสือหรือบทความได้
เทคนิคการเขียน เป็นศิลปะการเขียนที่มีเอกลักษณ์ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับสิ่งที่เขียน
ผู้อ่าน เป็นผู้ที่บ่งบอกว่างานเขียนของเราประสบความสำเร็จหรือไม่
ประสบการณ์ คือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราก้าวไปสู่เส้นทางนักเขียน
เราจะเห็นว่าการมีวิสัยทัศน์เป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จนั้น ถึงแม้เงินลงทุนจะมีความจำเป็นแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ ไม่เหมือนกับการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ดังนั้น การกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จในชีวิตนี้จะช่วยให้เรามองเห็นความในชีวิตนี้เราจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งใดมาก ให้ความสำคัญกับสิ่งใดน้อย จะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิตได้อย่างดียิ่งขึ้น เราจะเห็นว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักกีฬาส่วนมากต้องประกอบด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จประเภทนี้ ในขณะที่ความสำคัญอันดับแรกๆของคนที่เป็นนักเขียนคือการแสวงหาความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
4. กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Aim)
เมื่อทราบเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองแล้ว ก็ต้องเริ่มกำหนดเป้าหมายในเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าต้องการเป็นเจ้าของกิจการ เราจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเรามีเงินทุนเพียง 5 แสนบาท เราหลือเวลาอีก 5 ปีในการหาเงินทุนให้ครบ ดังนั้น เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในแง่ของเงินทุนเราคือ 5 แสนบาทภายใน 5 ปี
การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ให้กับชีวิตในแต่ละด้าน จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นว่าปัจจัยตัวไหนที่ยังอยู่ห่างจากเป้าหมาย ปัจจัยตัวไหนที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของการไปสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น เป้าหมายทางด้านเงินทุนไม่ค่อยยากนักเพราะมีเวลาเก็บเงินอีกหลายปี แต่เป้าหมายทางด้านความรู้และประสบการณ์ในการจัดการทางธุรกิจเราอาจจะยังห่างจากเป้าหมายอยู่มาก ดังนั้น พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเราก็จะต้องทุ่มเทเวลาในการหาความรู้และประสบการณ์มากกว่าการหาเงินทุน
5. กำหนดทางเลือก (Strategic Option)
ในแต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ย่อยๆ ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายด้านเงินทุน เป้าหมายด้านความรู้และประสบการณ์ เราจะต้องกำหนดทางเลือกขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับตัวเราให้มากที่สุด เช่น เป้าหมายย่อยทางด้านเงินทุน เราอาจจะกำหนดทางเลือกในการหาเงินลงทุนดังนี้
กู้เงินจากสถาบันการเงิน เงื่อนไขคือเราต้องมีหลักทรัพย์หรือการค้ำประกัน
กู้ยืมเงินจากญาติพี่น้อง เงื่อนไขคือญาติพี่น้องเรามีเงินหรือไม่ เขาไว้ใจเราหรือไม่
เก็บสะสมเงินด้วยตัวเอง เงื่อนไขคือต้องใช้เวลานาน
ระดมทุนจากหุ้นส่วน เงื่อนไขคือ กิจการนั้นต้องมีผู้ถือหุ้นหลายคน
คนหลายคนที่มักจะตายน้ำตื้นก็คือมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน วิเคราะห์ตัวเองดี มีการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ไว้อย่างดี แต่พอมาถึงการหาทางเลือกคิดไม่ออก ไม่สามารถหาทางเลือกให้กับตัวเองได้ เพราะคนส่วนมากมักจะคิดในเชิงลบ เช่น คงไม่ไปไม่ได้หรอกเพราะต้องลงทุนเป็นล้าน คงจะยากนะที่จะไปขอกู้เงินเพราะเราไม่มีหลักทรัพย์ คนประเภทนี้มักจะตัดสินความคิดของตัวเองด้วยตัวเอง ทั้งๆที่บางคนคิดอาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ถ้าเราได้ลองลงมือทำจริงๆ เราต้องทดลองทำก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าใช่หรือไม่ใช่
เราคงเคยได้รับทราบประวัติของเจ้าของธุรกิจบางคนที่เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีเงิน แต่มีความพยายาม มีความขยัน มีความสุจริต มีน้ำใจ วันหนึ่งสิ่งใดๆที่เขาเคยทำในอดีตอาจจะส่งผลต่อการแสวงหาทางเลือกของเขาได้ เช่น มีชายคนหนึ่งยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เดินไปขอกู้เงินที่ไหนก็ไม่มีใครให้เพราะไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย จนมาวันหนึ่งเขาเดินไปขอกู้เงินที่ธนาคารๆหนึ่ง พอเข้าไปคุยกับผู้จัดการแล้ว ผู้จัดการท่านนั้นไม่ได้ให้เขากู้เงิน ธนาคารหรอก แต่ให้เขากู้เงินส่วนตัวของเขาเอง เพราะเมื่อหลายปีก่อนผู้จัดการธนาคารผู้นี้เคยประสบอุบัติเหตุเกือบเอาชีวิตไม่รอด ถ้าไม่ได้ชายคนนี้ช่วยเหลือไว้
จากเรื่องนี้ผมอยากให้ทุกคนคิดอยู่เสมอว่าทุกเส้นทางที่เราต้องการจะไปถึงนั้น มีทางออกอยู่เสมอ เพียงแต่ทางออกสำหรับชีวิตของเราเองอาจจะแตกต่างจากคนทั่วไป อาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเบื้องหน้าและเบื้องหลังชีวิตของคนแต่ละคน จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าไม่ใช่คนทุกคนจะได้รับเงินกู้จากผู้จัดการธนาคารคนนี้ บางคนอาจจะได้รับเงินกู้จากภรรยาผู้จัดการธนาคาร บางคนอาจจะได้รับเงินให้เปล่าจากคนบางคน บางคนอาจจะได้คนมาร่วมลงทุนก็เป็นไปได้ ดังนั้นจะขอให้ทุกคนเชื่อว่า “ทุกปัญหามีทางออกเสมอ” แต่จะต่างกันตรงที่มีความยากง่าย เร็วหรือช้าเท่านั้น
6. กำหนดแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
เมื่อเราได้เลือกทางเลือกเชิงกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ไปแล้ว เช่น เราจะหาเงินได้โดยการเก็บออมด้วยตนเอง เราจะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาต่อปริญญาโทการบริหารธุรกิจ เราจะหาประสบการณ์โดยเข้าไปทำงานกับธุรกิจครอบครัวที่เป็นมืออาชีพ เราจะอ่านหนังสือด้านการทำธุรกิจแบบมืออาชีพให้มากขึ้น เราต้องนำเอากลยุทธ์ในแต่ละด้านมาจัดทำเป็นแผนเชิงกลยุทธ์ว่าในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เราจะทำอะไรก่อนหลัง อะไรที่ทำควบคู่กันไปได้ พูดง่ายๆก็คือการเอาสิ่งต่างๆมาจัดทำตารางการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร นั่นเอง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในเรื่องของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของชีวิตคือ ต้องมีแผนสำรอง (Contingency Plan) กรณีที่แผนที่วางไว้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
7. นำไปปฏิบัติตามวงจร PDCA
เมื่อเรากำหนดแผนงานชีวิตไว้เรียบร้อยแล้ว (Plan) จึงจะลงมือนำไปปฏิบัติจริง (Do) จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ ว่าสิ่งที่ได้ลงมือทำไปนั้นเป็นไปตามแผนและเป้าหมายหรือไม่ (Check) หลังจากนั้นถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย (Action) ซึ่งเราจะต้องคำนึงถึงวงจรนี้อยู่ตลอดเวลา วงจร PDCA นี้ใช้ได้ทั้งวงจรของแผนใหญ่ของชีวิตและแผนสนับสนุนย่อยๆ เช่น แผนด้านการเงินก็ต้องใช้ PDCA แผนด้านการหาความรู้เพิ่มเติมก็ต้องใช้วงจร PDCA เช่นเดียวกัน
จากแนวทางดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะสามารถจุดประกายให้ท่านผู้อ่านได้ลองหยุดคิดพิจารณาดูนิดหนึ่งว่าชีวิตของเราได้ถูกกำหนดไว้เป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอนหรือไม่ ทำไมเราจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ของชีวิตได้ เป็นเพราะเราวางแผนธุรกิจชีวิตไว้ก่อนล่วงหน้าดี หรือเพราะดวงชะตาฟ้าลิขิต หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ แล้วช่วงเวลาแห่งชีวิตที่ยังเหลืออยู่ เราจะยังคงใช้วิธีการเดิมๆเดินไปสู่จุดหมายหรือเราจะต้องกำหนดแผนกลยุทธ์ชีวิตเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่จำเป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เราต้องเชื่อมั่นเสมอว่าผู้ที่วางแผนชีวิตได้ดีกว่า ย่อมมีโอกาสไปสู่เส้นชัยเหนือคนอื่นมากกว่าอย่างแน่นอน
7 อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ
สิ่งดี ๆ สำหรับทุกคน
กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ (7 ลับเลื่อยให้คม)
เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ชนะใจตน
1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ
ชนะใจผู้อื่น
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5.เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม
· นิสัยที่ 1 ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
“ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูด”
การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”
· สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
· Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
· การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
· แก่นสารของความอยู่รอด
· ทุกเช้าในแอฟริกา เมื่อกวางตื่นขึ้นมา มันต้องวิ่งให้เร็วกว่าสิงห์โตตัวที่วิ่งเร็วที่สุด มิฉะนั้น มันจะถูกกิน เช่นกัน เมื่อสิงห์โตตื่นขึ้นมามันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด อย่างน้อยต้องเร็วกว่า กวางตัวที่วิ่งช้าที่สุด มิฉะนั้น มันจะ อดตาย
· อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น
หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัว เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ
· ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
· อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็น
เป้าหมาย
· ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
1. Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
2. Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
3. Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
4. Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
5. Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)
นิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the end in mind)
· จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
· เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
· ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
· You are what you think.
· การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
· ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
· การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
· มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
· เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
· Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน
· จินตภาพ = Mind Map
· วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ
· ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้
· การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง
ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
· สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
· อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
· ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
นิสัยที่ 3 ลำดับความสำคัญก่อนหลัง
· ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ
1. คิดว่าจะทำอะไร
2. ทำอย่างไร
3. เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี
· ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร
DO
เอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุย รับประทานอาหาร
ร่วมกัน
นอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็ม
ออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
สงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
อ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาที
DON'T
ดูละครโทรทัศน์จนดึก
ผลัดวันประกันพรุ่ง
ทะเลาะกันในครอบครัว
เอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน
การฝาก (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้)
- ความเมตตากรุณาและสุภาพ
- รักษาสัญญา
- ทำตามความคาดหวัง
- ซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์
- กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณ
การถอน (สิ่งที่ควรเลิก)
- ความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆ
- ไม่รักษาสัญญา
- ทำลายความคาดหวัง
- ไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้า
- ยโส หลอกลวง และเย่อหยิ่ง
“You can’t talk your way out of problems you behaved yourself into.” (Stephen R. Covey)
“ท่านไม่สามารถพูดเพื่อพาตัวเองหนีอออกจากปัญหา หากท่านนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องโดยพฤติกรรมของท่านเอง”
(สตีเฟน อาร์ โควีย์)
Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity
นิสัยที่ 4 คิดชนะ-ชนะ
· หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง
· วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกและด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
· Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็นความสัมพันธ์ (Relationship)
· นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
1. Knowledge & Skill (What to, Why to)
2. Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
3. Desire = I want to (ความต้องการ)
· กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็นกรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
· กรอบความคิด (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ
· บุคคลเป็นผลผลิตของการเรียนรู้และประสบการณ์และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่มีบุคคลสองคนที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
· กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น
· คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
· การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
· ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจากการพัฒนาสิ่งที่ผิดให้ทำถูกและดีขึ้น
· ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
· ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
· การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
· กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
· การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
· กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
· ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
· Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
· ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
· Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”
· สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ
· คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่
· คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
· การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
· ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
· รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ
1. Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
2. Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
3. Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
4. Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
5. Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ
ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มอง
เห็นความชัดเจนของข้อมูล
การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส
ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งใน
ใจคนให้เป็น
เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมอง มากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี
· คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้
เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง
H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)
PRODUCTIVITY: IT MEANS WORKING SMARTER RATHER THAN HARDER
I RECOMMEND YOU TAKE CARE OF THE MINUTES FOR THE HOURS WILL TAKE CARE OF THEMSELVES.
TO EVERYTHING THERE IS A SEASON
AND A TIME FOR EVERY PURPOSE UNDER HEAVEN
A TIME TO BE BORN, A TIME TO BE DIE
A TIME TO PLANT, A TIME TO REAP
A TIME TO BREAK DOWN, AND A TIME TO BUILD
A TIME TO WEEP, A TIME TO LAUGH
A TIME TO MOURN, A TIME TO DANCE
A TIME TO KEEP SILENT, A TIME TO SPEAK.
YOU CANNOT BORROW TIME; YOU CANNOT HOARD IT
YOU CANNOT EVEN WORK HARD AND EARN MORE TIME
ALL YOU CAN DO IS INVEST THE TIME YOU HAVE.
· When geese fly in formation, they travel 70% faster than when they fly along. Geese share leadership when the lead goose tires, he (or she) rotates back into the “V,” and another, flies forward to become the leader. Geese keep company with the fallen.
· เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
· อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
· ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด
· ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People
( 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง) โดย Stephen R. Covey เรียบเรียงโดย คุณสงกรานต์ จิตสุทธิกากร
และคุณนิรันดร์ เกชาคุปต์
ขอให้เพื่อน ๆ และครอบครัวมีความสุข สดชื่น สมหวัง ตลอดไป ทั้งยังสามารถ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นบุคคลอันล้ำค่าของครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป และจะมีความรู้ใหม่ ๆ มาเล่าสู่กันฟังเรื่อย ๆ ค่ะ
ด้วยความปรารถนาดี
กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ (7 ลับเลื่อยให้คม)
เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ชนะใจตน
1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ
ชนะใจผู้อื่น
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5.เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม
· นิสัยที่ 1 ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
“ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูด”
การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”
· สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
· Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
· การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
· แก่นสารของความอยู่รอด
· ทุกเช้าในแอฟริกา เมื่อกวางตื่นขึ้นมา มันต้องวิ่งให้เร็วกว่าสิงห์โตตัวที่วิ่งเร็วที่สุด มิฉะนั้น มันจะถูกกิน เช่นกัน เมื่อสิงห์โตตื่นขึ้นมามันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด อย่างน้อยต้องเร็วกว่า กวางตัวที่วิ่งช้าที่สุด มิฉะนั้น มันจะ อดตาย
· อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น
หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัว เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ
· ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
· อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็น
เป้าหมาย
· ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
1. Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
2. Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
3. Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
4. Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
5. Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)
นิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the end in mind)
· จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
· เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
· ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
· You are what you think.
· การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
· ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
· การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
· มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
· เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
· Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน
· จินตภาพ = Mind Map
· วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ
· ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้
· การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง
ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
· สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
· อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
· ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
นิสัยที่ 3 ลำดับความสำคัญก่อนหลัง
· ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ
1. คิดว่าจะทำอะไร
2. ทำอย่างไร
3. เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี
· ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร
DO
เอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุย รับประทานอาหาร
ร่วมกัน
นอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็ม
ออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
สงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาที
อ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาที
DON'T
ดูละครโทรทัศน์จนดึก
ผลัดวันประกันพรุ่ง
ทะเลาะกันในครอบครัว
เอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน
การฝาก (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้)
- ความเมตตากรุณาและสุภาพ
- รักษาสัญญา
- ทำตามความคาดหวัง
- ซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์
- กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณ
การถอน (สิ่งที่ควรเลิก)
- ความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆ
- ไม่รักษาสัญญา
- ทำลายความคาดหวัง
- ไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้า
- ยโส หลอกลวง และเย่อหยิ่ง
“You can’t talk your way out of problems you behaved yourself into.” (Stephen R. Covey)
“ท่านไม่สามารถพูดเพื่อพาตัวเองหนีอออกจากปัญหา หากท่านนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องโดยพฤติกรรมของท่านเอง”
(สตีเฟน อาร์ โควีย์)
Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity
นิสัยที่ 4 คิดชนะ-ชนะ
· หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง
· วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกและด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
· Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็นความสัมพันธ์ (Relationship)
· นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
1. Knowledge & Skill (What to, Why to)
2. Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
3. Desire = I want to (ความต้องการ)
· กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็นกรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
· กรอบความคิด (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ
· บุคคลเป็นผลผลิตของการเรียนรู้และประสบการณ์และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่มีบุคคลสองคนที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
· กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น
· คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
· การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
· ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจากการพัฒนาสิ่งที่ผิดให้ทำถูกและดีขึ้น
· ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
· ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
· การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
· กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
· การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
· กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
· ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
· Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
· ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
· Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”
· สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ
· คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่
· คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
· การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
· ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
· รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ
1. Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
2. Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
3. Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
4. Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
5. Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ
ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มอง
เห็นความชัดเจนของข้อมูล
การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส
ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งใน
ใจคนให้เป็น
เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมอง มากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี
· คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้
เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง
H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)
PRODUCTIVITY: IT MEANS WORKING SMARTER RATHER THAN HARDER
I RECOMMEND YOU TAKE CARE OF THE MINUTES FOR THE HOURS WILL TAKE CARE OF THEMSELVES.
TO EVERYTHING THERE IS A SEASON
AND A TIME FOR EVERY PURPOSE UNDER HEAVEN
A TIME TO BE BORN, A TIME TO BE DIE
A TIME TO PLANT, A TIME TO REAP
A TIME TO BREAK DOWN, AND A TIME TO BUILD
A TIME TO WEEP, A TIME TO LAUGH
A TIME TO MOURN, A TIME TO DANCE
A TIME TO KEEP SILENT, A TIME TO SPEAK.
YOU CANNOT BORROW TIME; YOU CANNOT HOARD IT
YOU CANNOT EVEN WORK HARD AND EARN MORE TIME
ALL YOU CAN DO IS INVEST THE TIME YOU HAVE.
· When geese fly in formation, they travel 70% faster than when they fly along. Geese share leadership when the lead goose tires, he (or she) rotates back into the “V,” and another, flies forward to become the leader. Geese keep company with the fallen.
· เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
· อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
· ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด
· ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People
( 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง) โดย Stephen R. Covey เรียบเรียงโดย คุณสงกรานต์ จิตสุทธิกากร
และคุณนิรันดร์ เกชาคุปต์
ขอให้เพื่อน ๆ และครอบครัวมีความสุข สดชื่น สมหวัง ตลอดไป ทั้งยังสามารถ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นบุคคลอันล้ำค่าของครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป และจะมีความรู้ใหม่ ๆ มาเล่าสู่กันฟังเรื่อย ๆ ค่ะ
ด้วยความปรารถนาดี
การเจรจาต่อรอง
ท่านคิดว่าบุคลิกผู้นำแบบใดที่ช่วยสร้างความสามัคคีปรองดองในบ้านเมือง ? คมคิด : คนมักเยาะเย้ยกระทำบ้านเมืองให้ลุกเป็นไฟ แต่ปราชญ์แปรความโกรธเกรี้ยวไปเสีย
“สมศรี ไม่น่ารับงานนี้มาทำเลย” วรรณฤดีรู้สึกหงุดหงิด “กำไรก็ได้น้อย ลูกค้าก็จุกจิก เปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ เวลาก็เหลือน้อย จะทำทันมั้ยเนี่ย” หลังจากรับโทรจากลูกค้าที่โทรตามงานแทบทุกชั่วโมง
สมศรีได้แต่นิ่งเงียบ นึกในใจว่า “ฝ่ายขายก็น่าจะตั้งราคาให้สูงกว่านี้ จะมาว่าแต่จัดซื้อได้ยังไง” ขณะที่หัวหน้าฝ่ายขายไม่กล้าการรับโทรศัพท์จากลูกค้าเพราะกลัวถูกต่อว่า
“ยามมืดที่สุด ก็ใกล้สว่างที่สุดด้วย” ยุทธศักดิ์พูดบวก “แม้กำไรจะไม่มาก แต่ที่มากและไม่เคยหมดก็คือความตั้งใจทำงานของทุกคนเพื่อเห็นแก่บริษัทจะได้อยู่รอดในยามนี้” ทำให้สร้างขวัญกำลังใจและความสามัคคีปรองดองขึ้นในทันที
คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรียกร้องให้เรารู้จักเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และในยามนี้หมายถึงการสามัคคีปรองดองเพื่อเห็นแก่ความมั่นคงปลอดภัยของชาติเป็นจุดหมายสูงสุดดังพระราชดำรัสของในหลวง
ในทำนองเดียวกัน ความสามัคคีปรองดองในองค์กรจะมีเกิดขึ้นไม่ได้หากหัวหน้าปราศจากอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง (Emotional stability) อันเป็นหนึ่งใน Five-Factor Model ของบุคลิกภาพที่เอื้อต่อผลการปฏิบัติงาน (Performance) และศักยภาพแห่งภาวะผู้นำ (Leadership capabilities) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ผ่านงานวิจัยจำนวนมากตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบนี้ได้แก่ การเข้าสังคมได้ดี (Extraversion) การยืดหยุ่นเข้าใจคน (Agreeableness) การมีหลักการแบบแผน (Conscientiousness) การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ (Openness) และ ความหนักแน่นมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional stability)
หากปราศจากทักษะบริหารอารมณ์ซึ่งจะช่วยให้มีบุคลิกแห่งอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง แม้ผู้บริหารจะเก่งคิดวิเคราะห์ วางกลยุทธ์ได้อย่างแยบยล แต่เขาไม่อาจกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ (Great leader) วันนี้ท่านมีบุคลิกนี้มากน้อยเพียงใด มาสำรวจด้วยกัน
ท่านเป็นคนเจ้าอารมณ์หรือไม่ ?
ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ ในที่ทำงาน ท่านตอบสนองอย่างไร
ทักษะสื่อสารปรับความคาดหวัง (Communicating expectation) ช่วยท่านได้
(ทักษะเสริมได้แก่ ทักษะทบทวนตนเอง (Self dialogue), ทักษะฉันอยู่นี่ (Here & Now) ดูได้ใน www.oknation.net/blog/youthana
ทักษะนี้เป็นการปรึกษากันระหว่างเรากับลูกค้าหรือผู้เสียหายเกี่ยวกับสถานการณ์ผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกโดยปรับความคาดหวังที่มีต่อกันในเชิงบวก การไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ ยิ่งจะทำให้บุคคลรู้สึกผิดหวังและไม่พอใจ อันนำมาซึ่งความหงุดหงิดและอารมณ์โกรธ ดังนั้นการปรับความคาดหวังให้ตรงกันด้วยการสื่อสารที่เหมาะสมจะช่วยแก้ไขและลดอารมณ์รุนแรงต่อกันลงได้ ทักษะนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนต่อเนื่องกันดังโมเดลและคำอธิบายดังนี้
ขอยกกรณี สินค้าทำเสร็จล่าช้า ทำให้ส่งไม่ทันตามกำหนด และลูกค้าโทรมาตามตลอด
1.เริ่มต้นด้วยมิตรไมตรี เป็นการบอกถึงความตั้งใจดีที่ทั้งเราและลูกค้ามีร่วมกัน เช่น “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านให้ความไว้วางใจในการสั่งสินค้านี้กับทางบริษัท และตลอดเดือนที่ผ่านมาทางบริษัทเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้เสร็จทันตามกำหนด” ซึ่งจะช่วยสร้างความคิดความรู้สึกทางบวกตั้งแต่แรก
2.ขอโทษและบอกข้อจำกัด เป็นการกล่าวขอโทษในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจ และบอกถึงข้อจำกัดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยไม่ต้องกล่าวโทษใครแต่ให้พูดภาษาเชิงบวกที่มุ่งทางออก (Solution-focused language) เช่น "แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ (อาจระบุตามสมควร) ดิฉันกราบขออภัยท่านที่ส่งสินค้าไม่ได้ทันตามกำหนด ทางบริษัทจึงเร่งทำการทั้งกลางวันและกลางคืน" ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความรับผิดชอบของเรา
3.เสนอทางเลือก เป็นการขอคำปรึกษาและนำเสนอทางออก เพื่อให้ลูกค้าได้คิดไตร่ตรองและเลือกตามเห็นสมควร อันเป็นการตั้งความคาดหวังใหม่ให้ตรงกันและสมจริง เช่น "เพื่อสินค้าที่เหลือจะจัดส่งได้อย่างเหมาะสม ทางบริษัทจึงขอเรียนปรึกษาว่า ก)....ข)....ค)...ท่านคิดเห็นอย่างไร?" ซึ่งช่วยลดผลกระทบและป้องกันความผิดหวังซ้ำๆ ได้
"หัวหน้าพรรคคนใด ที่ขาดการรู้จักบังคับตน?
อาจนำมาซึ่งการแตกสามัคคีได้หรือไม่?"
“สมศรี ไม่น่ารับงานนี้มาทำเลย” วรรณฤดีรู้สึกหงุดหงิด “กำไรก็ได้น้อย ลูกค้าก็จุกจิก เปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ เวลาก็เหลือน้อย จะทำทันมั้ยเนี่ย” หลังจากรับโทรจากลูกค้าที่โทรตามงานแทบทุกชั่วโมง
สมศรีได้แต่นิ่งเงียบ นึกในใจว่า “ฝ่ายขายก็น่าจะตั้งราคาให้สูงกว่านี้ จะมาว่าแต่จัดซื้อได้ยังไง” ขณะที่หัวหน้าฝ่ายขายไม่กล้าการรับโทรศัพท์จากลูกค้าเพราะกลัวถูกต่อว่า
“ยามมืดที่สุด ก็ใกล้สว่างที่สุดด้วย” ยุทธศักดิ์พูดบวก “แม้กำไรจะไม่มาก แต่ที่มากและไม่เคยหมดก็คือความตั้งใจทำงานของทุกคนเพื่อเห็นแก่บริษัทจะได้อยู่รอดในยามนี้” ทำให้สร้างขวัญกำลังใจและความสามัคคีปรองดองขึ้นในทันที
คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรียกร้องให้เรารู้จักเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และในยามนี้หมายถึงการสามัคคีปรองดองเพื่อเห็นแก่ความมั่นคงปลอดภัยของชาติเป็นจุดหมายสูงสุดดังพระราชดำรัสของในหลวง
ในทำนองเดียวกัน ความสามัคคีปรองดองในองค์กรจะมีเกิดขึ้นไม่ได้หากหัวหน้าปราศจากอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง (Emotional stability) อันเป็นหนึ่งใน Five-Factor Model ของบุคลิกภาพที่เอื้อต่อผลการปฏิบัติงาน (Performance) และศักยภาพแห่งภาวะผู้นำ (Leadership capabilities) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ผ่านงานวิจัยจำนวนมากตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบนี้ได้แก่ การเข้าสังคมได้ดี (Extraversion) การยืดหยุ่นเข้าใจคน (Agreeableness) การมีหลักการแบบแผน (Conscientiousness) การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ (Openness) และ ความหนักแน่นมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional stability)
หากปราศจากทักษะบริหารอารมณ์ซึ่งจะช่วยให้มีบุคลิกแห่งอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง แม้ผู้บริหารจะเก่งคิดวิเคราะห์ วางกลยุทธ์ได้อย่างแยบยล แต่เขาไม่อาจกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ (Great leader) วันนี้ท่านมีบุคลิกนี้มากน้อยเพียงใด มาสำรวจด้วยกัน
ท่านเป็นคนเจ้าอารมณ์หรือไม่ ?
ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ ในที่ทำงาน ท่านตอบสนองอย่างไร
ทักษะสื่อสารปรับความคาดหวัง (Communicating expectation) ช่วยท่านได้
(ทักษะเสริมได้แก่ ทักษะทบทวนตนเอง (Self dialogue), ทักษะฉันอยู่นี่ (Here & Now) ดูได้ใน www.oknation.net/blog/youthana
ทักษะนี้เป็นการปรึกษากันระหว่างเรากับลูกค้าหรือผู้เสียหายเกี่ยวกับสถานการณ์ผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกโดยปรับความคาดหวังที่มีต่อกันในเชิงบวก การไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ ยิ่งจะทำให้บุคคลรู้สึกผิดหวังและไม่พอใจ อันนำมาซึ่งความหงุดหงิดและอารมณ์โกรธ ดังนั้นการปรับความคาดหวังให้ตรงกันด้วยการสื่อสารที่เหมาะสมจะช่วยแก้ไขและลดอารมณ์รุนแรงต่อกันลงได้ ทักษะนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนต่อเนื่องกันดังโมเดลและคำอธิบายดังนี้
ขอยกกรณี สินค้าทำเสร็จล่าช้า ทำให้ส่งไม่ทันตามกำหนด และลูกค้าโทรมาตามตลอด
1.เริ่มต้นด้วยมิตรไมตรี เป็นการบอกถึงความตั้งใจดีที่ทั้งเราและลูกค้ามีร่วมกัน เช่น “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านให้ความไว้วางใจในการสั่งสินค้านี้กับทางบริษัท และตลอดเดือนที่ผ่านมาทางบริษัทเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้เสร็จทันตามกำหนด” ซึ่งจะช่วยสร้างความคิดความรู้สึกทางบวกตั้งแต่แรก
2.ขอโทษและบอกข้อจำกัด เป็นการกล่าวขอโทษในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจ และบอกถึงข้อจำกัดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยไม่ต้องกล่าวโทษใครแต่ให้พูดภาษาเชิงบวกที่มุ่งทางออก (Solution-focused language) เช่น "แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ (อาจระบุตามสมควร) ดิฉันกราบขออภัยท่านที่ส่งสินค้าไม่ได้ทันตามกำหนด ทางบริษัทจึงเร่งทำการทั้งกลางวันและกลางคืน" ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความรับผิดชอบของเรา
3.เสนอทางเลือก เป็นการขอคำปรึกษาและนำเสนอทางออก เพื่อให้ลูกค้าได้คิดไตร่ตรองและเลือกตามเห็นสมควร อันเป็นการตั้งความคาดหวังใหม่ให้ตรงกันและสมจริง เช่น "เพื่อสินค้าที่เหลือจะจัดส่งได้อย่างเหมาะสม ทางบริษัทจึงขอเรียนปรึกษาว่า ก)....ข)....ค)...ท่านคิดเห็นอย่างไร?" ซึ่งช่วยลดผลกระทบและป้องกันความผิดหวังซ้ำๆ ได้
"หัวหน้าพรรคคนใด ที่ขาดการรู้จักบังคับตน?
อาจนำมาซึ่งการแตกสามัคคีได้หรือไม่?"
องค์กรหัวกะทิ
ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเมืองที่เราคนไทยได้สัมผัสแบบมีเรื่องให้อัศจรรย์ใจได้ทุกวัน พวกเราโชคดีอย่างยิ่งที่มีกระแสและแง่คิดเรื่องความสมดุลและพอเพียงที่เป็นความหวังในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสังคมไทยให้อยู่ยั่งยืน
วันนี้ ดิฉันขอเล่าเรื่องผลงานการค้นคว้าเกือบ 4 ปีของทีมงานวิจัยของยุโรป นำโดยคณาจารย์ของ School of Management Innsbruck University ของออสเตรีย เรื่ององค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ผลงานวิจัยนี้เน้นการวิเคราะห์เจาะลึกบริษัทชั้นนำของยุโรป เช่น Siemens, Nokia, HSBC และ Shell ซึ่งประสบความสำเร็จระดับโลก โดยได้รับการจัดคัดกรองเป็นองค์กรในกลุ่ม Fortune 500 ในปี 2546
ทั้งนี้บริษัทที่เขาเลือกศึกษาต้องมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน กล่าวคือต้องยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้อย่างน้อยเป็นเวลา 100 ปี !
ทีมงานวิจัยศึกษาเจาะลึกแนวทางการทำงาน โอกาส ปัญหา อุปสรรค และผลประกอบการของกลุ่มบริษัทชั้นนำเหล่านี้ โดยมีการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆในธุรกิจเดียวกันที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่ยังเป็นรองกลุ่มแรก กลุ่มเปรียบเทียบมี เช่น AEG, Ericsson Standard Chartered และ BP เป็นต้น
วัตถุประสงค์คือกลั่นหารูปแบบ และแนวทางการบริหารองค์กรที่กลุ่มหัวกะทิทำแตกต่างจากองค์กรอื่น ซึ่งส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้อย่างยืนยงคงกระพัน
อีกนัยหนึ่ง เขาทำอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้านจึงอยู่ยาวนานเป็นร้อยปี โดยไม่ใช่เก่าแก่แบบกะโหลกกะลา แต่เป็นองค์กรแถวหน้า เป็นองค์กรหัวกะทิในระดับโลกที่พิสูจน์แล้วว่าไม่บูดง่ายๆ
ผลการวิจัยมีอะไรให้ทีมงานและคณาจารย์ด้านบริหารจัดการแปลกใจพอสมควรค่ะ
หัวข้อที่โดดเด่นเป็นสง่า ที่เขาทำเข้าท่ากว่าคู่แข่งมี 4 เรื่องหลัก คือ
1. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง
กระแสและแนวคิดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันนี้ ยุให้องค์กรกล้าปรับเปลี่ยน ทั้งต้องเปลี่ยนเร็วและเปลี่ยนบ่อย อย่าค่อยๆ จด ค่อยๆ จ้อง เพราะอุปสรรคและโอกาสไม่เคยรอใคร
องค์กรหัวกะทิเหล่านี้ก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง แรงเหวี่ยง เสี่ยงภัย เช่นเดียวกับบริษัททั่วไป อย่างไรก็ดี แนวทางและนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลงดูจะขัดแย้งกับข้อแนะนำข้างต้น เพราะผลการวิเคราะห์ เจาะประเด็นว่าองค์กรหัวกะทิมีรูปแบบการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน คือ เลือกเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ โดยทำยามจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ไม่ทำบ่อย ไม่ทำพร่ำเพรื่อ และเมื่อเลือกที่จะเปลี่ยนก็จะทำอย่างระมัดระวังโดยพยายามสร้างความพร้อมในองค์กรก่อนหรืออย่างน้อยควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง เช่น เมื่อองค์กรตระหนักว่าต้องนำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การควบรวมกิจการ เขาก็จะลุกขึ้นมาตั้งหลักสื่อสารขนานใหญ่ สร้างทักษะผู้บริหารในการนำการเปลี่ยนแปลง เสริมทักษะคนทำงานในการตามการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อจะปรับระบบการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเสริม เขาก็จะทำความเข้าใจ สร้างระบบใหม่ ให้ความรู้ผู้ใช้งานก่อนหรือควบคู่ไปให้ทันการเปลี่ยนแปลง มิใช่วางระบบแล้วค่อยมาพบมาคุยกันว่าใช้อย่างไร ทำไมต้องเปลี่ยน เป็นต้น
2. ของเดิม VS. ของใหม่
ทฤษฎีการบริหารจัดการยุคนี้เน้นความสำคัญเรื่องนวัตกรรม เรื่องของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดใหม่ เทคโนโลยีใหม่ สินค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ ประมาณว่า อะไรยิ่งใหม่ยิ่งดี
จากประสบการณ์ตลอด 100 ปีขององค์กรหัวกะทิ มีมุมที่น่าสนใจ คือ เขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่เดิมมากกว่าของใหม่ นโยบายและแนวทางการบริหารองค์กรจึงเน้นการใช้ประโยชน์จากปัจจัยที่มีอยู่แล้วให้เต็มที่สุดๆ ให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะไปไขว่คว้าหาอะไรใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรเดิม หรือการดูแลลูกค้าปัจจุบัน เป็นต้น
ทั้งนี้ มิได้แปลว่า องค์กรหัวกะทิไม่ให้ความสำคัญเรื่องนวัตกรรม หรือปัจจัยใหม่ๆ ในการเติบโต เพราะต่างตระหนักดีว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง มีความจำเป็นต้องมองและลองของใหม่
หัวใจคือ ของที่มีอยู่ในมือที่อาจดู“พื้นๆ” ยืนยันได้หรือยังว่าใช้คุ้มแล้ว ถ้ายังไม่คุ้ม อย่าเพิ่งทิ้ง
3. ความหลากหลาย
องค์กรหัวกะทิมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันอีกหนึ่งข้อคือ ”ไม่ใส่ไข่ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะหากบังเอิญตะกร้าหลุดร่วงตกหล่น ไข่จะได้ไม่แตกทั้งหมด อดกิน
ความหลากหลายในเชิงธุรกิจและกลยุทธ์ จึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจที่ทำให้องค์กรหนังเหนียว ที่ไม่ยอมเหี่ยวกับกาลเวลาเหล่านี้ มีความยืดหยุ่น จนยืนหยัดเป็นหนึ่งได้ในทุกวันนี้
ความหลากหลายซึ่งเป็นนโยบายลดความเสี่ยงในการบริหารองค์กรมีได้หลายมิติ เช่น ความหลากหลายในแง่สินค้าและการบริการ
หลายองค์กรในยุคปัจจุบันพยายามทำเฉพาะสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ บริษัทฯที่ขยายธุรกิจออกแผ่ซ่านบานกว้างไกล ทำได้ทุกอย่าง แต่กลายเป็นทำไม่ได้ดีสักอย่าง เพราะขาดความเก่ง จึงเร่งหุบยุบรวม เน้นเนื้อๆ เหลือไว้แต่ธุรกิจหลัก
อย่างไรก็ดี จากผลการวิจัยบริษัทหัวกะทิ ปรากฏว่าต่างมีความหลากหลายในเรื่องสินค้าและบริการ งานวิจัยให้มุมมองว่าการทำธุรกิจโดยขาดความหลากหลาย อาจดีในช่วงสั้น แต่เมื่อมองระยะยาว ถือเป็นข้อจำกัดของการอยู่รอดแบบปลอดภัย
ทั้งนี้ ความหลากหลายที่พอเหมาะ คือการเจาะหาสินค้าและบริการในธุรกิจใกล้เคียง หรือโยงใยกับธุรกิจหลักขององค์กร ไม่ขยายแบบสะเปะสะปะ นึกจะทำอะไรก็ทำ
มีการเปรียบเทียบสถิติว่า จากองค์กร 100 แห่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์กรชั้นนำในปี 2513 องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียว หลุดจากโผไปถึง 68% ในปี 2536 และอีก 42% ในปี 2546 ขณะที่องค์กรที่มีความหลากหลาย หายไปจากโผเพียง 37% ในปี 2536 และ 35% ในปี 2546 ตามลำดับ
นอกจากนั้น ความหลากหลาย ยังหมายรวมถึงด้านกลุ่มลูกค้า ด้านคู่ค้า คู่ขาย ผู้ให้บริการ ตลอดจนความหลากหลายด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ มีตลาด หรือสาขา รวมถึงคู่ค้ากระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆ หากที่ใดเกิดภัยพิบัติ หรือ ปัญหาอื่นๆ จะได้ไม่กระเทือนองค์กรเกินไป เป็นต้น
4. การเรียนรู้จากความผิดพลาด
ฟังแล้วดู “พื้นๆ” อีกแล้วนะคะ
ผิดแล้วต้องจำ ผิดแล้วต้องไม่ผิดซ้ำ
พูดอีกก็ถูกอีก
ผลการวิจัย บ่งชี้ว่าพฤติกรรมนี้พูดง่ายแต่คงทำไม่ง่ายดังคิดหรือพูด เพราะเมื่อเปรียบเทียบองค์กรหัวกะทิกับคู่แข่ง ปรากฏว่า องค์กรที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นองค์กรที่เรียนรู้จากความผิดพลาด ตลอดจนมีกระบวนการเรียนรู้ว่า พลาดเพราะอะไร จะได้ไม่ผิดซ้ำ ทั้งยังตอกย้ำ สื่อสารซ้ำๆ และเก็บข้อมูลเรื่องความผิดพลาดไว้ในองค์กร ใครมาใหม่จะได้มีข้อมูล และไม่ผิดแบบเดิมๆ
องค์กรโดยรวมมักไม่ได้ใช้บทเรียนจากความผิดพลาดได้คุ้มเท่ากับองค์กรหัวกะทิ จึงออกอาการผิดแล้วผิดอีก พลาดซ้ำพลาดซ้อน อายุจึงไม่ยืนยงคงทนพ้น 100 ปี
ดูตัวละครเหล่านี้แล้ว อย่าลืมมองย้อนดูตัวองค์กรของเราว่ามีมุมไหนมุมใดไปใช้ได้... ไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ
วันนี้ ดิฉันขอเล่าเรื่องผลงานการค้นคว้าเกือบ 4 ปีของทีมงานวิจัยของยุโรป นำโดยคณาจารย์ของ School of Management Innsbruck University ของออสเตรีย เรื่ององค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ผลงานวิจัยนี้เน้นการวิเคราะห์เจาะลึกบริษัทชั้นนำของยุโรป เช่น Siemens, Nokia, HSBC และ Shell ซึ่งประสบความสำเร็จระดับโลก โดยได้รับการจัดคัดกรองเป็นองค์กรในกลุ่ม Fortune 500 ในปี 2546
ทั้งนี้บริษัทที่เขาเลือกศึกษาต้องมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน กล่าวคือต้องยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้อย่างน้อยเป็นเวลา 100 ปี !
ทีมงานวิจัยศึกษาเจาะลึกแนวทางการทำงาน โอกาส ปัญหา อุปสรรค และผลประกอบการของกลุ่มบริษัทชั้นนำเหล่านี้ โดยมีการเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆในธุรกิจเดียวกันที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่ยังเป็นรองกลุ่มแรก กลุ่มเปรียบเทียบมี เช่น AEG, Ericsson Standard Chartered และ BP เป็นต้น
วัตถุประสงค์คือกลั่นหารูปแบบ และแนวทางการบริหารองค์กรที่กลุ่มหัวกะทิทำแตกต่างจากองค์กรอื่น ซึ่งส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้อย่างยืนยงคงกระพัน
อีกนัยหนึ่ง เขาทำอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้านจึงอยู่ยาวนานเป็นร้อยปี โดยไม่ใช่เก่าแก่แบบกะโหลกกะลา แต่เป็นองค์กรแถวหน้า เป็นองค์กรหัวกะทิในระดับโลกที่พิสูจน์แล้วว่าไม่บูดง่ายๆ
ผลการวิจัยมีอะไรให้ทีมงานและคณาจารย์ด้านบริหารจัดการแปลกใจพอสมควรค่ะ
หัวข้อที่โดดเด่นเป็นสง่า ที่เขาทำเข้าท่ากว่าคู่แข่งมี 4 เรื่องหลัก คือ
1. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง
กระแสและแนวคิดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันนี้ ยุให้องค์กรกล้าปรับเปลี่ยน ทั้งต้องเปลี่ยนเร็วและเปลี่ยนบ่อย อย่าค่อยๆ จด ค่อยๆ จ้อง เพราะอุปสรรคและโอกาสไม่เคยรอใคร
องค์กรหัวกะทิเหล่านี้ก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง แรงเหวี่ยง เสี่ยงภัย เช่นเดียวกับบริษัททั่วไป อย่างไรก็ดี แนวทางและนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลงดูจะขัดแย้งกับข้อแนะนำข้างต้น เพราะผลการวิเคราะห์ เจาะประเด็นว่าองค์กรหัวกะทิมีรูปแบบการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน คือ เลือกเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ โดยทำยามจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ไม่ทำบ่อย ไม่ทำพร่ำเพรื่อ และเมื่อเลือกที่จะเปลี่ยนก็จะทำอย่างระมัดระวังโดยพยายามสร้างความพร้อมในองค์กรก่อนหรืออย่างน้อยควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง เช่น เมื่อองค์กรตระหนักว่าต้องนำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การควบรวมกิจการ เขาก็จะลุกขึ้นมาตั้งหลักสื่อสารขนานใหญ่ สร้างทักษะผู้บริหารในการนำการเปลี่ยนแปลง เสริมทักษะคนทำงานในการตามการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อจะปรับระบบการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเสริม เขาก็จะทำความเข้าใจ สร้างระบบใหม่ ให้ความรู้ผู้ใช้งานก่อนหรือควบคู่ไปให้ทันการเปลี่ยนแปลง มิใช่วางระบบแล้วค่อยมาพบมาคุยกันว่าใช้อย่างไร ทำไมต้องเปลี่ยน เป็นต้น
2. ของเดิม VS. ของใหม่
ทฤษฎีการบริหารจัดการยุคนี้เน้นความสำคัญเรื่องนวัตกรรม เรื่องของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดใหม่ เทคโนโลยีใหม่ สินค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ ประมาณว่า อะไรยิ่งใหม่ยิ่งดี
จากประสบการณ์ตลอด 100 ปีขององค์กรหัวกะทิ มีมุมที่น่าสนใจ คือ เขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่เดิมมากกว่าของใหม่ นโยบายและแนวทางการบริหารองค์กรจึงเน้นการใช้ประโยชน์จากปัจจัยที่มีอยู่แล้วให้เต็มที่สุดๆ ให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะไปไขว่คว้าหาอะไรใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรเดิม หรือการดูแลลูกค้าปัจจุบัน เป็นต้น
ทั้งนี้ มิได้แปลว่า องค์กรหัวกะทิไม่ให้ความสำคัญเรื่องนวัตกรรม หรือปัจจัยใหม่ๆ ในการเติบโต เพราะต่างตระหนักดีว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง มีความจำเป็นต้องมองและลองของใหม่
หัวใจคือ ของที่มีอยู่ในมือที่อาจดู“พื้นๆ” ยืนยันได้หรือยังว่าใช้คุ้มแล้ว ถ้ายังไม่คุ้ม อย่าเพิ่งทิ้ง
3. ความหลากหลาย
องค์กรหัวกะทิมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันอีกหนึ่งข้อคือ ”ไม่ใส่ไข่ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะหากบังเอิญตะกร้าหลุดร่วงตกหล่น ไข่จะได้ไม่แตกทั้งหมด อดกิน
ความหลากหลายในเชิงธุรกิจและกลยุทธ์ จึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจที่ทำให้องค์กรหนังเหนียว ที่ไม่ยอมเหี่ยวกับกาลเวลาเหล่านี้ มีความยืดหยุ่น จนยืนหยัดเป็นหนึ่งได้ในทุกวันนี้
ความหลากหลายซึ่งเป็นนโยบายลดความเสี่ยงในการบริหารองค์กรมีได้หลายมิติ เช่น ความหลากหลายในแง่สินค้าและการบริการ
หลายองค์กรในยุคปัจจุบันพยายามทำเฉพาะสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ บริษัทฯที่ขยายธุรกิจออกแผ่ซ่านบานกว้างไกล ทำได้ทุกอย่าง แต่กลายเป็นทำไม่ได้ดีสักอย่าง เพราะขาดความเก่ง จึงเร่งหุบยุบรวม เน้นเนื้อๆ เหลือไว้แต่ธุรกิจหลัก
อย่างไรก็ดี จากผลการวิจัยบริษัทหัวกะทิ ปรากฏว่าต่างมีความหลากหลายในเรื่องสินค้าและบริการ งานวิจัยให้มุมมองว่าการทำธุรกิจโดยขาดความหลากหลาย อาจดีในช่วงสั้น แต่เมื่อมองระยะยาว ถือเป็นข้อจำกัดของการอยู่รอดแบบปลอดภัย
ทั้งนี้ ความหลากหลายที่พอเหมาะ คือการเจาะหาสินค้าและบริการในธุรกิจใกล้เคียง หรือโยงใยกับธุรกิจหลักขององค์กร ไม่ขยายแบบสะเปะสะปะ นึกจะทำอะไรก็ทำ
มีการเปรียบเทียบสถิติว่า จากองค์กร 100 แห่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์กรชั้นนำในปี 2513 องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียว หลุดจากโผไปถึง 68% ในปี 2536 และอีก 42% ในปี 2546 ขณะที่องค์กรที่มีความหลากหลาย หายไปจากโผเพียง 37% ในปี 2536 และ 35% ในปี 2546 ตามลำดับ
นอกจากนั้น ความหลากหลาย ยังหมายรวมถึงด้านกลุ่มลูกค้า ด้านคู่ค้า คู่ขาย ผู้ให้บริการ ตลอดจนความหลากหลายด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ มีตลาด หรือสาขา รวมถึงคู่ค้ากระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆ หากที่ใดเกิดภัยพิบัติ หรือ ปัญหาอื่นๆ จะได้ไม่กระเทือนองค์กรเกินไป เป็นต้น
4. การเรียนรู้จากความผิดพลาด
ฟังแล้วดู “พื้นๆ” อีกแล้วนะคะ
ผิดแล้วต้องจำ ผิดแล้วต้องไม่ผิดซ้ำ
พูดอีกก็ถูกอีก
ผลการวิจัย บ่งชี้ว่าพฤติกรรมนี้พูดง่ายแต่คงทำไม่ง่ายดังคิดหรือพูด เพราะเมื่อเปรียบเทียบองค์กรหัวกะทิกับคู่แข่ง ปรากฏว่า องค์กรที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นองค์กรที่เรียนรู้จากความผิดพลาด ตลอดจนมีกระบวนการเรียนรู้ว่า พลาดเพราะอะไร จะได้ไม่ผิดซ้ำ ทั้งยังตอกย้ำ สื่อสารซ้ำๆ และเก็บข้อมูลเรื่องความผิดพลาดไว้ในองค์กร ใครมาใหม่จะได้มีข้อมูล และไม่ผิดแบบเดิมๆ
องค์กรโดยรวมมักไม่ได้ใช้บทเรียนจากความผิดพลาดได้คุ้มเท่ากับองค์กรหัวกะทิ จึงออกอาการผิดแล้วผิดอีก พลาดซ้ำพลาดซ้อน อายุจึงไม่ยืนยงคงทนพ้น 100 ปี
ดูตัวละครเหล่านี้แล้ว อย่าลืมมองย้อนดูตัวองค์กรของเราว่ามีมุมไหนมุมใดไปใช้ได้... ไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ
The Secret of Leadership "เคล็ดลับ" ผู้นำ
เดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี 2007 แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ในที่ทำงานเริ่มเฉลิมฉลองกัน ไม่มีใครอยากทำงานหนักๆ ในห้วง 2 อาทิตย์สุดท้ายของปีแล้ว ใช่ไหมคะ หากท่านผู้อ่านที่เป็นผู้บริหารพอมีเวลาว่างๆ เบาๆ ลองค่อยๆ หลับตา ยิ้มให้กับตัวเองอย่างมีความสุข นึกขอบคุณลูกน้องทุกๆ คนที่ช่วยกันทำงานตลอดปีที่ผ่านมาให้แก่ท่าน ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เราทำงานผ่านพ้นมาอีกหนึ่งปีแล้ว และจินตนาการถึงปี 2008 ต่ออย่างสุขใจด้วยความลับของการเป็นสุดยอดผู้นำในปี 2008 ที่ดิฉันนำมาฝากค่ะ
ผู้นำลองใช้กฎแห่งการดึงดูดบอกกับตัวเองเสมอตลอดปี 2008 นี้ค่ะ อย่างมีความสุขว่าท่านเห็น ทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement)
ให้ท่านคิดถึงบ่อยๆ และเชื่อด้วยความจริงใจค่ะว่าสิ่งที่ท่านต้องการมันเป็นจริงแล้วลองลงมือทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ โดยหันมาดูและเล่นเรื่องคนอย่างจริงจัง เป็นอันดับต้นๆ เลยค่ะ
- ทำความรู้จักลูกน้องของท่านอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการบ้าง ก็จะดีไม่น้อยเลยค่ะ เพราะท่านก็จะได้ทราบว่าลูกน้องมีความต้องการอะไร มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ในปี 2008 นี้ เผื่อว่าท่านจะได้ช่วยสนับสนุนเขาได้ในบางเรื่อง ดิฉันไม่ได้แนะนำให้เข้าไปก้าวก่ายในชีวิตลูกน้องในลักษณะลงลึกนะคะ แต่อยากให้ผู้นำได้ทำความรู้จักลูกน้องบ้างระดับหนึ่ง พองามค่ะ และท่านจะรู้ว่ามันได้ใจเขามากมายเลยค่ะ
- เริ่มต้นปี 2008 ผู้นำต้องคุยกับลูกน้องสายตรงเป็นรายบุคคลนะคะถึงการตั้งเป้าหมายการทำงานของแต่ละคน เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของลูกน้องได้อย่างชัดเจน (Performance Management) บอกความคาดหวังที่ชัดเจนให้ลูกน้องรับทราบ รับรู้ และยอมรับกติกากันแต่ต้นปีค่ะ พนักงานจะทำงานได้ดี เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน และทุกๆ ไตรมาสก็ชวนลูกน้องมาคุยเรื่องผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจดูว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นปีนั้น ลูกน้องมีปัญหาไหม ผู้นำจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ค่ะ
- ผู้นำต้องดูแล จัดสรร ทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ ในการทำงานให้กับลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้สะดวก คล่องตัวค่ะ และถ้าจะทำให้ลูกน้องประทับใจ ผู้นำควรถามลูกน้องว่าอยากได้อะไรเพิ่มเติมอีก เพื่อให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
- มั่นใจว่าปี 2008 นี้ ท่านจะได้ทำการฝึกอบรมลูกน้อง และ ทำการฝึกอบรมซ้ำ (Retrain) ในเรื่องทักษะการติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะการบริหารความขัดแย้ง เป็นต้น เพราะทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้องเรามีปฏิสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร เข้าใจเรา เข้าใจเพื่อนร่วมงาน เข้าใจลูกค้า และเข้าใจคู่ค้าดีขึ้นค่ะ การติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างกันจะส่งผลให้ความเครียดลดลง และได้งานที่มีคุณภาพตามมาค่ะ
- ยุคนี้เป็นยุคของการจัดการความรู้ และปี 2008 นี้ เรื่องของ Knowledge Management ก็ยังมาแรงอยู่ค่ะ ดังนั้น การ Show & Share ผู้นำต้องยึดมั่น ถือมั่น หมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา ทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส ลงมือทำอย่างตั้งใจค่ะ โดยการ share และพูดถึงอย่างชื่นชมในเรื่องที่ลูกน้องท่านทำและประสบความสำเร็จ และพูดถึงเรื่องที่องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมีชีวิตชีวา เรื่องไหนที่ผิดพลาดก็ share และหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อนำมาเป็นบทเรียน ให้ท่านหลีกเลี่ยงเรื่องราวการพูดที่ทำลายขวัญ การพูดถึงบุคคลและองค์กรในแง่เสียหาย เหล่านี้ห้าม Show & Share ค่ะ
- ผู้นำต้องสำนึกรู้คุณลูกน้องค่ะ ต้องตบรางวัลให้แก่ลูกน้องเมื่อยามที่เขาทำดี ผู้นำยุคปี 2008 ต้องรู้ว่าจะต้องเลือกให้รางวัลที่มีความหมายต่อผู้ได้รับ (คือลูกน้อง) ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นของผู้นำอย่างยิ่งและเป็นสิ่งสำคัญของผู้นำที่จะต้องใส่ใจรู้จักคนของคุณให้ดี จะได้ตบรางวัลได้ถูกใจค่ะ
- หมั่นสอบถามลูกน้องเสมอๆ ค่ะ ว่าท่านเป็นอย่างไรบ้างในสายตาพวกเขา เป็นการฝึก Open Minded ค่ะ และฝึกการเป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะขอ feedback ตรงๆ จากลูกน้องนะคะ เป็นใครก็ไม่ค่อยกล้าบอกความจริงกันหรอกค่ะ เพราะนายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการประเมินผลของลูกน้อง เคยได้ยินใช่ไหมคะว่า คนที่พูดความจริงตายไปแล้วทุกราย วิธีการลองทำดังนี้ค่ะ
§ ทำแบบฟอร์มให้ลูกน้องลองประเมิน 360 องศาดูค่ะ โดยที่ไม่ต้องให้ลูกน้องลงชื่อผู้ประเมินค่ะ อาจได้ข้อมูลระดับหนึ่ง เปิดใจกว้างเตรียมตัว เตรียมใจกับผลที่ได้รับค่ะ บอกกับตัวเองตลอดเวลาค่ะว่า “ฉันได้ข้อมูลนี้มาเพื่อการพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นผู้นำที่น่ารักของใครต่อใคร ขอบคุณผู้ประเมินที่สละเวลาเป็นกระจกสะท้อนให้ฉัน” หรือ
§ ลงมือทำ Dialog หันหน้าพูดคุยกับลูกน้อง โดยใช้คำถามเริ่มต้นเช่น ปี 2008 นี้ ท่านตั้งเป้าหมายสำคัญๆ ในการพัฒนาตนเองไว้หลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องที่ท่านคิดว่าสำคัญมากคือการพัฒนาตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารของทีมงานนี้ ขอให้ลูกทีมช่วยบอกหน่อยว่าปี 2008 นี้ ลูกทีมต้องการให้ท่านทำอะไรที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาบ้าง หรือ ถามลูกทีมว่าในปี 2008 นี้ พวกเขาอยากให้ท่านทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้น เมื่อได้รับคำตอบ หรือ feedback แล้ว ให้ท่านน้อมรับฟังอย่างใจที่เปิดกว้างและขอบคุณลูกน้องท่านด้วยความเต็มใจค่ะ และนำข้อมูลที่ท่านได้รับมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ
ความลับอีกข้อหนึ่งคือท่านผู้นำจะต้องรู้สึกว่าได้รับสิ่งที่ต้องการเห็นว่าทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) แล้วความอัศจรรย์จะเกิดขึ้นค่ะ ว่าท่านจะได้รับจริงๆ ในปี 2008 นี้ค่ะ
--------------------------------------------
โดย ดร.เกศรา รักชาติ: Ph.D. Leadership and Human Behavior
ผู้นำลองใช้กฎแห่งการดึงดูดบอกกับตัวเองเสมอตลอดปี 2008 นี้ค่ะ อย่างมีความสุขว่าท่านเห็น ทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement)
ให้ท่านคิดถึงบ่อยๆ และเชื่อด้วยความจริงใจค่ะว่าสิ่งที่ท่านต้องการมันเป็นจริงแล้วลองลงมือทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ โดยหันมาดูและเล่นเรื่องคนอย่างจริงจัง เป็นอันดับต้นๆ เลยค่ะ
- ทำความรู้จักลูกน้องของท่านอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการบ้าง ก็จะดีไม่น้อยเลยค่ะ เพราะท่านก็จะได้ทราบว่าลูกน้องมีความต้องการอะไร มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ในปี 2008 นี้ เผื่อว่าท่านจะได้ช่วยสนับสนุนเขาได้ในบางเรื่อง ดิฉันไม่ได้แนะนำให้เข้าไปก้าวก่ายในชีวิตลูกน้องในลักษณะลงลึกนะคะ แต่อยากให้ผู้นำได้ทำความรู้จักลูกน้องบ้างระดับหนึ่ง พองามค่ะ และท่านจะรู้ว่ามันได้ใจเขามากมายเลยค่ะ
- เริ่มต้นปี 2008 ผู้นำต้องคุยกับลูกน้องสายตรงเป็นรายบุคคลนะคะถึงการตั้งเป้าหมายการทำงานของแต่ละคน เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของลูกน้องได้อย่างชัดเจน (Performance Management) บอกความคาดหวังที่ชัดเจนให้ลูกน้องรับทราบ รับรู้ และยอมรับกติกากันแต่ต้นปีค่ะ พนักงานจะทำงานได้ดี เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน และทุกๆ ไตรมาสก็ชวนลูกน้องมาคุยเรื่องผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจดูว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นปีนั้น ลูกน้องมีปัญหาไหม ผู้นำจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ค่ะ
- ผู้นำต้องดูแล จัดสรร ทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ ในการทำงานให้กับลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้สะดวก คล่องตัวค่ะ และถ้าจะทำให้ลูกน้องประทับใจ ผู้นำควรถามลูกน้องว่าอยากได้อะไรเพิ่มเติมอีก เพื่อให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
- มั่นใจว่าปี 2008 นี้ ท่านจะได้ทำการฝึกอบรมลูกน้อง และ ทำการฝึกอบรมซ้ำ (Retrain) ในเรื่องทักษะการติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะการบริหารความขัดแย้ง เป็นต้น เพราะทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้องเรามีปฏิสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร เข้าใจเรา เข้าใจเพื่อนร่วมงาน เข้าใจลูกค้า และเข้าใจคู่ค้าดีขึ้นค่ะ การติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างกันจะส่งผลให้ความเครียดลดลง และได้งานที่มีคุณภาพตามมาค่ะ
- ยุคนี้เป็นยุคของการจัดการความรู้ และปี 2008 นี้ เรื่องของ Knowledge Management ก็ยังมาแรงอยู่ค่ะ ดังนั้น การ Show & Share ผู้นำต้องยึดมั่น ถือมั่น หมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา ทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส ลงมือทำอย่างตั้งใจค่ะ โดยการ share และพูดถึงอย่างชื่นชมในเรื่องที่ลูกน้องท่านทำและประสบความสำเร็จ และพูดถึงเรื่องที่องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมีชีวิตชีวา เรื่องไหนที่ผิดพลาดก็ share และหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อนำมาเป็นบทเรียน ให้ท่านหลีกเลี่ยงเรื่องราวการพูดที่ทำลายขวัญ การพูดถึงบุคคลและองค์กรในแง่เสียหาย เหล่านี้ห้าม Show & Share ค่ะ
- ผู้นำต้องสำนึกรู้คุณลูกน้องค่ะ ต้องตบรางวัลให้แก่ลูกน้องเมื่อยามที่เขาทำดี ผู้นำยุคปี 2008 ต้องรู้ว่าจะต้องเลือกให้รางวัลที่มีความหมายต่อผู้ได้รับ (คือลูกน้อง) ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นของผู้นำอย่างยิ่งและเป็นสิ่งสำคัญของผู้นำที่จะต้องใส่ใจรู้จักคนของคุณให้ดี จะได้ตบรางวัลได้ถูกใจค่ะ
- หมั่นสอบถามลูกน้องเสมอๆ ค่ะ ว่าท่านเป็นอย่างไรบ้างในสายตาพวกเขา เป็นการฝึก Open Minded ค่ะ และฝึกการเป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะขอ feedback ตรงๆ จากลูกน้องนะคะ เป็นใครก็ไม่ค่อยกล้าบอกความจริงกันหรอกค่ะ เพราะนายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการประเมินผลของลูกน้อง เคยได้ยินใช่ไหมคะว่า คนที่พูดความจริงตายไปแล้วทุกราย วิธีการลองทำดังนี้ค่ะ
§ ทำแบบฟอร์มให้ลูกน้องลองประเมิน 360 องศาดูค่ะ โดยที่ไม่ต้องให้ลูกน้องลงชื่อผู้ประเมินค่ะ อาจได้ข้อมูลระดับหนึ่ง เปิดใจกว้างเตรียมตัว เตรียมใจกับผลที่ได้รับค่ะ บอกกับตัวเองตลอดเวลาค่ะว่า “ฉันได้ข้อมูลนี้มาเพื่อการพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นผู้นำที่น่ารักของใครต่อใคร ขอบคุณผู้ประเมินที่สละเวลาเป็นกระจกสะท้อนให้ฉัน” หรือ
§ ลงมือทำ Dialog หันหน้าพูดคุยกับลูกน้อง โดยใช้คำถามเริ่มต้นเช่น ปี 2008 นี้ ท่านตั้งเป้าหมายสำคัญๆ ในการพัฒนาตนเองไว้หลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องที่ท่านคิดว่าสำคัญมากคือการพัฒนาตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารของทีมงานนี้ ขอให้ลูกทีมช่วยบอกหน่อยว่าปี 2008 นี้ ลูกทีมต้องการให้ท่านทำอะไรที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาบ้าง หรือ ถามลูกทีมว่าในปี 2008 นี้ พวกเขาอยากให้ท่านทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้น เมื่อได้รับคำตอบ หรือ feedback แล้ว ให้ท่านน้อมรับฟังอย่างใจที่เปิดกว้างและขอบคุณลูกน้องท่านด้วยความเต็มใจค่ะ และนำข้อมูลที่ท่านได้รับมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ
ความลับอีกข้อหนึ่งคือท่านผู้นำจะต้องรู้สึกว่าได้รับสิ่งที่ต้องการเห็นว่าทีมทำงานของท่าน องค์กรของท่านรุ่งเรือง เจริญเติบโต มีลูกน้องผูกใจและผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) แล้วความอัศจรรย์จะเกิดขึ้นค่ะ ว่าท่านจะได้รับจริงๆ ในปี 2008 นี้ค่ะ
--------------------------------------------
โดย ดร.เกศรา รักชาติ: Ph.D. Leadership and Human Behavior
11/14/07
นิทานของเจ้าสัว
มีสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เงินอยู่ในอากาศ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองเห็นแล้วคว้าลงมาได้” ผมเชื่อว่าผู้อ่านก็คงเคยได้ยินได้อ่านสุภาษิตแนวๆ นี้ แต่อ่านแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะคว้าเงินลงมาจากอากาศได้อย่างไร
ถ้าอ่านประวัตินักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งของไทยและของต่างประเทศ หลายๆ ท่านจะพบว่าความร่ำรวยของเขามีจุดเริ่มต้นมาจากศูนย์ ด้วยสมองและสองมือทำให้หลายคนสามารถคว้าเงินจากอากาศมาเข้ากระเป๋าตัวเองได้
ผมได้มีโอกาสสนทนากับทายาทเจ้าสัวที่ร่ำรวยติดอันดับต้นๆ ของไทย ยิ่งคุยด้วยยิ่งรู้สึกว่าผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า วิธีคิดของเจ้าสัวในการคว้าเงินจากอากาศทำได้อย่างไร แล้วทำไมคนธรรมดาอย่างเราที่ทำงานหนัก ขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบในการทำงาน ถึงได้หาเงินได้แค่พอเลี้ยงชีพหรือสร้างความมั่นคงในชีวิตได้แต่ไม่ยักกะรวยอย่างเขาเสียที
ทายาทเจ้าสัวท่านนี้เล่านิทานเรื่องหนึ่งในผมฟังในการสัมมนาภายในบริษัทของเขา
เรื่องมีอยู่ว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองแห่งหนึ่ง ทั้งเมืองมีบ่อน้ำอยู่เพียงบ่อเดียวที่คนทั้งเมืองต้องมาตักน้ำจากบ่อไปดื่มและใช้ ยิ่งเมืองเติบโตขึ้น มีคนมากขึ้น ความวุ่นวายจากการแย่งกันมาตักน้ำในบ่อของชาวเมืองก็ยิ่งมากขึ้น จนเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันไม่เว้นแต่ละวัน เพื่อลดความวุ่นวายและหารายได้เข้าเมือง จึงประกาศยกสัมปทานการใช้น้ำให้กับพ่อค้า 2 รายในเมือง โดยให้พ่อค้า 2 รายนี้เท่านั้นมีสิทธิตักน้ำจากบ่อนี้ไปขายให้คนในเมือง พอได้สัมปทานบ่อน้ำ พ่อค้าคนที่หนึ่งก็เดินทางออกจากเมืองหายไปหลายเดือน
ขณะที่พ่อค้าคนที่สองก็มีความสุขกับสัมปทานบ่อน้ำที่ได้รับ โดยขยันขันแข็งตื่นแต่เช้าทุกวันไปขนน้ำใส่รถเข็นมาบริการชาวเมืองในราคาที่เป็นธรรม ด้วยความรับผิดชอบเป็นอย่างสูงและมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้ชาวเมืองทุกคนได้รับน้ำอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะร้อนก็ออกไปขนน้ำมาให้บริการชาวเมือง โดยไม่ได้สนใจพ่อค้าคนที่หนึ่งที่หายสาบสูญไป
เวลาผ่านไป 6 เดือน พ่อค้าคนที่หนึ่งก็เดินทางกลับเข้ามาในเมืองพร้อมกับทีมงานและเครื่องไม้เครื่องมือ แล้วก็ลงมือเดินท่อน้ำจากบ่อน้ำเข้าไปที่บ้านของประชาชนทุกๆ คนในเมือง โดยคิดค่าน้ำในราคาในราคาที่ต่ำกว่าพ่อค้าคนที่สอง การที่ลูกค้าได้รับน้ำทุกๆ ครั้งที่เปิดก๊อก ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้น โดยที่จ่ายค่าน้ำลดลง ประชาชนเกือบทั้งเมืองจึงหันมาเป็นลูกค้าของพ่อค้าคนที่หนึ่ง เหลือเพียงญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทของพ่อค้าคนที่สองกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่ยังอุดหนุนกันอยู่เพราะความเกรงใจ
เวลาผ่านไปหลายปี พ่อค้าคนที่หนึ่งก็ร่ำรวยขึ้นอย่างมากและใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่ต้องตรากตรำทำงานหนักและยกธุรกิจให้ทายาทบริหารงานต่อไป ขณะที่พ่อค้าคนที่สองก็ยังคงทำงานอย่างขยันขันแข็งและมีความรับผิดชอบ ออกไปเข็นน้ำมาให้บริการลูกค้าที่มีอยู่ในมืองอย่างไม่ย่อท้อ โดยมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น พ่อค้าคนที่สองเริ่มตักน้ำไม่ค่อยไหว จึงประกาศจะยกธุรกิจของตนให้ลูกชายสืบทอดต่อ พอลูกชายรับทราบก็ถอนใจเก็บข้าวของเดินทางออกจากเมืองไปแล้วไม่ยอมกลับมาอีกเลย”
ทายาทเจ้าสัวสรุปให้ฟังว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “ความขยันขันแข็ง อดทน ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ เป็นคุณสมบัติที่ดีของการทำธุรกิจ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความฉลาดและวางแผนไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมเรื่อง Know How เทคโนโลยีและเงินทุนจากภายนอก เข้ามาสนับสนุน จึงจะทำธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
โดยที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเหนื่อยทำงานแบบเดิมๆ ทุกวัน ต้องปล่อยให้ระบบของธุรกิจดำเนินต่อไปได้เอง สร้างรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้เวลาเข้าไปดูแลมากนัก จะได้เอาเวลาไปคิดเพื่อปรับปรุงและขยายธุรกิจด้านอื่นๆ ต่อไป ไม่ต้องมาเหนื่อยกับการทำงานแบบเดิมๆ ไปชั่วชีวิต”
ฟังบทสรุปแล้วรู้ซึ้งเลยครับว่า คิดแบบเจ้าสัวเขาคิดอย่างไร มิน่าละเขาถึงร่ำรวยเพราะเขามีธุรกิจหลายๆ ธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินเข้ามาอย่างเป็นระบบ เมื่อธุรกิจหนึ่งดำเนินไปได้ เขาก็ขยายธุรกิจไปสู่พื้นที่ใหม่หรือธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เขาถึงได้มีเครื่องผลิตเงินหลายๆ เครื่อง ขณะที่พวกเราส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) เป็นพ่อค้าคนที่สอง ที่ต้องออกไปตักน้ำมาขายลูกค้าทุกวันๆ วันไหนป่วย หยุดตักก็ไม่ได้เงิน
ตอนนี้รู้วิธีการสร้างเงินจากอากาศของเจ้าสัวแล้ว แต่ว่าเราจะไปหาสัมปทานบ่อน้ำที่ไหนดีละครับ
จาก BangkokBizWeek
ถ้าอ่านประวัตินักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งของไทยและของต่างประเทศ หลายๆ ท่านจะพบว่าความร่ำรวยของเขามีจุดเริ่มต้นมาจากศูนย์ ด้วยสมองและสองมือทำให้หลายคนสามารถคว้าเงินจากอากาศมาเข้ากระเป๋าตัวเองได้
ผมได้มีโอกาสสนทนากับทายาทเจ้าสัวที่ร่ำรวยติดอันดับต้นๆ ของไทย ยิ่งคุยด้วยยิ่งรู้สึกว่าผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า วิธีคิดของเจ้าสัวในการคว้าเงินจากอากาศทำได้อย่างไร แล้วทำไมคนธรรมดาอย่างเราที่ทำงานหนัก ขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบในการทำงาน ถึงได้หาเงินได้แค่พอเลี้ยงชีพหรือสร้างความมั่นคงในชีวิตได้แต่ไม่ยักกะรวยอย่างเขาเสียที
ทายาทเจ้าสัวท่านนี้เล่านิทานเรื่องหนึ่งในผมฟังในการสัมมนาภายในบริษัทของเขา
เรื่องมีอยู่ว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองแห่งหนึ่ง ทั้งเมืองมีบ่อน้ำอยู่เพียงบ่อเดียวที่คนทั้งเมืองต้องมาตักน้ำจากบ่อไปดื่มและใช้ ยิ่งเมืองเติบโตขึ้น มีคนมากขึ้น ความวุ่นวายจากการแย่งกันมาตักน้ำในบ่อของชาวเมืองก็ยิ่งมากขึ้น จนเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันไม่เว้นแต่ละวัน เพื่อลดความวุ่นวายและหารายได้เข้าเมือง จึงประกาศยกสัมปทานการใช้น้ำให้กับพ่อค้า 2 รายในเมือง โดยให้พ่อค้า 2 รายนี้เท่านั้นมีสิทธิตักน้ำจากบ่อนี้ไปขายให้คนในเมือง พอได้สัมปทานบ่อน้ำ พ่อค้าคนที่หนึ่งก็เดินทางออกจากเมืองหายไปหลายเดือน
ขณะที่พ่อค้าคนที่สองก็มีความสุขกับสัมปทานบ่อน้ำที่ได้รับ โดยขยันขันแข็งตื่นแต่เช้าทุกวันไปขนน้ำใส่รถเข็นมาบริการชาวเมืองในราคาที่เป็นธรรม ด้วยความรับผิดชอบเป็นอย่างสูงและมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้ชาวเมืองทุกคนได้รับน้ำอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะร้อนก็ออกไปขนน้ำมาให้บริการชาวเมือง โดยไม่ได้สนใจพ่อค้าคนที่หนึ่งที่หายสาบสูญไป
เวลาผ่านไป 6 เดือน พ่อค้าคนที่หนึ่งก็เดินทางกลับเข้ามาในเมืองพร้อมกับทีมงานและเครื่องไม้เครื่องมือ แล้วก็ลงมือเดินท่อน้ำจากบ่อน้ำเข้าไปที่บ้านของประชาชนทุกๆ คนในเมือง โดยคิดค่าน้ำในราคาในราคาที่ต่ำกว่าพ่อค้าคนที่สอง การที่ลูกค้าได้รับน้ำทุกๆ ครั้งที่เปิดก๊อก ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้น โดยที่จ่ายค่าน้ำลดลง ประชาชนเกือบทั้งเมืองจึงหันมาเป็นลูกค้าของพ่อค้าคนที่หนึ่ง เหลือเพียงญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทของพ่อค้าคนที่สองกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่ยังอุดหนุนกันอยู่เพราะความเกรงใจ
เวลาผ่านไปหลายปี พ่อค้าคนที่หนึ่งก็ร่ำรวยขึ้นอย่างมากและใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่ต้องตรากตรำทำงานหนักและยกธุรกิจให้ทายาทบริหารงานต่อไป ขณะที่พ่อค้าคนที่สองก็ยังคงทำงานอย่างขยันขันแข็งและมีความรับผิดชอบ ออกไปเข็นน้ำมาให้บริการลูกค้าที่มีอยู่ในมืองอย่างไม่ย่อท้อ โดยมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น พ่อค้าคนที่สองเริ่มตักน้ำไม่ค่อยไหว จึงประกาศจะยกธุรกิจของตนให้ลูกชายสืบทอดต่อ พอลูกชายรับทราบก็ถอนใจเก็บข้าวของเดินทางออกจากเมืองไปแล้วไม่ยอมกลับมาอีกเลย”
ทายาทเจ้าสัวสรุปให้ฟังว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “ความขยันขันแข็ง อดทน ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ เป็นคุณสมบัติที่ดีของการทำธุรกิจ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความฉลาดและวางแผนไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ มีความพร้อมเรื่อง Know How เทคโนโลยีและเงินทุนจากภายนอก เข้ามาสนับสนุน จึงจะทำธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
โดยที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเหนื่อยทำงานแบบเดิมๆ ทุกวัน ต้องปล่อยให้ระบบของธุรกิจดำเนินต่อไปได้เอง สร้างรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้เวลาเข้าไปดูแลมากนัก จะได้เอาเวลาไปคิดเพื่อปรับปรุงและขยายธุรกิจด้านอื่นๆ ต่อไป ไม่ต้องมาเหนื่อยกับการทำงานแบบเดิมๆ ไปชั่วชีวิต”
ฟังบทสรุปแล้วรู้ซึ้งเลยครับว่า คิดแบบเจ้าสัวเขาคิดอย่างไร มิน่าละเขาถึงร่ำรวยเพราะเขามีธุรกิจหลายๆ ธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินเข้ามาอย่างเป็นระบบ เมื่อธุรกิจหนึ่งดำเนินไปได้ เขาก็ขยายธุรกิจไปสู่พื้นที่ใหม่หรือธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เขาถึงได้มีเครื่องผลิตเงินหลายๆ เครื่อง ขณะที่พวกเราส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) เป็นพ่อค้าคนที่สอง ที่ต้องออกไปตักน้ำมาขายลูกค้าทุกวันๆ วันไหนป่วย หยุดตักก็ไม่ได้เงิน
ตอนนี้รู้วิธีการสร้างเงินจากอากาศของเจ้าสัวแล้ว แต่ว่าเราจะไปหาสัมปทานบ่อน้ำที่ไหนดีละครับ
จาก BangkokBizWeek
11/10/07
ตามรอยความคิดกูรูการจัดการเชิงกลยุทธ์และพัฒนาตนเอง “ไบรอัน เทรซี่”
"เราจะทำงานอย่างปกติสุขร่วมกับเจ้านายได้อย่างไร ? มีกลยุทธ์อะไรบ้างไหม? ที่จะทำให้เรารับมือกับทั้งเจ้านาย แฟน ภรรยา และลูกน้องได้?" คำถามในชีวิตประจำวันเหล่านี้ เทรซี่บอกว่า สิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือ ให้ยอมรับซะว่าอะไรในชีวิตที่ทำให้เครียด จงกล้าหาญและยอมรับกับตัวเองว่าเราผิดพลาดไปแล้ว บางครั้งต้องยอมรับผิดและอาจจะต้องจากกันด้วยดี
ไม่ต่างอะไรกับเวลาทำธุรกิจ แล้วยืนกรานว่าเราจะไม่ขายกิจการ แต่ปัจจุบัน 80% ถ้าส่อแววล้มเหลวแล้วเราจะยังทู่ซี้ต่อไปหรือไม่?
เขาตั้งคำถามว่า เวลายักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็ม จีเอ็ม หรือโกดัก ประสบปัญหา ผู้บริหารเหล่านี้เขาแก้เกมกันอย่างไร? สิ่งที่ดำเนินการคือ เอาประธานคนใหม่เข้ามา ใช้สายตาคู่ใหม่ ทำอะไรให้ใหม่ๆ ไม่ทำซ้ำกับของเดิม มีการขายบางแผนกออกไปถ้าค้นพบว่าไม่ทำกำไร ก็เหมือนกับชีวิตของคนเราถ้าทำอะไรพลาดไปแล้ว เราจะต้องไม่ทำซ้ำอีก และมองตัวเองอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา
"การลงทุนในเรื่องของเวลาก็เช่นกัน บางอย่างถ้าใช้เยอะเกินไปก็ไม่ดี อย่าไปทำซ้ำอีก อย่างเช่น 80% ของคนที่เรียนมหาวิทยาลัยจะค้นพบว่า บริษัทจะไม่จ้างคนมาทำงานในสิ่งที่เขาเรียน หรือเราเลือกวิชาเรียนผิด ไม่มีคุณค่าต่อตลาด ก็ถือเป็นการสูญเสียการลงทุน ศัพท์ทางบัญชีเรียกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จม"
กฎของความสำเร็จในสายตาของเทรซี่ เขาบอกว่า อย่าไปสนใจมากนักกับสิ่งที่ผ่านมา เหมือนกับการทิ้งหินในมหาสมุทร ผ่านแล้วก็แล้วกัน ยอมรับว่าพลาด อย่าไปใช้เวลาพูดถึงอดีตเพราะเปลี่ยนไม่ได้ เสียเวลาเปล่า แต่จงใช้พลังงานไปในเรื่องที่ถูกต้อง เคล็ดลับความสำเร็จคือ ไม่ใช้ฟืนทุ่มลงไปในกองไฟที่ดับแล้ว
"ถ้าเราเปิดใจ ยอมรับปัญหาที่คนทั่วไปไม่กล้ารับ ยอมรับว่าคิดผิด ทำผิด เป็นการลงทุนที่ไปเพิ่มค่าใช้จ่าย เราต้องยอมรับว่าเราเองก็ผิดได้ ยอมรับว่าไม่สมบูรณ์แบบ จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้นอย่างทันตา ถ้าคิดเป็นเหตุเป็นผลได้เราจะชนะได้"
...โน้มตัวไปข้างหน้า...
เมื่อยุติอดีตได้แล้ว เราก็ต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นคนหรือองค์กร เรื่องที่ต้องพูดและบอกกับตัวเองก็คือ เราจะต้องทำอะไรบ้าง? ถึงจะไปต่อได้ บางคนอยากยิ่งใหญ่ แต่ไม่เคยถามตัวเองเลยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง?
ความสำเร็จของอินเทลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเจ๊งไม่เป็นท่า บางบริษัทต้องปิดกิจการแล้วหันเหไปเริ่มธุรกิจใหม่ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า คนจะยิ่งใหญ่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงมหาศาล เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ทำไปแล้วจะประสบความสำเร็จ เพียงแต่ต้องลงมือทำให้มากขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ เราอาจจะเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงนั้น หรืออาจจะเป็นคนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็ได้
เขาเปรียบเทียบการวิ่งไปหาอนาคตเหมือนกับการเล่นสกี ถ้าทำให้เลื่อนไปข้างหน้าได้ แปลว่าสามารถควบคุมได้ และเวลาที่โน้มตัวไปข้างหน้าก็ทำให้ไปได้เร็วขึ้น แต่เวลาที่เกิดกลัวขึ้นมาตัวเองก็จะถูกดึงห่างออก แล้วก็ตกถึงพื้นในที่สุด
"เวลาเล่นสกีเราต้องไปข้างหน้าไปกับความเร็ว จะทำให้คุมได้ดีมาก เหมือนอนาคตไปข้างหน้า ก็จะทำให้เรามีอำนาจมากขึ้น สามารถคุมทิศทางและกำหนดอนาคตได้ด้วย ถ้าเมื่อไหร่? เราอ่อนแอ ก็จะกลายเป็นว่าสถานการณ์ควบคุมเรา ถ้าเราไม่มีแผนชัดเจน ทางเลือกเดียวคือต้องทำตามสถานการณ์ ดังนั้นเราต้องมีแนวคิดชัดเจน ต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ไม่ยอมเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง"
คนเก่งเขาทำกันอย่างไร?
เทรซี่ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตในการค้นคว้าหาความรู้ สืบเสาะว่าทำอย่างไร? คนเราถึงจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้? คำถามที่ผุดในใจเขาคือ ทำอย่างไร? ถึงจะให้ใครสักคนได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเอง
ทำไมบางคนถึงประสบความสำเร็จมากกว่าอีกคน เขาเฉลยว่า เป็นกฎแห่งเหตุและผล เช่นจะขายอย่างไร? หาลูกค้าอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้าง? ในการปิดการขาย สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จก็มีเพียงแค่ว่า เราทำในสิ่งที่คนอื่นคิดไว้แล้ว เรียนรู้ และนำสิ่งต่างๆ มาใช้
"ถ้าความคิดนั้นดี ผมจะลงมือทำ ลองไปหาลูกค้า 10 รายแล้วปฏิบัติทันที เอาสูตรความสำเร็จมาศึกษา กลายเป็นทักษะเฉพาะตัว ถ้าเราทำทุกอย่างที่คนอื่นทำ เราก็จะประสบความสำเร็จ เป็นไปตามกฎเหล็กที่ว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นมีที่มาที่ไป"
เทรซี่ยกตัวอย่างกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว ที่โค้ชมักจะสอนต่อๆ กันมาว่า เทคนิคที่ดีที่สุดในการเล่นกีฬาเพื่อก้าวสู่ความเป็นแชมป์คือ การเดินตามทางแห่งความสำเร็จ "ถ้าไม่ยอมแพ้ คุณจะไม่ยอมหยุดเดิน" สิ่งที่เขาย้ำคือ อย่ารอคอยความผิดหวัง ท้อแท้ หดหู่ เพราะนั่นหมายถึงว่า คุณจะไม่มีโอกาสได้เริ่มต้น
"เตรียมใจให้พร้อม พูดๆๆๆ กับตัวเองทุกวัน ตัดสินใจให้ได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร? ช่างมัน ต้องไม่ล้มเลิกความตั้งใจเหมือนเด็กหัดเดิน ไม่ว่าล้มไปกี่ครั้ง ต้องไม่เลิกทำ ล้มเหลวได้แต่ต้องไม่ยอมล้มเลิก"
เทรซี่ให้ความสำคัญมากกับความคิดความมุ่งมั่นภายในใจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานความสำเร็จของคนเก่ง เขามองว่าความคิดสร้างสรรค์สร้างชีวิตใหม่ได้ ในขณะที่ความคิดเป็นตัวสร้าง สภาวะจะกลายเป็นผลที่ตามติดมา "โลกภายนอกเป็นเพียงกระจกเงาของโลกความคิดภายใน คุณสามารถเป็นสิ่งที่คุณคิดได้ตลอดเวลา"
คนเก่งๆ เขาคิดกันอย่างไร? สุดยอดคนเขาทำกันอย่างไร? จะตั้งโปรแกรมอย่างไร? ให้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งหลายทั้งปวงที่กลุ่มคนเหล่านี้ทำก็คือการเรียนรู้
"คนที่ประสบความสำเร็จซึ่งมีเพียง 10% เขาคิดอะไรของเขาอยู่ตลอดเวลา แน่นอนสิ่งที่เขาคิดก็คือ เขาต้องการอะไร? และทำอย่างไร? ถึงจะได้อย่างที่ต้องการ คนสุดยอดคิดแต่ว่าต้องการอะไร? และจะได้มาได้อย่างไร? จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคอย่างไร? คนสุดยอดถามตัวเองว่า อย่างไร? หรือ How? ตลอดเวลา"
เขาย้ำมากในประเด็นของความคิดที่นำไปสู่การกระทำได้อย่างไร? ความคิดที่สามารถกระตุ้นให้คนเราทำอะไรบางอย่าง ที่อาจจะล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จก็ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร? มันจะนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ
เป็นความคิดเชิงบวกที่ไปทดแทนความคิดเชิงลบ เหมือนหันหน้าเข้าหาแสงสว่างที่มีเงาดำทอดไปข้างหลัง แสงสว่างสร้างพลังในจิตใจ และความสำเร็จก็มาจากการมองโลกในแง่ดี
ทุกปัญหาเป็นบทเรียน
หลายคนอาจจะอมยิ้มกับการมองต่างมุมของเทรซี่ กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆ ความหมายของคำว่าชีวิต "ชีวิตที่ไม่มีปัญหาเลยเป็นเรื่องน่าเบื่อ โอกาสความสำเร็จก็ยากขึ้น" เขาว่าอย่างนั้น สิ่งสำคัญที่ชวนคิดต่อก็คือ ปัญหาถ้าเกิดแล้วจะแก้อย่างไร? คนเราถ้าไม่เจ็บปวดจะไม่มีการเรียนรู้ และทั้งชีวิตมีหลายบทเรียนให้ต้องเรียน อำนาจที่ยิ่งใหญ่มากๆ จำเป็นต้องใช้การเรียนรู้นำทาง
"ปัญหาสร้างให้คนเรามีบทเรียนในชีวิตอย่างไรบ้าง? ปัญหายิ่งใหญ่ ยิ่งเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ คนที่ประสบความสำเร็จเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผลตอบแทนยิ่งสูงขึ้น ก็จะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น เราต้องเรียนรู้จากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตลอดเวลา ถือเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่ และยิ่งขุดลึกเท่าไหร่? ยิ่งมีบทเรียนมากเท่านั้น"
คนส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะเรียนรู้จากบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ทั้งๆ ที่การเรียนรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การแก้ไข การตัดสินใจที่ทำให้เกิดความโล่งอกโล่งใจติดตามมา "เฮ้อ! ฉันน่าจะทำอย่างนี้ไปตั้งนานแล้ว"
เขายกตัวอย่าง 1 ใน 5 บริษัทของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มัวแต่ไปยุ่งกับการแข่งขันในสินค้าที่คล้ายคลึงกัน แล้วมานั่งถามตัวเองว่าทำอย่างไร? ถึงจะยิ่งใหญ่ได้ ทำไม? อนาคตการทำงานถึงไม่สุดยอดเสียที? แปลว่าบริษัทนี้กำลังทำธุรกิจผิดประเภท สุดท้ายจึงต้องยอมขายกิจการออกไป คำถามก็คือเราต้องการความกล้าหาญขนาดไหน? ถึงจะมองเห็นบทเรียน เปิดไฟสว่างให้ตัวเอง
"พระเจ้ามักจะเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง ถ้าอยากได้ของขวัญชิ้นใหญ่ ปัญหายิ่งมาก สิ่งที่เราต้องทำคือ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วมาแก้ มีอะไรก็เรียนรู้เอาจากสิ่งเหล่านั้น"
เป้าหมายสร้างความสุข
เทรซี่บอกว่า ในชีวิตคนเรามี 3 เรื่องเท่านั้นที่มีผลอย่างยิ่งต่อการสร้างความสุข 1. คือเงิน 2. คือสุขภาพ และ 3. คือความสัมพันธ์ คนที่ประสบความสำเร็จนำไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร?
หลักๆ เลยคือการมองว่าต้องกากบาทเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน และความคิดถือเป็นงานที่ให้ผลกำไรมากที่สุด คิดอะไรก็ได้ตรงนั้น คิดดีก็ได้ดี คิดไม่ดีก็ได้ไม่ดี ขึ้นกับว่าเราจะไปกากบาทตรงไหน?
"ต้องมีจุดมุ่งที่ชัดในทุกเรื่องของชีวิต จุดมุ่งหมายสำคัญต้องคิดถึงรายได้ ทำงานให้ได้ผลผลิตมากเท่าที่ทำงานได้ 80% ของประชากรโลก ทำงานไป เล่นไป ไม่เคยคิดเลยว่าชั่วโมงหนึ่งหาเงินได้เท่าไหร่? ถ้าเราสามารถเพิ่มรายได้ 2 เท่าแต่ละชั่วโมงทำงาน ยิ่งสร้างผลิตผลได้เท่าไหร่? จะขยับรายได้มากขึ้นเท่านั้นจากล่างขึ้นไปถึงบน อะไรที่ทำแล้วไม่ได้เงินก็หยุดมันซะ ถามตัวเองว่าอยากเป็นนกอินทรีหรือเป็นเป็ด"
แง่ของสุขภาพและความสมบูรณ์ของร่างกาย การเดินถือเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีที่สุด วิธีของคนสุดยอดคิดก็คือ คิดถึงสุขภาพที่ได้จากการออกกำลังและคิดกันเป็นแบบอัตราต่อชั่วโมง
ความแตกต่างระหว่างสุดยอดคนกับสามัญชนคือ ในขณะที่คนสุดยอดก้าวไปสู่เป้าหมาย สามัญชนจะรอและนั่งรอไปตลอดชีวิต คนสุดยอดยินดีล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก ยิ่งพลาดบ่อยๆ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น คนสุดยอดคิดถึงเป้าหมายตลอดเวลา อยากได้อะไรก็ระบุลงไปชัดเจนเจาะจง ไม่ฝันลมๆ แล้งๆ แบบเด็กๆ 90% ของคนส่วนใหญ่มักไม่ลงมือทำ แต่อีก 10% ของยอดคนจะนำไปปฏิบัติจริง อย่างเช่น ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษต้องฝึกทุกวัน ทุกภาษาในโลก 80% จะอยู่ในคำพูด 1,200 คำ ศึกษาเท่านี้ก็สามารถใช้พูดคุยกับใครก็ได้ ดูทีวีก็ได้ ที่สำคัญภาษาอังกฤษเรียนวันละ 3 คำก็พอ
"ให้จินตนาการไว้เลยว่าเราประสบความสำเร็จ ความสุขทำให้เรามีพลัง มีเป้าหมาย ล้มแล้วลุกก้าวต่อไป คนมีเป้าหมายหน้าตาจะบอก"
สุดยอดคนต้องมุ่งมั่นกับความเป็นเลิศ กำหนดตัวเองให้ได้ว่าจะเป็นเลิศได้อย่างไร? อย่างเช่น อยากปิดการขายก็ต้องกำหนดได้ ควบคุมได้ และวัดผลได้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน หาให้ได้ว่าทักษะอะไร? พัฒนาแล้วมีผลต่อการทำงาน ทำให้เพิ่มรายได้มากเป็น 2 เท่า พัฒนาไปแล้วทักษะอันไหน? ช่วยมากที่สุด ให้กำลังใจตัวเองว่า ไม่มีใครฉลาดเท่าเรา ไม่มีใครทำดีเท่าเรา ต้องฝึกเรียนรู้ที่จะเป็นสุดยอดของคนที่มีเพียง 10% บนโลกใบนี้ ซึ่งจะเปลี่ยนชีวิตของเราไปเลย
ประเด็นสุดท้ายในเรื่องของความสัมพันธ์ เทรซี่เล่าว่า สุดยอดคนจะให้ความสนใจกับผู้คนตลอดเวลา ต้องทำให้สมดุลในแง่สัมพันธภาพทั้งที่ทำงานและที่บ้าน สิ่งที่แสดงออกได้ง่ายสุดคือ การยอมรับคนอื่นด้วยการยิ้มให้ เคารพเขาและให้ความสำคัญ แสดงความขอบคุณ ความซาบซึ้ง ชมเชย หรืออะไรก็ได้ที่แสดงออกถึงการยอมรับ
รวมถึงการให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง ตั้งใจฟังเวลาที่คนอื่นพูด ในขณะที่ผู้ชายต้องการเพียงแค่อาหารและเซ็กซ์ ผู้หญิงกลับต้องการความรักและความสนใจ ดังนั้นเรื่องที่ง่ายที่สุดคือ จงฟังในสิ่งที่ผู้หญิงเขาอยากจะพูด
"ปัญหาจะหมดไปแค่ฟัง ผู้ชายต้องการจริงๆ ในชีวิตไม่กี่เรื่อง แต่ผู้หญิงต้องการอะไรต่อมิอะไรพันอย่างในคราวเดียวกัน"
งานหลักของคนคือการแก้ปัญหา
เทรซี่มองปัญหาเหมือนคลื่นในมหาสมุทร มาอยู่เรื่อยๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง ขณะที่คนเราเองก็มีวิกฤติเกิดขึ้นทุก 2-3 เดือน ดังนั้นการมองปัญหาก็เหมือนกับได้เห็นอนาคต ต้องไม่ห่วงในเรื่องที่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะคนเรามีพลังจำกัด ไม่อย่างนั้นจะไม่มีพลังสำหรับอนาคต
ในเมื่องานหลักของคนเราคือการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญคือให้คิดถึงทางออก ไม่ใช่คิดถึงปัญหา เหมือนเวลาอยากโทรศัพท์ ก็แค่กดหมายเลขโทรออก เวลาแก้ปัญหาก็ต้องทำแบบเดียวกัน ในราว 50% ของปัญหาจะสามารถแก้ไขได้ ถ้ามีการบ่งชี้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ปัญหาไม่เคยมีเลย แต่ทางออกที่ทำให้คนเราแก้ปัญหาได้พอมีบ้าง
ตัวอย่างของการเบิ้ลยอดขายให้ได้ สิ่งที่ต้องถามตัวเองคือ ขายอะไร? คนซื้อได้ประโยชน์อะไรจากการซื้อสินค้าชิ้นนี้? เพราะลูกค้าไม่สนหรอกว่าคุณจะขายอะไร? สนแต่เพียงว่าสินค้าคุณทำอะไรให้เขาได้บ้าง? "ผู้หญิงไม่ได้ต้องการเครื่องสำอาง แต่ต้องการความสวยต่างหาก และเครื่องสำอางเป็นหนทางนำไปสู่ความสวย" ดังนั้นทั้งหมดที่ต้องการขายคือ ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด
เขาย้ำว่า ถ้ามีปัญหาอะไรก็ตาม ให้มองว่าทุกปัญหาทุกอุปสรรคนำไปสู่เมล็ดพันธุ์โอกาสอันยิ่งใหญ่กว่า ทุกปัญหามีคำตอบในตัวเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คนคิดใหม่ ทำใหม่ มองหาช่องทางปรับปรุง
"เราอยู่ในเวลาเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด โอกาสข้างหน้ามีมหาศาล เราทุกคนสามารถควบคุมวิถีชีวิตของตัวเอง ทำทุกวันให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่ต้องคิดถึงคือโอกาสไม่ใช่ปัญหา"
ทั้งหมดนี้คือ แก่นคิดของสุดยอดคน "ไบรอัน เทรซี่" กับรหัส (ไม่) ลับสู่ความสำเร็จ ด้วยการเริ่มต้นจากคำว่า How?
ที่มา
ผู้จัดการรายสัปดาห์
10 มีนาคม 2549
ไม่ต่างอะไรกับเวลาทำธุรกิจ แล้วยืนกรานว่าเราจะไม่ขายกิจการ แต่ปัจจุบัน 80% ถ้าส่อแววล้มเหลวแล้วเราจะยังทู่ซี้ต่อไปหรือไม่?
เขาตั้งคำถามว่า เวลายักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็ม จีเอ็ม หรือโกดัก ประสบปัญหา ผู้บริหารเหล่านี้เขาแก้เกมกันอย่างไร? สิ่งที่ดำเนินการคือ เอาประธานคนใหม่เข้ามา ใช้สายตาคู่ใหม่ ทำอะไรให้ใหม่ๆ ไม่ทำซ้ำกับของเดิม มีการขายบางแผนกออกไปถ้าค้นพบว่าไม่ทำกำไร ก็เหมือนกับชีวิตของคนเราถ้าทำอะไรพลาดไปแล้ว เราจะต้องไม่ทำซ้ำอีก และมองตัวเองอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา
"การลงทุนในเรื่องของเวลาก็เช่นกัน บางอย่างถ้าใช้เยอะเกินไปก็ไม่ดี อย่าไปทำซ้ำอีก อย่างเช่น 80% ของคนที่เรียนมหาวิทยาลัยจะค้นพบว่า บริษัทจะไม่จ้างคนมาทำงานในสิ่งที่เขาเรียน หรือเราเลือกวิชาเรียนผิด ไม่มีคุณค่าต่อตลาด ก็ถือเป็นการสูญเสียการลงทุน ศัพท์ทางบัญชีเรียกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จม"
กฎของความสำเร็จในสายตาของเทรซี่ เขาบอกว่า อย่าไปสนใจมากนักกับสิ่งที่ผ่านมา เหมือนกับการทิ้งหินในมหาสมุทร ผ่านแล้วก็แล้วกัน ยอมรับว่าพลาด อย่าไปใช้เวลาพูดถึงอดีตเพราะเปลี่ยนไม่ได้ เสียเวลาเปล่า แต่จงใช้พลังงานไปในเรื่องที่ถูกต้อง เคล็ดลับความสำเร็จคือ ไม่ใช้ฟืนทุ่มลงไปในกองไฟที่ดับแล้ว
"ถ้าเราเปิดใจ ยอมรับปัญหาที่คนทั่วไปไม่กล้ารับ ยอมรับว่าคิดผิด ทำผิด เป็นการลงทุนที่ไปเพิ่มค่าใช้จ่าย เราต้องยอมรับว่าเราเองก็ผิดได้ ยอมรับว่าไม่สมบูรณ์แบบ จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้นอย่างทันตา ถ้าคิดเป็นเหตุเป็นผลได้เราจะชนะได้"
...โน้มตัวไปข้างหน้า...
เมื่อยุติอดีตได้แล้ว เราก็ต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นคนหรือองค์กร เรื่องที่ต้องพูดและบอกกับตัวเองก็คือ เราจะต้องทำอะไรบ้าง? ถึงจะไปต่อได้ บางคนอยากยิ่งใหญ่ แต่ไม่เคยถามตัวเองเลยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง?
ความสำเร็จของอินเทลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเจ๊งไม่เป็นท่า บางบริษัทต้องปิดกิจการแล้วหันเหไปเริ่มธุรกิจใหม่ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า คนจะยิ่งใหญ่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงมหาศาล เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ทำไปแล้วจะประสบความสำเร็จ เพียงแต่ต้องลงมือทำให้มากขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ เราอาจจะเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงนั้น หรืออาจจะเป็นคนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็ได้
เขาเปรียบเทียบการวิ่งไปหาอนาคตเหมือนกับการเล่นสกี ถ้าทำให้เลื่อนไปข้างหน้าได้ แปลว่าสามารถควบคุมได้ และเวลาที่โน้มตัวไปข้างหน้าก็ทำให้ไปได้เร็วขึ้น แต่เวลาที่เกิดกลัวขึ้นมาตัวเองก็จะถูกดึงห่างออก แล้วก็ตกถึงพื้นในที่สุด
"เวลาเล่นสกีเราต้องไปข้างหน้าไปกับความเร็ว จะทำให้คุมได้ดีมาก เหมือนอนาคตไปข้างหน้า ก็จะทำให้เรามีอำนาจมากขึ้น สามารถคุมทิศทางและกำหนดอนาคตได้ด้วย ถ้าเมื่อไหร่? เราอ่อนแอ ก็จะกลายเป็นว่าสถานการณ์ควบคุมเรา ถ้าเราไม่มีแผนชัดเจน ทางเลือกเดียวคือต้องทำตามสถานการณ์ ดังนั้นเราต้องมีแนวคิดชัดเจน ต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ไม่ยอมเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง"
คนเก่งเขาทำกันอย่างไร?
เทรซี่ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตในการค้นคว้าหาความรู้ สืบเสาะว่าทำอย่างไร? คนเราถึงจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้? คำถามที่ผุดในใจเขาคือ ทำอย่างไร? ถึงจะให้ใครสักคนได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเอง
ทำไมบางคนถึงประสบความสำเร็จมากกว่าอีกคน เขาเฉลยว่า เป็นกฎแห่งเหตุและผล เช่นจะขายอย่างไร? หาลูกค้าอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้าง? ในการปิดการขาย สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จก็มีเพียงแค่ว่า เราทำในสิ่งที่คนอื่นคิดไว้แล้ว เรียนรู้ และนำสิ่งต่างๆ มาใช้
"ถ้าความคิดนั้นดี ผมจะลงมือทำ ลองไปหาลูกค้า 10 รายแล้วปฏิบัติทันที เอาสูตรความสำเร็จมาศึกษา กลายเป็นทักษะเฉพาะตัว ถ้าเราทำทุกอย่างที่คนอื่นทำ เราก็จะประสบความสำเร็จ เป็นไปตามกฎเหล็กที่ว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นมีที่มาที่ไป"
เทรซี่ยกตัวอย่างกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว ที่โค้ชมักจะสอนต่อๆ กันมาว่า เทคนิคที่ดีที่สุดในการเล่นกีฬาเพื่อก้าวสู่ความเป็นแชมป์คือ การเดินตามทางแห่งความสำเร็จ "ถ้าไม่ยอมแพ้ คุณจะไม่ยอมหยุดเดิน" สิ่งที่เขาย้ำคือ อย่ารอคอยความผิดหวัง ท้อแท้ หดหู่ เพราะนั่นหมายถึงว่า คุณจะไม่มีโอกาสได้เริ่มต้น
"เตรียมใจให้พร้อม พูดๆๆๆ กับตัวเองทุกวัน ตัดสินใจให้ได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร? ช่างมัน ต้องไม่ล้มเลิกความตั้งใจเหมือนเด็กหัดเดิน ไม่ว่าล้มไปกี่ครั้ง ต้องไม่เลิกทำ ล้มเหลวได้แต่ต้องไม่ยอมล้มเลิก"
เทรซี่ให้ความสำคัญมากกับความคิดความมุ่งมั่นภายในใจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานความสำเร็จของคนเก่ง เขามองว่าความคิดสร้างสรรค์สร้างชีวิตใหม่ได้ ในขณะที่ความคิดเป็นตัวสร้าง สภาวะจะกลายเป็นผลที่ตามติดมา "โลกภายนอกเป็นเพียงกระจกเงาของโลกความคิดภายใน คุณสามารถเป็นสิ่งที่คุณคิดได้ตลอดเวลา"
คนเก่งๆ เขาคิดกันอย่างไร? สุดยอดคนเขาทำกันอย่างไร? จะตั้งโปรแกรมอย่างไร? ให้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งหลายทั้งปวงที่กลุ่มคนเหล่านี้ทำก็คือการเรียนรู้
"คนที่ประสบความสำเร็จซึ่งมีเพียง 10% เขาคิดอะไรของเขาอยู่ตลอดเวลา แน่นอนสิ่งที่เขาคิดก็คือ เขาต้องการอะไร? และทำอย่างไร? ถึงจะได้อย่างที่ต้องการ คนสุดยอดคิดแต่ว่าต้องการอะไร? และจะได้มาได้อย่างไร? จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคอย่างไร? คนสุดยอดถามตัวเองว่า อย่างไร? หรือ How? ตลอดเวลา"
เขาย้ำมากในประเด็นของความคิดที่นำไปสู่การกระทำได้อย่างไร? ความคิดที่สามารถกระตุ้นให้คนเราทำอะไรบางอย่าง ที่อาจจะล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จก็ได้ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร? มันจะนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ
เป็นความคิดเชิงบวกที่ไปทดแทนความคิดเชิงลบ เหมือนหันหน้าเข้าหาแสงสว่างที่มีเงาดำทอดไปข้างหลัง แสงสว่างสร้างพลังในจิตใจ และความสำเร็จก็มาจากการมองโลกในแง่ดี
ทุกปัญหาเป็นบทเรียน
หลายคนอาจจะอมยิ้มกับการมองต่างมุมของเทรซี่ กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆ ความหมายของคำว่าชีวิต "ชีวิตที่ไม่มีปัญหาเลยเป็นเรื่องน่าเบื่อ โอกาสความสำเร็จก็ยากขึ้น" เขาว่าอย่างนั้น สิ่งสำคัญที่ชวนคิดต่อก็คือ ปัญหาถ้าเกิดแล้วจะแก้อย่างไร? คนเราถ้าไม่เจ็บปวดจะไม่มีการเรียนรู้ และทั้งชีวิตมีหลายบทเรียนให้ต้องเรียน อำนาจที่ยิ่งใหญ่มากๆ จำเป็นต้องใช้การเรียนรู้นำทาง
"ปัญหาสร้างให้คนเรามีบทเรียนในชีวิตอย่างไรบ้าง? ปัญหายิ่งใหญ่ ยิ่งเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ คนที่ประสบความสำเร็จเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผลตอบแทนยิ่งสูงขึ้น ก็จะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น เราต้องเรียนรู้จากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตลอดเวลา ถือเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่ และยิ่งขุดลึกเท่าไหร่? ยิ่งมีบทเรียนมากเท่านั้น"
คนส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะเรียนรู้จากบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ทั้งๆ ที่การเรียนรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การแก้ไข การตัดสินใจที่ทำให้เกิดความโล่งอกโล่งใจติดตามมา "เฮ้อ! ฉันน่าจะทำอย่างนี้ไปตั้งนานแล้ว"
เขายกตัวอย่าง 1 ใน 5 บริษัทของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มัวแต่ไปยุ่งกับการแข่งขันในสินค้าที่คล้ายคลึงกัน แล้วมานั่งถามตัวเองว่าทำอย่างไร? ถึงจะยิ่งใหญ่ได้ ทำไม? อนาคตการทำงานถึงไม่สุดยอดเสียที? แปลว่าบริษัทนี้กำลังทำธุรกิจผิดประเภท สุดท้ายจึงต้องยอมขายกิจการออกไป คำถามก็คือเราต้องการความกล้าหาญขนาดไหน? ถึงจะมองเห็นบทเรียน เปิดไฟสว่างให้ตัวเอง
"พระเจ้ามักจะเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง ถ้าอยากได้ของขวัญชิ้นใหญ่ ปัญหายิ่งมาก สิ่งที่เราต้องทำคือ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วมาแก้ มีอะไรก็เรียนรู้เอาจากสิ่งเหล่านั้น"
เป้าหมายสร้างความสุข
เทรซี่บอกว่า ในชีวิตคนเรามี 3 เรื่องเท่านั้นที่มีผลอย่างยิ่งต่อการสร้างความสุข 1. คือเงิน 2. คือสุขภาพ และ 3. คือความสัมพันธ์ คนที่ประสบความสำเร็จนำไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร?
หลักๆ เลยคือการมองว่าต้องกากบาทเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน และความคิดถือเป็นงานที่ให้ผลกำไรมากที่สุด คิดอะไรก็ได้ตรงนั้น คิดดีก็ได้ดี คิดไม่ดีก็ได้ไม่ดี ขึ้นกับว่าเราจะไปกากบาทตรงไหน?
"ต้องมีจุดมุ่งที่ชัดในทุกเรื่องของชีวิต จุดมุ่งหมายสำคัญต้องคิดถึงรายได้ ทำงานให้ได้ผลผลิตมากเท่าที่ทำงานได้ 80% ของประชากรโลก ทำงานไป เล่นไป ไม่เคยคิดเลยว่าชั่วโมงหนึ่งหาเงินได้เท่าไหร่? ถ้าเราสามารถเพิ่มรายได้ 2 เท่าแต่ละชั่วโมงทำงาน ยิ่งสร้างผลิตผลได้เท่าไหร่? จะขยับรายได้มากขึ้นเท่านั้นจากล่างขึ้นไปถึงบน อะไรที่ทำแล้วไม่ได้เงินก็หยุดมันซะ ถามตัวเองว่าอยากเป็นนกอินทรีหรือเป็นเป็ด"
แง่ของสุขภาพและความสมบูรณ์ของร่างกาย การเดินถือเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีที่สุด วิธีของคนสุดยอดคิดก็คือ คิดถึงสุขภาพที่ได้จากการออกกำลังและคิดกันเป็นแบบอัตราต่อชั่วโมง
ความแตกต่างระหว่างสุดยอดคนกับสามัญชนคือ ในขณะที่คนสุดยอดก้าวไปสู่เป้าหมาย สามัญชนจะรอและนั่งรอไปตลอดชีวิต คนสุดยอดยินดีล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก ยิ่งพลาดบ่อยๆ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น คนสุดยอดคิดถึงเป้าหมายตลอดเวลา อยากได้อะไรก็ระบุลงไปชัดเจนเจาะจง ไม่ฝันลมๆ แล้งๆ แบบเด็กๆ 90% ของคนส่วนใหญ่มักไม่ลงมือทำ แต่อีก 10% ของยอดคนจะนำไปปฏิบัติจริง อย่างเช่น ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษต้องฝึกทุกวัน ทุกภาษาในโลก 80% จะอยู่ในคำพูด 1,200 คำ ศึกษาเท่านี้ก็สามารถใช้พูดคุยกับใครก็ได้ ดูทีวีก็ได้ ที่สำคัญภาษาอังกฤษเรียนวันละ 3 คำก็พอ
"ให้จินตนาการไว้เลยว่าเราประสบความสำเร็จ ความสุขทำให้เรามีพลัง มีเป้าหมาย ล้มแล้วลุกก้าวต่อไป คนมีเป้าหมายหน้าตาจะบอก"
สุดยอดคนต้องมุ่งมั่นกับความเป็นเลิศ กำหนดตัวเองให้ได้ว่าจะเป็นเลิศได้อย่างไร? อย่างเช่น อยากปิดการขายก็ต้องกำหนดได้ ควบคุมได้ และวัดผลได้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน หาให้ได้ว่าทักษะอะไร? พัฒนาแล้วมีผลต่อการทำงาน ทำให้เพิ่มรายได้มากเป็น 2 เท่า พัฒนาไปแล้วทักษะอันไหน? ช่วยมากที่สุด ให้กำลังใจตัวเองว่า ไม่มีใครฉลาดเท่าเรา ไม่มีใครทำดีเท่าเรา ต้องฝึกเรียนรู้ที่จะเป็นสุดยอดของคนที่มีเพียง 10% บนโลกใบนี้ ซึ่งจะเปลี่ยนชีวิตของเราไปเลย
ประเด็นสุดท้ายในเรื่องของความสัมพันธ์ เทรซี่เล่าว่า สุดยอดคนจะให้ความสนใจกับผู้คนตลอดเวลา ต้องทำให้สมดุลในแง่สัมพันธภาพทั้งที่ทำงานและที่บ้าน สิ่งที่แสดงออกได้ง่ายสุดคือ การยอมรับคนอื่นด้วยการยิ้มให้ เคารพเขาและให้ความสำคัญ แสดงความขอบคุณ ความซาบซึ้ง ชมเชย หรืออะไรก็ได้ที่แสดงออกถึงการยอมรับ
รวมถึงการให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง ตั้งใจฟังเวลาที่คนอื่นพูด ในขณะที่ผู้ชายต้องการเพียงแค่อาหารและเซ็กซ์ ผู้หญิงกลับต้องการความรักและความสนใจ ดังนั้นเรื่องที่ง่ายที่สุดคือ จงฟังในสิ่งที่ผู้หญิงเขาอยากจะพูด
"ปัญหาจะหมดไปแค่ฟัง ผู้ชายต้องการจริงๆ ในชีวิตไม่กี่เรื่อง แต่ผู้หญิงต้องการอะไรต่อมิอะไรพันอย่างในคราวเดียวกัน"
งานหลักของคนคือการแก้ปัญหา
เทรซี่มองปัญหาเหมือนคลื่นในมหาสมุทร มาอยู่เรื่อยๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง ขณะที่คนเราเองก็มีวิกฤติเกิดขึ้นทุก 2-3 เดือน ดังนั้นการมองปัญหาก็เหมือนกับได้เห็นอนาคต ต้องไม่ห่วงในเรื่องที่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะคนเรามีพลังจำกัด ไม่อย่างนั้นจะไม่มีพลังสำหรับอนาคต
ในเมื่องานหลักของคนเราคือการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญคือให้คิดถึงทางออก ไม่ใช่คิดถึงปัญหา เหมือนเวลาอยากโทรศัพท์ ก็แค่กดหมายเลขโทรออก เวลาแก้ปัญหาก็ต้องทำแบบเดียวกัน ในราว 50% ของปัญหาจะสามารถแก้ไขได้ ถ้ามีการบ่งชี้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ปัญหาไม่เคยมีเลย แต่ทางออกที่ทำให้คนเราแก้ปัญหาได้พอมีบ้าง
ตัวอย่างของการเบิ้ลยอดขายให้ได้ สิ่งที่ต้องถามตัวเองคือ ขายอะไร? คนซื้อได้ประโยชน์อะไรจากการซื้อสินค้าชิ้นนี้? เพราะลูกค้าไม่สนหรอกว่าคุณจะขายอะไร? สนแต่เพียงว่าสินค้าคุณทำอะไรให้เขาได้บ้าง? "ผู้หญิงไม่ได้ต้องการเครื่องสำอาง แต่ต้องการความสวยต่างหาก และเครื่องสำอางเป็นหนทางนำไปสู่ความสวย" ดังนั้นทั้งหมดที่ต้องการขายคือ ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด
เขาย้ำว่า ถ้ามีปัญหาอะไรก็ตาม ให้มองว่าทุกปัญหาทุกอุปสรรคนำไปสู่เมล็ดพันธุ์โอกาสอันยิ่งใหญ่กว่า ทุกปัญหามีคำตอบในตัวเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คนคิดใหม่ ทำใหม่ มองหาช่องทางปรับปรุง
"เราอยู่ในเวลาเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด โอกาสข้างหน้ามีมหาศาล เราทุกคนสามารถควบคุมวิถีชีวิตของตัวเอง ทำทุกวันให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่ต้องคิดถึงคือโอกาสไม่ใช่ปัญหา"
ทั้งหมดนี้คือ แก่นคิดของสุดยอดคน "ไบรอัน เทรซี่" กับรหัส (ไม่) ลับสู่ความสำเร็จ ด้วยการเริ่มต้นจากคำว่า How?
ที่มา
ผู้จัดการรายสัปดาห์
10 มีนาคม 2549
11/9/07
BSC & KPIs. คืออะไร (ต่อ)
ดัชนี KPIs. สำหรับมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning & growth) ก็คงต้องเริ่มต้นที่แนวความคิดพื้นฐานที่ว่า “เพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ เราควรจะคงไว้ซึ่งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” “ To achieve our vision, how will we sustain our ability to change and improve” มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต จะพูดถึง คน ระบบและเทคโนโลยี่ ดังนั้นดัชนี KPIs. ก็จะเกี่ยวข้องกับคน ระบบและเทคโนโลยี่ ทางด้านคนหรือบุคลากรก็จะต้องกำหนดกลยุทธ์ว่าองค์กรจะให้ความสำคัญกับบุคลากรกลุ่มไหนที่จะมีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลว (Strategic staff) และบุคลากรกลุ่มนี้ควรจะมีความชำนาญหรือสามารถอะไรเป็นพิเศษ (Strategic skills & Strategic competencies) ถึงจะทำให้องค์กรมีจุดได้เปรียบเชิงการแข่งขันหรือสามารถบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจ ดัชนีที่นิยมวัดกันได้แก่ อัตราการลาออกของ Key staff, จำนวนชั่วโมงอบรมสัมมนาต่อคน, Competency level (โดยการทดสอบระดับความสามารถ) ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee satisfaction) , % ค่าใช้จ่ายด้านฝึกอบรมพัฒนาต่อยอดขาย , Employee productivity , Suggestion, สำหรับดัชนีสำหรับด้านเทคโนโลยี เช่น % เงินลงทุนด้าน Information technology , % ค่าใช้จ่าย R&D ต่อยอดขาย(ความสามารถในการพัฒนา Knowhow) , ระดับความสามารถของเทคโนโลยีหรือความพร้อมของเทคโนโลยี สำหรับดัชนีด้านระบบไดแก่ ความพร้อมของระบบงาน เช่นการมีระบบคุณภาพ ISO , ระบบวางแผนงบประมาณ ฯลฯ , % เงินลงทุนในระบบ (Operating system) ต่อยอดขาย , % บุคลากรที่ดูแลด้านพนักงาน ด้านเทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์และด้านระบบต่อพนักงานทั้งหมด นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทให้ความสำคัญจึงกล้าลงทุนและการลงด้านนี้มีความจำเป็นและสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเพราะเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บหรือเสริมศักยภาพการแข่งขันให้แก่องค์กรและเพื่อทำให้สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวดัชนี KPIs สำหรับมุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) ก็คงต้องเริ่มที่แนวความคิดพื้นฐานเช่นเดียวกับมุมมองที่กล่าวมาแล้ว 3 มุมมอง” เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ผลประกอบการด้านการเงินควรจะเป็นอย่างไรในสายตาผู้ถือหุ้น” “ To succeed financially, how should we appear to our shareholders?” การกำหนดดัชนีด้านนี้ไม่ยากเลยเพียงแต่ต้องสอบถามจากผู้ถือหุ้นเลยว่ามีความคาดหวังอะไรบ้าง เช่น ด้านความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง (Liquidity) ความสามารถในการบริหารความเสี่ยง (Risk) ความสามารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายคงที่หรือดอกเบี้ย (Coverage) สำหรับดัชนีด้านการเงินอย่างละเอียดคงจะต้องติดตามในฉบับหน้า อดใจรอหน่อยนะครับ ในฉบับที่แล้วได้รับปากว่าจะพูดถึงดัชนี KPIs. ในมุมมองด้านการเงินอย่างละเอียด ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจแนวความคิดพื้นฐานสำหรับมุมมองด้านนี้ก็คือว่า “เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ผลประกอบการด้านการเงินควรจะเป็นอย่างไรในสายตาผู้ถือหุ้น” “ To succeed financially, how should we appear to our shareholders?” โดยปกติทั่วไปการกำหนดดัชนี KPIs. ด้านการเงินที่ง่ายและตรงประเด็นก็คือการสอบถามจากผู้ถือหุ้นเลยว่าผู้ถือหุ้นคาดหวังผลงานด้านการเงิน (Financial performance) อะไรจากบริษัท ซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละบริษัทก็จะมีความคาดหวังแตกต่างกันออกไปและการที่ถามโดยตรงจากผู้ถือหุ้นก็เป็นการทำงานที่สั้นไม่ต้องมาเสียเวลาเดาความต้องการซึ่งผลจากการคาดเดาอาจทำให้ผิดๆถูกๆเสียเวลา ควรเอาเวลาที่มีค่าไปคิดเรื่องอื่นๆจะดีกว่า ในคราวนี้จะหยิบยกประสบการณ์ที่ทำงานด้าน Corporate planning และเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหาร ที่ได้มีโอกาสสัมผัสถึงความคาดหวังของผู้ถือหุ้นที่หลากหลาย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านและเป็นแนวทางในการกำหนดดัชนี KPIs. สิ่งที่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนต้องการก็คือผลตอบแทนจากการลงทุน(Return on investment) คงไม่มีใครลงทุนแล้วไม่หวังผลตอบแทน ฝากธนาคารยังต้องการดอกเบี้ย ดัชนี KPIs. ที่นิยมได้แก่ 1. % margin คือ กำไรเบื้องต้น(ยอดขายหักต้นทุนสินค้าขาย) โดยคิดเป็นร้อยละของยอดขาย(%) ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหรือแข่งกับตัวเอง คำว่าแข่งกับตัวเองหมายถึงเทียบกับที่เคยทำได้แล้วและควรจะทำให้ดีกว่าขึ้นไปเรื่อยๆ(Continuous improvement) ท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องวัดกำไรเบื้องต้น คำตอบก็คือกำไรเบื้องต้นเป็นผลของการบริหารการตลาด ท่านลองพิจารณา Product mix strategyเป้าหมายของ Product mix strategy คือทำอย่างไรให้ กำไรเบื้องต้นสูงที่สุด เช่นจากตัวอย่าง ทำอย่างไรบริษัทของเราจึงจะได้กำไรเบื้องต้นมากกว่า 1,400 ซึ่งมีวิธีการหลายวิธีด้วยกันดังนี้1. เพิ่มสัดส่วนยอดขายสำหรับสินค้าที่มี margin สูงให้มากขึ้น ก็คือสินค้า ก ซึ่งมี margin 33 % และมีสัดส่วนแค่ 9% เท่านั้น ดังนั้นถ้าเราเพิ่มยอดขายสินค้า ก จะพบว่าทุกๆ 100 บาทเราก็จะได้ margin 33 บาทเพราะถ้าเพิ่มสินค้า ค ทุกๆ100บาทจะได้ marginแค่ 4 บาท สรุปแล้วการเพิ่มยอดขายอาจจะเพิ่มปริมาณขายหรือราคาขายก็ได้ การเพิ่มปริมาณสินค้าที่มี % margin ท่านคงเคยเห็นตามร้านอาหารที่มีการอาหารชุด(Combo set) เช่นในชุดนั้นมีน้ำอัดลมอยู่ด้วย น้ำอัดลมต้นทุนต่ำมากหรือเรียกได้ว่ามี margin สูง ก็ขายพ่วงเข้าไป หรือบางชุดมีซุปอยู่ด้วยก็เช่นกันนอกจากนั้นเราก็สามารถตัดกำไรส่วนหนึ่งมาเป็นส่วนลดนั่นหมายความว่าถ้าซื้อเป็นชุดจะถูกกว่าซื้อแยก วิธีการเช่นนี้ท่านคงเคยสัมผัสแน่นอน แสดงว่าร้านอาหารนั้นใช้หลักการของ Product mix strategy เพื่อเพิ่มกำไรเบื้องต้นหรือไม่ก็ลดต้นทุนสินค้าขาย เทคนิคเอาไปช่วยผลักสินค้าที่ขายไม่ดีให้มียอดขายมากขึ้นวิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เพิ่มราคาไม่ได้ ซึ่งท่านสามารถนำเอาแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจของท่านได้และถ้าได้ผลอย่าลืมแจ้งข่าวกันบ้างที่ 01-86949152.การเพิ่มกำไรเบื้องต้น อาจจะเพิ่ม % margin ของสินค้าก็ได้ เช่นโดยการเพิ่มราคาหรือไม่ก็ลดต้นทุน การลดต้นทุนก็อาจจะต่อรองต้นทุนต่อหน่วยหรือจะซื้อแบบมีส่วนลดปริมาณ(Quantity discount) หรือมีส่วนลดเงินสด(Cash discount)2. ดัชนี ROA : Return on asset ก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในทรัพย์สิน คำนวณได้จากกำไรหารด้วยทรัพย์สินรวมคูณร้อย หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ดัชนีนี้สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารทรัพย์สินว่าใช้ทรัพย์สินคุ้มหรือไม่(Asset turnover)และความสามารถในการกำไร(Profitability) ดังสมการข้างล่างนี้ROA = กำไร x 100 = ยอดขาย x กำไร x 100 ทรัพย์สิน ทรัพย์สิน ยอดขาย= รอบหมุนในทรัพย์สิน x % กำไร แนวความคิดก็คือว่า ถ้าอยากจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ก็อาจทำได้ 2 วิธีคือ1. เพิ่มรอบหมุนในทรัพย์สิน วิธีเพิ่มทำได้โดยเพิ่มยอดขายหรือไม่ก็ลดทรัพย์สินการเพิ่มยอดขายได้กล่าวไปแล้วในข้อ 1 การลดทรัพย์สินก่อนอื่นก็จะต้องทราบก่อนว่าทรัพย์สินประกอบด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนและทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินหมุนเวียนก็ประกอบด้วยเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือและทรัพย์สินหมุนเวียนอื่น ส่วนทรัพย์สินถาวรก็ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ ท่านคงสงสัยแล้วใช่ไหมว่าทำไมต้องลดทรัพย์สิน ลองดูตัวอย่างแล้วจะเข้าใจ เช่นเรามีลูกหนี้การค้ามาก ถ้ามากขึ้นเพราะเราขายมากขึ้นไม่เป็นไรแต่ถ้ามากขึ้นเพราะลูกหนี้เหนียวหนี้ไม่ยอมจ่าย อายุลูกหนี้ก็ยาวขึ้นเช่นจาก 30 วันเป็น 40 วัน เราเคยขายเฉลี่ยวันละ 1 ล้าน ถ้าเครดิตเทรม 30 วันเราก็จะมีลูกหนี้การค้า 30 ล้าน ถ้าลูกหนี้เรายาวขึ้นอีก 10 วันก็เท่ากับเรามีลูกหนี้มากขึ้นอีก 10 ล้านบาท ทำให้ทรัพย์สินในงบดุลเพิ่มอีก 10 ล้าน รอบหมุนในทรัพย์สินก็จะตกลง ดังนั้นหลายบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพย์สินอย่างมากไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ยิ่งสินค้าคงเหลือยิ่งเก็บมากเก็บนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะสูญหาย เสื่อมสภาพ ล้าสมัย เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บ ชึ่งสมัยนี้เขากำลังพูดถึง JIT : Just in time กันแล้วคือพยายามให้มีสต็อกวัตถุดิบหรือสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลยได้ยิ่งดีแต่นั่นท่านจะต้องมีระบบข้อมูลที่ดี ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน บุคลากรเป็นมืออาชีพ มีการวางแผนงานประสานงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่งมายังโรงงาน การนำเข้าผลิตจนออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจัดส่งให้ลูกค้าที่จะต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากๆ ถ้าทำได้เช่นนี้รับรองบริษัทของท่านเป็นผู้นำตลาดแน่นอนและอยากให้กำลังใจว่าไม่ยากและก็ไม่มีอะไรซับซ้อนยุ่งยากเพียงแต่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทรัพย์สินถาวรก็ต้องไปพิจารณาว่ามี Idle หรือไม่ หรือใช้ไม่คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าเจอปัญหาดังกล่าวท่านก็จะต้องหาทางใช้ประโยชน์ หรือไม่ก็ขายออกไปเก็บเป็นสดขึ้นมาดีกว่า ท่านเห็นหรือไม่ว่าการที่ผู้ถือหุ้นอยากเห็น ROA สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไปผลักดันให้มีการปรับปรุงพัฒนาในขบวนการธุรกิจตาม The balanced scorecard : BSC ในมุมมอง internal business process ตามที่ยกตัวอย่างมาแล้วเช่นปรับปรุงขบวนการไปสู่ JIT โดยอาศัย supply chain management เป็นต้น 2. เพิ่มกำไรต่อยอดขาย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่ม ROA การเพิ่มกำไรเบื้องต้นได้พูดไปแล้วในหัวข้อ product mix strategy คำว่ากำไรสุทธิ ท่านต้องเอากำไรเบื้องต้นมาหักด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเช่นค่าใช้จ่ายขาย ค่าใช้จ่ายบริหาร ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยจ่ายเป็นต้น การลดค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกลยุทธ์พอสมควร การลดค่าใช่จ่ายไม่ใช่การตัดค่าใช้จ่าย การลดค่าใช้จ่ายเกิดจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ (Productivity) การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพ (Efficiency) การลดลงของค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มีผลกระทบต่อ Performance ค่าใช้จ่ายขายหรือบริหารจะคิดเป็น % ต่อยอดขาย ดังนั้นควรมุ่งไปที่การลดลงในเชิง % ไม่ใช่ตัวเงินลดลง ตัวเงินมากขึ้นแต่ % ลดลงนั่นแสดงว่ายอดขายมากขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายคงเดิมหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการมุ่งหารายได้ดีกว่ามุ่งตัดรายจ่าย การตัดรายจ่ายยังคงต้องทำเช่นกันแต่ทำเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเท่านั้นและต้องไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน3. Trendดัชนี Growth ทั้งตลาดใหม่และตลาดเก่า (New & Existing Market) คำถามก็คือว่าทำไมผู้ถือหุ้นจึงสนใจอัตราการเจริญเติบโต จากการได้พูดคุยด้วยพบว่า ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์มีอายุไขของมันหรือเรียกว่า Business life cycle หรือ product life cycle การยึดติดกับธุรกิจหนึ่งธุรกิจได วันหนึ่งธุรกิจนั้นมีปัญหาขึ้นมา บริษัทจะอยู่อย่างไร Life cycle จะประกอบด้วย Introduction stage, Growth stage, Maturity stage &Declining stage การทำให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดในระยะยาว (Long term renewal)จากกราฟที่แสดงจะเห็นว่าธุรกิจ A วันหนึ่งก็ต้องเข้าสู่ช่วงตกต่ำของธุรกิจ แทนที่เราจะรอให้ถึงวันนั้น บริษัทก็มีความจำเป็นที่จะสร้างธุรกิจใหม่ B ,C ในช่วงที่ธุรกิจ A กำลังทำกำไร บริษัทก็ต้องกันกำไรส่วนหนึ่งมาสร้างธุรกิจ B หรือ C ตามลำดับ จากกราฟ จะเห็นว่าพอธุรกิจ A เริ่มจะตก B ก็มาแทนที่ พอ B จะตก C ก็มาแทนที่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าฝ่ายจัดการสามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตไว้ได้ ผู้ถือหุ้นชอบใจแน่นอน ไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น stakeholder อื่นๆเช่นพนักงาน ผู้ขายสินค้า หรือวัตถุดิบให้เรา หรือแม้แต่ธนาคารก็ต้องชอบใจเพราะนั่นคือความมั่นคงที่ทุกคนไฝ่หาอยู่แล้ว การจะออกสินค้าใหม่หรือธุรกิจใหม่ หรือแม้แต่ตลาดใหม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ต้องมีการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นนับตั้งแต่การวิจัยตลาดเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ว่าถ้าออกสินค้าใหม่ออกมาแล้วจะขายได้หรือไม่ หรือมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน (Feasibility study) การลงทุนสร้าง Line การผลิตใหม่ หรือแม้แต่สร้างโรงงานใหม่ หรือเปิดสำนักงานขายในต่างประเทศเพื่อหาลู่ทางเปิดตลาดใหม่ ที่กล่าวมาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดในระยะยาวทั้งสิ้นและสิ่งที่กล่าวมานี้ก็คือมุมมองด้านการเรียนและเติบโต (Learning & growth perspective) ที่จะส่งผลไปยังมุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) หรือมุมมองด้านการเงินมากำหนดกิจกรรมหรือการลงทุนในมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต คำว่า growth อาจจะหมายถึงอัตราการเจริญเติบโตของทรัพย์สินรวม (Total Assets) หรืออัตราการเจริญเติบโตของส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) เพราะเป็นดัชนีชี้ความมั่งคั่ง3. ดัชนีความเสี่ยง (Risk) ซึ่งนิยมวัดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt – Equity ratio) นี้อัตราส่วนยิ่งต่ำยิ่งดี เช่น 1:1 ย่อมเสี่ยงน้อยกว่า 3:1 แน่นอน เพราะเงินที่นำมาใช้ในกิจการจะประกอบด้วย 2 แหล่งคือ การกู้ยืมและจากส่วนผู้ถือหุ้น เช่น 3:1 แสดงว่าใน 100 ส่วนของเงินที่ใช้ในกิจการมาจากการเป็นหนี้ 75 % ย่อมต้องเสี่ยงกว่า 1:1 ที่มีหนี้แค่ 50 % เท่านั้น ถามว่าถ้าไม่เป็นหนี้เลยดีไหม คำตอบแล้วแต่มุมมอง ผู้บริหารที่เป็น Risk avoider จะชอบแต่ Risk taker จะไม่ชอบการเป็นหนี้ทำให้เรามีเงินทุนมาขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ถ้าใช้แต่เงินส่วนผู้ถือหุ้นก็จะทำธุรกิจได้จำกัด ส่งผลทำให้โตช้าแต่ก็ไม่เสี่ยง คำว่าเสี่ยงแปลว่าเราไปเป็นหนี้และเอามาทำธุรกิจ ถ้าธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ประสบกับภาวะขาดทุน สินค้าก็ขายไม่ออก ไม่มีเงินชำระหนี้ สุดท้ายเป็น NPL 4. ดัชนีสภาพคล่อง (Liquidity) ดัชนีนี้มีความสำคัญไม่แพ้ดัชนีที่กล่าวมา เพราะกิจการขาดทุนไม่เป็นไรแต่อย่าขาดสภาพคล่อง เหมือนคนขาดเลือดก็จะอยู่ไม่ได้ ดัชนีนี้เป็นอัตราส่วนของทรัพย์สินหมุนเวียน (Current asset) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน (Current liability) หรือจะตีความว่ากิจการของเรามีทรัพย์สินหมุนเวียนเพียงพอในการจ่ายคืนหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ เช่นเราเก็บเงินจากลูกหนี้มาจ่ายเจ้าหนี้เพียงพอ จึงเกิดคำกล่าวที่ “เก็บเงินเร็วแต่จ่ายเงินให้ช้า” ถ้าจะวัดสภาพคล่องให้ดีกว่านี้จะต้องหักสินค้าคงเหลือออกจากทรัพย์สินหมุนเวียนแล้วค่อยหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินได้ช้า
BSC & KPIs. คืออะไร
มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning & Growth) มุมมองด้านนี้จะหมายถึงการปรับปรุงพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร ระบบการทำงาน เทคโนโลยี หรือแม้แต่วัฒนธรรมองค์กร การตลาด การสร้างตรายี่ห้อ ภาพพจน์องค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อองค์กรในระยะยาว การพัฒนาคน ระบบ เทคโนโลยี ก็เพื่อให้ขบวนการต่างๆมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง ค่าใช้จ่ายต่ำ การปรับปรุง (renovate) ร้านไม่ดูโทรม สกปรก ดูทันสมัยและใหม่ อุปกรณ์เมื่อครบอายุงานก็เปลี่ยนใหม่ ทำให้น่าใช้ ปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ์ เช่นตู้เย็นก็ต้องเย็นตามมาตรฐาน เพื่อจะได้เก็บถนอมอาหารได้นาน เครื่องมือบางชนิดมีการซ่อมบำรุงที่ดีก็จะทำในประหยัดพลังงาน ในด้านบุคลากรก็จะต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของขบวนการต่างๆ หรือให้สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการเช่นในด้านบริการที่อบอุ่นและเป็นมิตร ดังนั้นบุคลากรก็จะต้องมีการคัดเลือกคนที่มี Service minded มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น หน้าตารับแขก มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าได้คนแบนี้มาบริการลูกค้าๆก็จะได้สิ่งที่ต้องการ หรือคนที่มีอยู่แล้วก็ต้องมีการอบรม พัฒนา ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องโยกย้ายหางานที่เหมาะสมให้ทำ สรุปแล้วการบริหารบุคลากรมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าพนักงานมีความพึงพอใจในงาน ในความก้าวหน้าอาชีพ ในความเป็นอยู่ส่วนตัว พนักงานก็จะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ ด้วยความเต็มใจ ด้วยความกระตือรือร้น ลูกค้าก็พลอยเกิดความพึงพอใจในบริการ เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ลูกค้าก็จะเป็นลูกค้าประจำ เกิดความจงรักพักดี Loyalty ปากต่อปาก ลูกค้าก็ยิ่งมากขึ้น ยอดขายก็เติบโต ผลกำไรก็เติบโตตามไปด้วย ในมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโตยังต้องพูดถึงการพัฒนาระบบการทำงาน หรือมาตรฐานการทำงาน เช่นการนำระบบ ISO มาใช้เพื่อให้เกิดคุณภาพ มาตรฐาน ในทุกหน่วยงาน ทั่วทั้งองค์กรโดยสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสารหรือผ่านระบบการตรวจสอบภายใน IQA หรือการประยุกต์ใช้ระบบงบประมาณ (Budgeting) เพื่อให้ผู้บริหารทำการวางแผนล่วงหน้าว่าจะทำอะไรบ้าง ทำเมื่อไหร่ ใช้เงินเท่าไหร่ ถ้าทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไรต่อลูกค้าหรือต่อองค์กร ถ้าใช้จ่ายหรือลงทุนอย่างที่เสนอมาแล้ว อัตราผลกำไร(ขาดทุน) ของแต่ละร้านสาขาจะเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าผลประกอบการแย่ลงก็ต้องไปทบทวน ต้นทุน ค่าใช้จ่ายกันใหม่ นอกจากนี้ก็ต้องไปดูงบกระแสเงินสดว่าถ้าลงทุนอย่างที่เสนอมานี้ เงินสดติดลบหรือบวก ถ้าติดลบแล้วผู้ถือหุ้นไม่มีนโยบายเพิ่มทุน ก็ต้องไปทบทวนการลงทุนถึงความจำเป็น ความรีบด่วน ลำดับความสำคัญ โดยตัดทอนลงเพื่อไม่ให้งบกระแสเงินสดติดลบ หลังจากงบประมาณผ่านการพิจารณา แผนงาน แผนการลงทุน หรืองบประมาณรายรับ รายจ่าย ผลกำไร ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินผลหรือดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโตยังจะต้องพูดถึงด้านเทคโนโลยีทั้ง Hardware และ Software ถ้าเป็น Hardware ก็หมายถึงการนำเอาเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ลดความเสียหาย ลดความผิดพลาดของพนักงาน ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง บริการลูกค้าได้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา ส่วนทางด้าน Software จะหมายถึงวิธีการทำงาน ความรู้ เช่นสูตรในการทำน้ำจิ้ม ซึ่งถือเป็นความลับทางธุรกิจ แพ้ชนะกันที่น้ำจิ้ม หรือสูตรขั้นตอนการปรุงอาหาร ซึ่งถือเป็น Know how ที่สำคัญหรืออย่างเช่นหัวเชื้อของโค๊ก เป็บซี่เป็นต้น มุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) ซึ่งจะต้องถามคำถามเหมือนกันว่า เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน ผลประกอบการในสายตาผู้ถือหุ้นควรเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้ถือหุ้นจะต้องกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ฝ่ายจัดการอาทิเช่น ความสามารถในการทำกำไร มีการเจริญเติบโตทางธุรกิจ มีอัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นยอมรับ โดยที่มีความเสี่ยงในอัตราที่ยอมรับได้ รวมถึงการบริหารสภาพคล่องที่ดี ความสำเร็จด้านการเงินจะเป็นผลมาจากความสำเร็จทั้งสามมุมมองดังกล่าวข้างต้น ดังที่กล่าวมาทั้งสี่มุมมอง ล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จะขาดมุมมองหนึ่งมุมมองไดไม่ได้จะทำให้ขาดความสมดุล เพราะถ้าขาดแล้วองค์กรก็จะขาดความแข็งแรงไป เช่น ผลที่ได้จากการเงินหรือผลกำไร ก็นำมาลงทุนในมุมองด้านการเรียนรู้และเติบโต เช่นลงทุนในคน ระบบและเทคโนโลยี การลงทุนด้านนี้ก็จะส่งผลไปยังมุมมองด้านขบวนการภายใน ทั้งคุณภาพและเวลาของขบวนการ (Process quality & process cycle time) ถ้ามุมมองด้านขบวนการภายในประสบความสำเร็จ ก็ย่อมจะส่งผลถึงมุมมองด้านลูกค้าและมุมมองด้านการเงิน จะเห็นได้ว่าสัมพันธ์เป็นสายโซ่แห่งความสำเร็จ 4-มุมมองของ The Balanced scorecards ได้แก่มุมมองด้านลูกค้า (Customer perspective) มุมมองด้านขบวนการภายใน (Internal business process perspective) มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning & Growth perspective) และมุมมองด้านการเงิน (Financial perspective) โดยทั้ง4-มุมมองจะต้องพัฒนาไปในทิศทางวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กรที่กำหนดไว้ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งทั้ง4-มุมมองจะส่งผลหรือเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เช่นขบวนการทำงานมีประสิทธิภาพและคุณภาพ (Internal business process perspective) จะส่งผลให้ใช้เวลาในการส่งมอบสินค้าหรือบริการสั้นลงหรือส่งมอบได้ทันเวลา(On time delivery) ขบวนการภายในนอกจากจะส่งผลเรื่องเวลาส่งมอบแล้วยังจะส่งผลไปยังคุณภาพของสินค้าและบริการหรือพูดง่ายๆลูกค้าจะได้ในส่งที่ลูกค้าต้องการจนเกิดความพึงพอใจ (Customer perspective) นอกจากนั้นขบวนการภายในที่ดีมีประสิทธิภาพยังจะส่งผลไปยังต้นทุนที่ต่ำๆก็ส่งผลไปยังการเติบโตของกำไร ที่ผู้ถือหุ้นต้องการ (Financial perspective) แน่นอนที่สุดขบวนการภายใน (Internal business process perspective) จะมีประสิทธิภาพก็เป็นผลมาจากมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning & Growth perspective) ทั้งด้านคน ระบบ และเทคโนโลยี เช่นถ้าองค์กรมีคนที่ดี มีความกระตือรือร้น มีความสามารถ (Competency) ตรงกับงานที่รับผิดชอบซึ่งองค์กรจะต้องมีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพเป็นสากลและมืออาชีพ นอกจากเรื่องคน องค์กรจะต้องมีการนำเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Hardware technology) มาช่วยการทำงานของคนให้เร็วขึ้น ทำงานได้มากขึ้น สามารถลดความผิดพลาด ลดความสูญเสีย (Human error) รวมถึง (Software technology) ได้แก่วิธีการทำงาน Know how เคล็ดลับต่างๆ สูตรหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่นโปรแกรมบัญชี โปรแกรมควบคุมสต็อก ฯลฯ นอกจากนั้นแล้วองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับระบบ (System) เช่นระบบบริหารคุณภาพ ISO ,HACCP , GMP , QS9000, Corporate planning, Budgeting, Career path, Incentive system, ระบบการประเมินผลด้วย KPIs.(Balanced scorecard) , Salary structure ,ตารางอำนาจการบริหาร (Authority table) ระบบการผลิต ระบบคลังและจัดส่ง ระบบการจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบ ระบบการขายและการตลาดฯลฯ ความสัมพันธ์ของทั้ง 4-มุมมองที่เหนียวแน่นและมีผลซึ่งกันและกัน-ถือเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์หรือความสำเร็จที่ต้องการ คำถามที่จะต้องถามกันต่อไปก็คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าทั้ง4-มุมมองขององค์กรของเราทำได้ดีแค่ไหน-ดีพอหรือยังและควรจะปรับปรุงด้านไดบ้าง-คำว่าดีหรือไม่ดีจะใช้อะไรเป็นดัชนีวัด คำถามดังกล่าวจึงเป็นที่มาของคำว่า Key Performance Indicators: KPIs. ซึ่งจะคอยทำหน้าที่วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่สำคัญ คำว่าสำคัญก็แปลว่ามีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร เหมือนรถยนต์มีที่วัดความร้อน ความเร็ว น้ำมัน เพราะถ้าไม่วัดสิ่งเหล่านี้ การขับรถคงไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางแน่นอน เช่นน้ำมันหมด หม้อน้ำแห้งความร้อนเกิดพิกัดต้องลากเข้าอู่เสียเวลา ซึ่งท่านผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์มาบ้างนะครับ ต่อไปนี้เราจะมาทำความเข้าใจดัชนี KPIs. ที่จะนำมาใช้ในแต่ละมุมมองดังนี้ในมุมมองด้านลูกค้า(Customer perspective) ซึ่งแนวความคิดอยู่ที่ว่าเพื่อให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ที่ต้องการ องค์กรควรจะเป็นอย่างไรในสายตาลูกค้า (“To achieve our vision, how should we appear to our customers?”) เช่นในสายตาลูกค้าหมู่บ้านจัดสรรที่ต้องการจะมีที่ออกกำลังกาย เช่นมีที่ให้วิ่งรอบหมู่บ้าน มีสนามเล่นเทนนิส มีสระว่ายน้ำ มีโต๊ะปิงปอง มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งทางผู้บริหารโครงการก็ให้ความสำคัญจัดเตรียมทุกอย่างไว้บริการลูกค้าอย่างครบถ้วน ลูกค้าเวลาจะตัดสินใจก็จะต้องดูว่าทางหมู่บ้านให้ในสิ่งที่ต้องการหรือไม่ ถ้าทุกอย่างลงตัว ไม่ว่าตัวบ้านแบบก็ถูกใจ ราคาก็อยู่ในงบประมาณที่รับได้ สภาพแวดล้อมภายนอกหมู่บ้านก็ไม่น่าจะมีอันตราย อากาศก็ดี สิ่งอำนวยความสะดวกก็พร้อม ระบบรักษาความปลอดภัยก็พร้อมและมีประสิทธิภาพ เมื่อตัดสินใจซื้อและก็เข้ามาอยู่จริง ปรากฏว่าไม่ผิดหวัง ไม่เคยมีขโมยเข้าหมู่บ้านเลย หมู่บ้านเองก็ทำตามสัญญาทุกประการ เวลามีเรื่องเดือดร้อน น้ำไม่ไหล ไฟไม่สว่าง ก็มีเจ้าหน้าที่มาดูแลอย่างรวดเร็ว สุภาพ เป็นกันเองและอบอุ่น สถานที่ส่วนกลางก็มีการซ่อมแซมบำรุงรักษาไม่ให้ทรุดโทรม อยู่แล้วร่มเย็นและพอใจ สิ่งที่ตามมาก็คือไม่ว่าบริษัทนี้จะขึ้นอีกกี่โครงการลูกค้าก็จะแนะนำเพื่องฝูง ญาติพี่น้องมาซื้อ อยากให้คนที่รู้จักได้ในสิ่งที่ดีและตัวเองก็มีประสบการณ์ที่ดี เมื่อยกตัวอย่างมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านเริ่มเห็นดัชนี KPIs. หรือยัง ดัชนีก็คือ % หรือสัดส่วนที่ลูกค้าเก่าแนะนำลูกค้าให้ เช่นมีลูกค้าในโครงการอยู่ 100-รายปรากฎว่าในบรรดาลูกค้าเก่า100-รายแนะนำลูกค้าให้ถึง 70-รายหรือคิดเป็น 70 % ซึ่งผู้บริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรรอยากให้ % การแนะนำลูกค้าใหม่ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายด้านการตลาดของบริษัทนี้นับวันจะต่ำลงเรื่อยๆ ในทางกลับกันผลกำไรก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ฝ่ายการตลาดก็ต้องเหนื่อย ระหว่างโครงการหมู่บ้านกำลังดำเนินงานอยู่ดัชนีอีกตัวหนึ่งก็คือ ข้อร้องเรียนจากลูกค้า (Customer complaint) เพราะถ้าจำนวนข้อร้องเรียนจากลูกบ้านในหมู่บ้านยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าการดำเนินงานของโครงการมีปัญหาแน่นอน ผู้บริหารจะต้องรีบเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยด่วน โดยหาสาเหตุของปัญหา กำหนดวิธีแก้ปัญหาและกำหนดวิธีการป้องกันรวมถึงการติดตามการแก้ไขปัญหา มาถึงตรงจุดนี้ท่านก็จะได้อีกหนึ่งดัชนีคือ การแก้ไขข้อร้องเรียน (Complain collective action) และดัชนีที่เกี่ยวกับการป้องกันเช่น การให้การอบรม (Education & Training) ในกรณีที่ข้อร้องเรียนนั้นสาเหตุมาจากความพกพร่องของบุคลากรของบริษัท ที่กล่าวมา ท่านได้ 3-ดัชนีแล้ว ดัชนีที่นิยมวัดในมุมมองด้านลูกค้ายังมีอีกได้แก่ ความพึงพอใจลูกค้า (Customer satisfaction) ส่วนแบ่งตลาด (Market share) ระยะเวลาการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product) ชื่อเสียง การเป็นที่รู้จักหรือความนิยม (Brand awareness) ซื่งดัชนีเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จที่แท้จริงและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของบริษัทดัชนี KPIs. สำหรับมุมมองด้านขบวนการภายใน (Internal business process) ก่อนอื่นก็ต้องเริ่มที่แนวความคิดพื้นฐานของมุมมองนี้ก็คือ “ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ถือหุ้นและของลูกค้า องค์กรควรจะต้องปรับปรุงพัฒนาขบวนการ (Process) “ To satisfy our shareholders and customers what business processes must we excel at?” ลองมาดูตัวอย่าง คำว่าเพื่อลูกค้าหมายถึงเราจะต้องเริ่มที่ความต้องการของลูกค้า เช่นลูกค้าต้องการการส่งมอบที่ทันเวลา (On time delivery) ดัชนีก็จะต้องวัดเกี่ยวกับการส่งมอบ เช่น % การส่งมอบทันเวลา ซึ่งวัดจากจำนวนครั้งหรือจำนวนออเดอร์ที่ส่งมอบทันเวลาเทียบกับจำนวนส่งมอบทั้งหมด คูณ 100 หน่วยเป็น % โดยเป้าหมายดัชนีนี้คือ 100 % ตั้งเป้าต่ำกว่า 100% แปลว่าตั้งใจจะส่งมอบไม่ครบตั้งแต่แรก ถ้าตั้งเป้าแบบนี้ รับรองได้เลยจะได้ตามนั้น ในการวัด % ส่งมอบทันเวลาอย่างเดียวคงไม่พอเพราะเป็นการวัดตอนสุดท้าย สมมุติมีออเดอร์ที่พลาดส่งไม่ทันเวลา คำถามก็คือว่าจะแก้ไขให้ทันเวลาก็ทำไม่ได้ในเมื่อมันพลาดไปแล้ว วิธีที่ปลอดภัยเราก็ต้องไปวัดการส่งมอบในแต่ละขบวนการเหมือนวิ่งผลัด 4x100 แต่ละช่วงจะต้องทำเวลาให้ได้ตามที่กำหนดถึงจะทำให้เวลารวมอยู่ในกำเวลาที่กำหนด ในขบวนการภายในของธุรกิจก็เหมือนวิ่งผลัด คือเป็นขบวนการที่ต่อเนื่อง Out put ของขบวนการหนึ่งก็ไปเป็น In put ของขบวนการถัดไป ดังนั้นดัชนีที่น่าจะวัดกันก็คือ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับออเดอร์ลูกค้าไปจนถึงลูกค้าได้รับสินค้า (Order fulfillment cycle) ซึ่งดัชนีเป็นที่นิยมอย่างมากและต้องพยายามลดระยะเวลานี้ลง การจะลดเวลานี้ลงได้คงต้องทำหลายวิธี เช่นปรับปรุง Lay out ให้การทำงานใช้เวลาได้เร็วขึ้น ปรับปรุงระยะเวลาจัดซื้อ (Purchasing lead time) ให้สั้นลงเรื่อย การผลิตก็พิจารณานำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต (Capacity) หรือลดเวลาในการผลิต เพราะใช้คนทำจะสู้เครื่องจักรไม่ได้อยู่แล้ว หรือลดเวลาโดยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน หรือลดเวลาลงโดยพัฒนาฝีมือความชำนาญให้แก่บุคลากร นอกจากเรื่องเวลาส่งมอบแล้ว สิ่งที่ลูกค้าต้องการก็คือ สินค้าที่มีคุณภาพ ดัชนีที่นิยมใช้วัดก็คือ % สินค้าสำเร็จรูปที่ไม่ผ่าน QA (Quality Assurance) , % สินค้าระหว่างผลิตที่ไม่ผ่าน QA , % วัตถุดิบ วัสดุต่างๆที่ไม่ผ่าน QA ทั้งสามดัชนีนี้ถ้าสามารถควบคุมให้ต่ำลงเรื่อยๆ นอกจากลูกค้าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพแล้วยังทำให้เวลาการผลิตลดลง เพราะสินค้าระหว่างผลิตที่ไม่ผ่านQA จะต้องนำมาทำใหม่หรือมาแก้ไข (Rework) บางบริษัท % Rework สูงมากถึง 50 % ดังนั้นถ้าลด% Rework ลงได้นั่นหมายความว่ากำลังการผลิตสามารถสูงขึ้นได้เท่าตัวโดยไม่ต้องเพิ่มเครื่องจักร นอกจากดัชนีที่เกี่ยวกับเวลาส่งมอบและเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าแล้วก็ยังมีดัชนีที่เกี่ยวกับต้นทุน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบต่อตันหรือต่อยอดขาย ในธุรกิจอาหารจะวัด % Food cost ,% Beverage cost ,Conversion cost (ต้นทุนที่ใช้ไปในการเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป) , % wastage ,% scrape ,% spoilage ,% Loss % Yield ยิ่งมีการสูญเสีย เสียหาย เน่าเสียยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเท่านั้น การควบคุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด (Standard cost) หรือต่ำลงเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าผลกำไรก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการของผู้ถือหุ้น(ผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุน) โดยสรุปดัชนี KPIs. ที่เกี่ยวข้องกับมุมมองด้านขบวนการภายในจะหนี้ไม่พ้นดัชนีที่เกี่ยวกับเวลาผลิต เวลาส่งมอบ (Time) ปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) ต้นทุน (Cost)
If you can’t measure it, you can’t manage it
If you can’t measure it, you can’t manage it. “ถ้าคุณไม่สามารถวัดมันได้ คุณก็ไม่สามารถบริหารมันได้ “ การวัดและการบริหารเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? การบริหารจัดการ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ ถ้าจะเรียกว่าบริหารเก่ง เราจะพิจารณาจากอะไร ? คำตอบก็คือ บริหารแล้วสามารถทำให้ องค์กรบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) การวัด (Measurement) ก็ถือเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารเช่นเดียวกัน การบริหารเปรียบเสมือนการขับรถยนต์ ซึ่งต้องมีหน้าปัทม์รถยนต์ (ดัชนีชี้วัด:KPIs.) ที่ช่วยให้เราทราบว่าความเร็วเท่าไหร่ ความร้อนเป็นอย่างไร น้ำมันเหลือเท่าไหร่แล้ว ประโยชน์ของการดูหน้าปัทม์เช่นด้วยความเร็วเท่านี้จะทำให้เราถึงที่หมายได้ทันเวลาหรือเปล่าและการทำงานของเครื่องยนต์อยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ถ้าไม่ปกติ ขณะนี้ออกนอกเกณฑ์ที่ยอมรับ (Acceptable range) แล้วหรือยัง ระดับน้ำมันเป็นอย่างไรเพียงพอหรือไม่ จะเห็นได้ว่า ถ้าเราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์หรือควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ การจะถึงที่หมายก็คงมีปัญหา อุปสรรค์แน่นอน ผู้บริหารก็คือคนขับรถที่ต้องคอยควบคุมเครื่องยนต์ ซึ่งต้องคอยมองไปข้างหน้า คอยมองกระจกหลังหรือมองด้านข้างๆเพื่อคอยระมัดระวังรถคันอื่นๆที่อาจจะทำให้เรามีปัญหา(คู่แข่งขัน) คำว่าการบริหาร แปลว่าเริ่มที่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จากนั้นก็ต้องถามต่อว่า ถ้าจะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจะต้องทำอะไร (What) ไครเป็นคนทำ (Who) ทำเมื่อไหร่ (When) หรือจะเรียกว่าแผนปฏิบัติ (Action plan) ก็ได้ คำถามถัดมาของการบริหารก็คือ เพื่อให้เราสามารถดำเนินตามแผนปฏิบัติดังกล่าวเราจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง (งบประมาณ) อาทิเช่น คน เงิน เครื่องจักร อุปกรณ์ (4 M) มากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามแผน (Implementation) เมื่อเกิดการปฏิบัติเมื่อไหร่ ก็ต้องเกิดผลลัพธ์ (Result) ขึ้นเมื่อนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ (Result) เป็นอย่างไร เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่ สาเหตุเพราะอะไร ขบวนการตรงนี้เรียกว่าการวิเคราะห์ (Analysis) เมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย เราก็ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เช่นปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติ ทบทวนความพร้อมและศักยภาพของทรัพยากร หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือวิธีการฯลฯ ประเด็นอยู่ที่ว่า เราจะวิเคราะห์ได้ ก็ต้องมีข้อมูล จะรู้ข้อมูลก็ต้องมีการรวบรวม จัดเก็บและรายงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาต่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวก็จะมีทั้งข้อมูลย้อนกลับ(Feed back information) หรือเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ประโยชน์ที่จะได้ก็แค่ป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดซ้ำอีก(ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย) แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้นมาอีก และข้อมูลการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Feed forward information) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ เราก็จะได้แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าหรือทำการบ้านล่วงหน้า การวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือ Feed back system ยังมีจุดอ่อนเพราะการวัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือหมดเวลาแล้วถึงจะมารู้เราไม่บรรลุเป้าหมาย แต่มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเราแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว อย่างดีเพื่อเอาตัวรอดโดยรีบหาคำอธิบายว่าสาเหตุที่ไม่บรรลุเป้าหมายเกิดจากสาเหตุอะไร โดยสรุปแล้วขบวนการบริหารดังกล่าวข้างต้นประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการและการความคุม ถ้าบริหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ก็คงจะต้องมาทบทวนขบวนการบริหารว่าแต่ละขบวนการเราทำได้ดีแค่ไหน มีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่นมีแผนงานที่ดีไหม การจัดองค์กรชัดเจนในอำนาจและหน้าที่และการบังคับบัญชาหรือไม่ มีการจัดคนเข้าทำงานเหมาะสมหรือไม่ ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจแผนหรือคำสั่งดีพอหรือไม่ สุดท้ายมีการติดตามวิเคราะห์ประเมินผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรค์ได้ทันท่วงทีหรือไม่ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือขบวนการบริหารจัดการอย่างง่ายๆที่ทรงประสิทธิภาพ แต่หัวใจอยู่ที่เราจะรู้ได้อย่างไรในทุกๆขั้นตอนว่าเกิดอะไรขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอุสรรค์ต่อความสำเร็จที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ยิ่งรู้เร็วเท่าไหร่ เราก็สามารถแก้ไขได้ทันกาลเท่านั้น คำว่ารู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการวัด(Measure) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดดัชนีชี้วัด (Indicators) โดยที่ดัชนีชี้วัดดังกล่าวจะต้องมีความสัมพันธ์กับปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยวิกฤติ (Key success factor & Critical success factor) เช่นปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤติ อยู่ที่ ส่งมอบทันเวลา (On time delivery) สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาก็คือปัจจัยอะไรที่จะทำให้เกิดอุปสรรค์ต่อการส่งมอบ เราก็ต้องเฝ้าติดตามปัจจัยนั้นโดยกำหนดเป็นดัชนีวัดที่เรียกว่า Key Performance Indicators : KPIs. สำหรับเวลาที่ใช้ไปในแต่ขบวนการ (Process cycle time) ความสำคัญของดัชนีชี้วัดเพื่อมุ่งสู่ผลความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ถูกนำมาใช้ในทุกวงการ อาทิเช่น วงการกีฬา วงการธุรกิจ วงการการศึกษา ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้บริหารอยากรู้ว่าผลงานของตัวเองเป็นอย่างไร มีจุดอ่อนอยู่ตรงไหน จะได้รีบแก้ไขก่อนที่จะหมดเวลา หรืออยากจะวัดถึงความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อสินค้าเราเป็นต้น หรืออยากจะวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือคุณภาพของขบวนการ ว่าสามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าได้ดีแค่ไหน ดัชนีชี้วัดเพื่อมุ่งสู่ผลความสำเร็จ KPIs. เป็นเรื่องของการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) เพราะมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงาน จากนั้นก็จะมาพิจารณาว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤตคืออะไร ปัจจัยดังกล่าวเกี่ยวเนื่องจากขบวนการ (Process) อะไรบ้าง และเราควรจะเฝ้าติดตาม Out put อะไรของแต่ละขบวนการอะไรบ้างและอย่างไร (เหมือนเฝ้าติดตาม Critical path activities ของ PERT เพราะถ้าเวลาของ Critical path ล่าช้าจากเป้าหมาย ระยะเวลาของโครงการก็จะล่าช้าแน่นอน) “What you measure is what you get”. วัดอะไรก็จะได้อันนั้น นับเป็นเคล็ดลับที่สำคัญในการออกแบบดัชนี KPIs. จากประสบการณ์ที่อยู่ในอาชีพการสร้างดัชนีวัดผลงานหรือวัดประสิทธิภาพตั้งแต่ปี 2523 เมื่อครั้งประจำตำแหน่ง Corporate planning manager สำนักวางแผนและพัฒนา เครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) 7 ปีเต็ม ออกจากซีพี 2530 ยึดอาชีพที่ปรึกษาและวิทยากรอิสระมาจนมาถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาการทำงาน ปรากฏว่าลักษณะงานเกี่ยวข้องกับการวางแผน การสร้างดัชนีเพื่อวัดผลงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนสุดท้ายก็เอาผลที่ได้จากการวัดผลงานไปใช้ขึ้นเงินเดือน คำว่าวัดอะไรได้อันนั้น เพื่อให้เห็นภาพจึงอยากจะยกตัวอย่างโรงแรมแห่งหนึ่งที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษา ปรากฏว่าจานแตก แก้วแตก ช้อนหาย เฉลี่ยเดือนละ 85,000 บาท(ปี 1999) จึงได้ปรึกษากับกรรมการผู้จัดการว่าเราน่าจะสร้างดัชนีใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ จึงได้กำหนดชื่อว่า Breakage และก็ตั้งเป้าหมายที่ 30,000 บาท ปรากฏว่าปลายปี 2000 สถิติลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย เพราะถ้าสูงกว่า 30,000 บาท ดัชนีนี้จะไม่ได้คะแนนและคะแนนมีผลต่อการขึ้นเงินเดือน ในไป 2001 ได้ตั้งเป้าหมาย 25,000 บาท ปรากฏว่า 5 เดือนแรกยังแตกไม่เกินเป้าหมาย จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า เมื่อวัดอะไร พนักงานก็จะให้ความสำคัญอันนั้นและก็จะดูแลอันนั้นเป็นพิเศษ เหมือนสมัยเรียนหนังสือถ้าโรงเรียนไม่มีการสอบวัดผล รับรองได้เลยนักเรียนไม่ได้ดูหนังสือ บางคนมารู้เรื่องก่อนสอบเพราะเพื่อนติวไห้เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ก็คือ 5 ส แรกๆก็สนใจกันดี นานๆเข้าก็จางหายไปแม้แต่ฝ่ายจัดการยังไม่พูดถึงเลย ตามบอร์ดประกาศก็ยังติดโครงสร้างคณะกรรมการ 5 ส แถมฝุ่นจับ คณะกรรมการก็ยังเกี่ยงกัน อ้างไม่มีเวลา สุดท้ายเข้าตำราไฟไหม้ฝาง หลายบริษัทแก้ปัญหานี้โดยการนำมาเป็นดัชนี KPIs. เรียกชื่อว่า 5 ส และให้ออกคะแนนแต่ละหน่วยงานทุกเดือน ผลปรากฏว่า โครงการ 5 ฟื้นคืนชีพ เพราะวัดอะไร พนักงานจะให้ความสำคัญอันนั้น สรุปแล้วถ้าเราไม่วัด เราก็จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และที่เกิดขึ้นนั้นความเสียหายมากน้อยแค่ไหน การวัดทำให้ทราบผลลัพธ์(Key Result) เปรียบเสมือนหน้าปัทม์รถยนต์ บางดัชนีเป็นสัญญาณเตือนภัย (Warning System) ทำให้เราสามารถป้องกันปัญหาได้ล่วงหน้าไม่ต้องเผชิญกับความเสียหายที่ไม่อาจจะเรียกกลับคืนมาได้ การวัดทำให้เราสามารถยกระดับสิ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันให้สูงขึ้นและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) การวัดทำให้เรารู้ถึงความต้องการและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ ธนาคาร พนักงาน ผู้ถือหุ้น หรือสังคมรอบข้าง การวัดทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้ได้สนับสนุนการสร้างศักยภาพขององค์กรเพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในระยะยาวหรือไม่ The Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators ซึ่งถือเป็นเรื่องที่กำลังฮิตมากในวงการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าใครพูดถึงแล้วเราไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจ รับรองว่าเชยแน่นอน ก่อนอื่นคงจะต้องตอบคำถามที่ค้างคาใจกันก่อน ว่า BSC และ KPIs. แตกต่างกันอย่างไรหรือเหมือนกันอย่างไร แท้ที่จริงแล้ว BSC ก็คือระบบบริหารหรือเครื่องมือบริหารจัดการชนิดหนึ่งนั่นเอง ที่ต้องอาศัย KPIs. เป็นเครื่องมือที่จะช่วยวัดผลความสำเร็จ หรือระบบบริหาร ISO 9001:2000 ก็มีการใช้ KPIs. วัดผลเพราะไม่เช่นนั้นเราก็ไม่สามารถ ทำ Continuous improvement ได้เลยถ้าเราวัดไม่ได้ ดังนั้น BSC ก็คือชื่อเรียกระบบ เมื่อพูดถึง KPIs. จะไม่พูดถึง BSC ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ เพราะบริษัทหรือองค์กรสามารถนำเอา KPIs. มาใช้ได้โดยไม่สนใจแนวคิดของ BSC ก็ได้ เพราะการวัดผลความสำเร็จอาจจะเริ่มที่การกำหนด Areas ที่สำคัญๆที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร (Key Result Areas : KRA) หรือเริ่มจากการหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors KSF) หรือปัจจัยวิกฤต (Critical Success Factor : CSF) แล้วถึงมากำหนดดัชนี KPIs. เช่นโรงงานหนึ่งผลิตชิ้นส่วนส่งให้โรงงานผลิตรถยนต์ที่ใช้ระบบเป็นแบบ JIT ดังนั้น CSF ของโรงงานนั้นจะอยู่ที่ On time delivery เพราะถ้าส่งมอบไม่ทัน โรงงานรถยนต์คงยกเลิกสัญญาแน่นอน เพราะโรงงานประกอบรถยนต์มี Suppliers หลายรายด้วยกัน ถ้า Line การผลิตต้องหยุดรอชิ้น ส่วนจากเราผู้เดียว ก็คงเป็นไปไม้ได้ ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าปัจจัยวิกฤตของเราคือเวลาส่งมอบ ดังนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรก็คือ ทำอย่างไรให้เวลาสูญเสียน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยหรือเวลาในการprocess สั้นที่สุด นั่นแปลว่าองค์กรจะต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากๆ นับตั้งแต่ขบวนการจัดหา จัดส่งวัสดุ หรือวัตถุดิบ การตรวจรับ การนำเข้าสู่ขบวนการผลิต การขนส่งหรือส่งมอบแก่ลูกค้าหรือจะเรียกว่าต้องมีระบบ Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพมากๆ โดยจะต้องทำงานร่วมกันประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ Supplier หรือแม้แต่ทุกขบวนการภายในของเราเองรวมไปถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างโรงงานและลูกค้า ในเมื่อหัวใจสำคัญอยู่ที่เวลา KPIs. ก็จะต้องเน้นวัดไปที่เวลาของแต่ละขบวนการ โดยจะจะต้องกำหนด Critical Core Process ; CCP และมีการวัดเวลาและเป้าหมายของพนักงานก็จะเป็นเรื่องการลดลงของเวลา การลดเวลาสูญเสีย เช่นสูญเสียเนื่องจาก รอวัตถุดิบ ซ่อมแซมเครื่องจักรขัดข้อง ไฟฟ้าดับ ,Rework ,Reprocess ,Repair สูญเสียเวลาในคลังสินค้า สูญเสียเวลาในการขนส่งฯลฯ เป็นต้น BSC เกิดขึ้นมาได้เพราะมีการวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบจากการวัดประเมินผลทางธุรกิจด้วยปัจจัยทางการเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในอดีต ถ้าผู้จัดการคนไหนทำกำไรได้เยอะๆ ผู้จัดการคนนั้นฝีมือยอดเยี่ยม จากการที่มุ่งประเด็นไปที่ผลกำไร ผู้จัดการส่วนใหญ่ก็เลยเร่งยอดขาย เร่งลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรเยอะๆ ค่าใช้จ่ายเพื่อฝึกอบรม ก็รอไปก่อนเดี๋ยวทำให้ค่าใช้จ่ายสูง กำไรลดลง ค่าใช้จ่ายในการทำ ISO หรือลงทุนวิจัยพัฒนาปรับปรุงขบวนการ ค่าใช้จ่ายในการวัดความพึงพอใจลูกค้า ก็เอาไว้ก่อนเช่นกันซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นการลงทุนเพื่อระยะยาว เพราะกว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา เมื่อผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ บริษัทก็หยุดการพัฒนา เมื่อไม่มีการพัฒนา ศักยภาพการแข่งขันก็ลดลง คู่แข่งแซงหน้า ส่วนแบ่งตลาดลดลง ผลิตน้อยลง การใช้กำลังการผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน ต้นทุนก็สูง ราคาก็ขึ้นไม่ได้ ถึงขึ้นก็ขายไม่ออก สต็อกก็ค้างอยู่มากในโกดัง เสียหาย สูญหายก็ตามมา เมื่อกิจการทำกำไรน้อยลง การขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส ก็ลดลง บางบริษัทตัดทิ้งไปเลย พนักงานดีๆลาออกหางานใหม่ พนักงานที่อยู่เพราะไปที่ไหนไม่ได้ สมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับฝีมือไม่ถึง อยู่กินเงินเดือนไปเรื่อยๆ การเร่งยอดขายมากๆ ผลที่ตามมาคือเก็บเงินไม่ได้ เกิดหนี้สูญ กระแสเงินสดไม่พอชำระค่าสินค้า ผู้ขายวัตถุดิบงดส่งวัตถุดิบ กระแสเงินสดไม่พอจ่ายค่าแรง ต้องเลื่อนจ่าย ถูกตัดไฟ ตัดน้ำ ที่ลูกค้าลดลงบริษัทก็ไม่มีดัชนีวัด จึงไม่รู้สาเหตุของการลดลง แก้ไขไม่ทัน แก้ไม่ถูกจุด สุดท้ายผู้บริหารหมดกำลังใจ ยกธงขาวยอมแพ้และเข้าสู่โครงการประนอมหนี้ไม่ก็ก่อให้เกิดรายได้(NPL) เมื่อเกิดผลกระทบตามมาอย่างมาก Kaplan และ Norton จึงได้ร่วมกันวิจัยหารูปแบบการวัดประเมินผลทางธุรกิจใหม่ ที่ไม่คำนึงแต่เรื่องการเงิน โดยให้คำนึงถึงปัจจัยที่ไม่ใช่การเงิน (Non financial) อาทิเช่น ความพึงพอใจลูกค้า ความพึงพอใจพนักงาน ความพึงพอใจ Supplier อัตราการเข้าออกพนักงาน อัตราการสูญเสีย อัตราการสูญเสียลูกค้าเก่า อัตราการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่ ส่วนแบ่งตลาด เวลาในการผลิต เวลาในการส่งมอบ % การส่งมอบที่ไม่ทันกำหนด ระดับความสามารถของพนักงาน (Competency coverage) ดัชนีเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างมากต่อความอยู่รอดในรยะยาว ซึ่งได้มีการกำหนดมุมมอง (Perspective) ออกเป็น 4 มุมมองดังนี้คือ มุมมองด้านการเงิน(Financial perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer perspective) มุมมองด้านขบวนการภายใน (Internal business process) และมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning &growth perspective) โดยทั้ง 4 มุมมองมีความสัมพันธ์กันดังนี้ (พิจารณาจากรูปที่ 1 )จะเห็นว่าความชำนาญและความพึงพอใจของพนักงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และการพัฒนาระบบต่างๆ ในมุมมองการเรียนรู้และการเติบโต จะส่งผลต่อคุณภาพขบวนการและเวลาที่ใช้ในแต่ละขบวนการ ในมุมมองขบวนการภายใน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพได้ทันเวลา จนทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ เกิดความจงรักภักดี ในมุมมองลูกค้า และจากการที่ลูกค้าพึงพอใจ ก็เกิดการซื้อซ้ำ เป็นขาประจำ ทำให้มีการเติบโตของยอดขายอย่างมั่นคง และด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงเนื่องจากขบวนการภายในที่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลทำให้กำไรสูงขึ้นและผลตอบแทนก็สูงขึ้นตาไปด้วยBSC (The Balanced Scorecard) จริงๆแล้วไม่ยากเลยขอเพียงจับประเด็นหรือจับแนวความคิดให้ได้โดยองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) หรือภาพขององค์กรในอนาคตที่อยากให้เกิดขึ้น เช่นจะเป็นผู้นำตลาดอาหารสุกี้ ที่มุ่งเน้นสร้างคุณค่า (Customer Value) แก่ลูกค้าทั้งทางโภชนาการ การบริการ รวมถึงการดูแลความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ (Stakeholder) มุมมองแรกคือมุมมองด้านลูกค้า (Customer perspective) โดยมีคำถามง่ายๆดังนี้ เพื่อให้บริษัทของเราบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว บริษัทของเราควรจะต้องเป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า อาทิเช่น ผักปลอดสารพิษ เนื้อสัตว์จะต้องสด สะอาด ถูกสุขลักษณะไม่มีโรคหรือสารเคมีตกค้างในเนื้อสัตว์ ลูกค้ามีความสะดวกในการไปรับทาน ร้านก็หาง่าย (มีร้านหรือสาขามากพอ) ราคาก็ไม่แพง โดยลูกค้าสามารถจ่ายได้อย่างเต็มใจ ร้านก็สะอาด สวยงาม แอร์เย็นฉ่ำ น่านั่ง บริการก็อบอุ่นเป็นมิตร พนักงานก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เอาใจลูกค้า พร้อมบริการอยู่ตลอดเวลา จนลูกค้าทุกรายพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ ร้านแบบนี้ซิ ใช่เลย” มุมมองที่สองคือมุมมองด้านขบวนการภายใน (Internal Business Process) มุมมองนี้มีคำถามง่ายๆอีกเหมือนกันว่า เพื่อให้ลูกค้าได้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการดังกล่าวข้างต้น มีขบวนการอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงพัฒนา อาทิเช่น การส่งเสริมชาวสวนปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกที่ถูกหลักวิชาการ ปรับปรุงขบวนการขนส่งจากสวนผักมายังร้านสาขาที่ไม่ให้ผักเสียหายระหว่างขนส่ง ปรับปรุงขบวนการจัดซื้อ จัดหา เพราะมีผลต่อต้นทุน ต่อปริมาณวัตถุดิบหรือต่ออุปกรณ์ที่ต้องใช้ในร้าน ปรับปรุงขบวนการตรวจรับวัตถุดิบที่ร้านสาขาเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับวัถุดิบตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ ปรับปรุงขบวนการจัดเตรียมสินค้าไว้พร้อมขาย เช่น การจัดผัก หมู ไก่ วุ้นเส้น ฯลฯ ลงในคอนโด ปรุงปรุงขบวนการจัดเก็บสินค้าเพื่อรักษาความสด สะอาด สุขลักษณะ ปลอดภัยจากแมลงสาบ หนู (ร้านอาหารตามศูนย์การค้ามีเยอะจริงๆ) ซึ่งเป็นพาหะนำโรคอย่างดี ปรับปรุงขบวนการทำความสะอาดร้าน ขบวนการควบคุมสต็อก (Inventory control) เพื่อให้มีสินค้าตามที่ระบุไว้ในเมนู ปรับปรุงการพยากรณ์ยอดขายเพื่อจะได้เตรียมสินค้าพอดีกับการขาย โดยที่ไม่ต้องมีสต็อกมากๆเพราะสินค้าประเภทนี้เน่าเสียง่าย เก็บนานก็ไม่อร่อยจะต้องสดๆ ถ้าพยากรณ์ยอดขายไม่เก่งทำให้บ้างครั้งสินค้ามีไม่พอขายทำให้เสียโอกาสทำยอดขาย ทำให้ลูกค้าเบื่อ หงุดหงิดผิดหวัง ตั้งใจมารับประทานแล้วไม่ได้ทานในสิ่งที่ตัวเองชอบ เพราะของหมด ปรับปรุงขบวนการให้บริการ เช่นการจัดกำลังคนทั้งประจำและpart time ให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้าที่จะมาในแต่ละมื้อ หรือในแต่ละวัน เช่นมื้อเที่ยง มื้อเย็น หรือลูกค้าจะมาเยอะในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดตามประเพณี เช่นวันแม่ เพราะถ้าจัดอัตรากำลังไม่พอดีกับลูกค้าเช่นน้อยเกินไป ก็บริการไม่ทันตั้งแต่จดออร์เดอร์ เสริฟอาหาร คิดเงินช้าไปหมด ลูกค้าเบื่อหน่ายแน่นอน หรือเตรียมพนักงานบริการไว้มากเกินไปก็ทำให้ต้นทุนค่าแรงงานโดยวัดที่เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ค่าแรงต่อยอดขายสูงกว่ามาตรฐานหรือทำให้กำไรลดลงนั่นเอง ปรับปรุงขบวนการป้องกันการสูญเสีย จากการเน่าเสีย เสียหาย สูญหาย ถูกขโมยไม่ว่าจะเป็นอาหาร จาน ช้อน อุปกรณ์ในร้านก็ตาม เพราะจะส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้กำไรลดลง ปรับปรุงขบวนการการตลาด เพื่อดึงลูกค้าเข้าร้านเช่นการแจกใบปลิว การทำส่งเสริมการขายเช่นลด แลก แจก แถม อาหารชุดสุดประหยัด ระบบสมาชิก สะสมแต้ม จับฉลากมื้อนี้ฟรี ฯลฯ ปรับปรุงขบวนการรักษามาตรฐานสินค้า เช่นการจัดเรียงอาหารในคอนโดให้เหมือนกันทุกครั้งและดูน่ารับประทาน สับเป็ดโดยแต่ชิ้นเท่ากัน ไม่ใช่หนาไป บางไป ทำให้ได้จำนวนจานต่อเป็ดหนึ่งตัวมากบ้าง น้อยบ้าง นอกจากจะมีผลต่อมาตรฐานสินค้าแล้วยังมีผลต่อต้นทุนหรือกำไรโดยตรง ซึ่งทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าได้สินค้าน้อยไป ไม่คุ้มกับเงินที่จ่าย คราวหน้าไม่มาอีกแล้ว ร้านนี้เอาเปรียบ ทำให้ลูกค้าทยอยลดลง(น่ากลัวสำหรับคนทำธุรกิจ) ปรับปรุงขบวนการตรวจสอบความพึงพอใจลูกค้าเช่นจ้างบุคคลภายนอกทำการสำรวจหรือตรวจเช็คว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไร ไม่พอใจด้านใดบ้าง เราจะได้รีบแก้ไขปรับปรุงโดยด่วน เพราะถ้าลูกค้าหนึ่งคนไม่พอใจ ก็จะพูดต่อไปอีก สิบคนถึงสิ่งที่ตัวเองไม่พอใจถึงลดระดับความอัดอั่นตันใจลงได้ถึงระดับปกติ ดังนั้นหากไม่รีบดำเนินการรับรองลูกค้าหายหมดแน่ๆ ในทางกลับกันถ้าลูกค้าพึงพอใจเค้าก็จะบอกต่อๆกันไปอีกสิบคนเช่นกัน ดังกลยุทธ์ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับการตอบสนองความพึงพอใจลูกค้า จากตัวอย่างการปรับปรุงขบวนการดังกล่าวข้างต้นก็จะผลไปสู้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามที่ระบุไว้ตามมุมมองด้านลูกค้า โดยสรุปจะเห็นว่าการที่ลูกค้าจะได้ในสิ่งที่ต้องการจนเกิดความพึงพอใจได้นั้น จะต้องมีการศึกษาว่าจะต้องมีขบวนการ (Operation process) ไดบ้างที่จะต้องยกเครื่องใหม่ ถ้า Operation process แข็งแรงแล้วละก็ คุณภาพ มาตรฐาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ซึ่งจะแสดงออกมาในรูป บริการลูกค้าได้รวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้องอย่างมืออาชีพ สูญเสียต่ำ ต้นทุนต่ำ ผลกำไรก็มากขึ้น องค์กรก็มีเงินไปปรับปรุงร้าน หรือปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ์ให้ดูใหม่ ไม่โทรมหรือดูสกปรก ไม่น่าเข้าไปใช้บริการ หรือมีกำไรไปขึ้นเงินเดือน สวัสดิการ เพิ่มแรงจูงใจหรือผลตอบแทนในรูปต่างๆ
8/24/07
กลยุทธ์พัฒนาสินค้าเทคโนโลยี-นวัตกรรม
เรามักจะได้ยินเสมอว่าวิธีที่ เอสเอ็มอี จะพัฒนาธุรกิจให้ขยายตัวออกไปได้อย่างมั่นคงก็คือ การสร้างนวัตกรรม หรือ การสร้างความแปลกใหม่ให้กับสินค้าหรือกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ
และส่วนประกอบหนึ่งของการสร้างความแปลกใหม่ ก็หนีไม่พ้นการสร้างหรือแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านต่างๆ มาเสริมความแข็งแกร่งให้กับกิจการ
โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่หรือการนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์เข้ากับตัวสินค้า เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการและวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้เอสเอ็มอีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะความผิดพลาดในการออกสินค้าใหม่หรือการนำสินค้าใหม่สู่ตลาด อาจสร้างความเสียหายทางธุรกิจให้กับกิจการได้อย่างรุนแรง
โดยเฉพาะสินค้าใหม่ที่ต้องใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องมีการลงทุนสูง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีหน่วยงานสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับเอสเอ็มอีที่ต้องการมุ่งสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ไม่น้อย และทุกโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนวัตกรรม ก็ย่อมจะเล็งผลเลิศและมุ่งประสงค์ที่จะนำธุรกิจใหม่นั้นไปสู่ความสำเร็จเชิงธุรกิจ
ไม่ได้ต้องการที่จะกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อความ “มัน” หรือ ความต้องการที่จะพิสูจน์ฝีมือหรือความรู้ทางเทคนิคของตนเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้เอสเอ็มอีที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจนวัตกรรม สามารถดำเนินการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ เอสเอ็มอีนวัตกรรม เถ้าแก่นักประดิษฐ์ หรือ เถ้าแก่ไฮเทค ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันได้รับการเอ่ยถึงในนามของ Technopreneur ซึ่งมาจากคำว่า Technology (เทคโนโลยี) + Entrepreneur (ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ)
Technopreneur ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือกลยุทธ์ในกระบวนการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีหรือสินค้านวัตกรรม ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ เป็นลำดับ คือ
1. การมองเห็นโอกาสทางการตลาดสำหรับความต้องการสินค้าใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่
2. การกลั่นกรองหรือคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
3. การวิเคราะห์หรือประมาณการคร่าวๆ เกี่ยวกับความต้องการของตลาดและความเป็นไปได้ของผลตอบแทนเชิงธุรกิจ
4. การวิเคราะห์เบื้องต้นทางการเงินและแหล่งสนับสนุนทางการเงิน
5. การออกแบบหรือลงรายละเอียดในด้านความเป็นไปได้ทางเทคนิค
6. การจัดเตรียมความพร้อมและโครงสร้างสนับสนุนในการสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยี
7. การสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยีต้นแบบ
8. การทดสอบสินค้าหรือเทคโนโลยีภายในโรงงาน
9. การทดสอบสินค้าในสภาพใช้งานจริงในตลาดตัวอย่าง
10. การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อเปิดตัวสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
11. การเริ่มต้นปฏิบัติตามแผนธุรกิจที่จัดทำไว้
ขั้นตอนสำคัญเริ่มแรกที่สุดก็คือ การมองเห็นโอกาสหรือการค้นพบโอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นที่มาของแรงผลักดันหรือเกิดความคิดที่จะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมา
มีผู้รวบรวมวิธีการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจไว้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
การค้นพบหรือการทดลองที่ได้รับความสำเร็จโดยไม่คาดคิดหรือโดยบังเอิญ
การทดลองหรือประสบการณ์ที่ล้มเหลว ไม่ได้ผลตามต้องการ แต่กลายเป็นการค้นพบสิ่งใหม่
เหตุการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นหรือไปพบเห็นมาโดยไม่คาดฝัน
สภาวะของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความแตกต่างที่เป็นโอกาส
การสังเกตช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองที่คิดไว้กับผลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อทดลองทำไปแล้ว
ช่องว่างหรือความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการที่คิดว่าตลาดหรือผู้บริโภคจะยอมรับกับข้อเท็จจริงหรือการสนองตอบจริงของตลาดหรือผู้บริโภค
ผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานหรือกระบวนการที่ตั้งใจไว้ แต่ได้ผลออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง
การพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อลดความผิดพลาดหรือเพิ่มประสิทธิภาพ
โครงสร้างของตลาดหรือผู้บริโภคที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาส
โครงสร้างของประชากรและพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาส
ทัศนคติ ความนิยม หรือ วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
มีการสร้างความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก
ฯลฯ
จะเห็นได้ว่า แหล่งของโอกาสต่างๆ เหล่านี้ อาจแยกออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
โอกาสจากความบังเอิญ หรือที่เรียกว่า “เฮง”
โอกาสจากการค้นพบหรือจากองค์ความรู้ใหม่ หรือที่เรียกว่า “เก่ง”
โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด หรือที่เรียกว่า “ผิดเป็นครู”
ความไม่ “เก่ง” และไม่ “เฮง” ก็ยังจะสร้างโอกาสขึ้นได้ หากผู้ประกอบการยังเป็นคนที่ขยันทำงาน ช่างสังเกต และเรียนรู้กับสิ่งที่ตนเองได้ทำไปกับมือ ถึงแม้ว่าในครั้งแรกจะยังไม่เกิดความสำเร็จขึ้นมา
ความพยายามและความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะประสบความสำเร็จ
โอกาสของธุรกิจใหม่หรือธุรกิจนวัตกรรมไม่เพียงแต่จะอาศัยความสามารถภายในของกิจการ เช่น ความพร้อมในเรื่องการออกแบบและการผลิต และการมองการณ์ไกลของตัวเจ้าของธุรกิจเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ก็คือความต้องการของตลาดอีกด้วย
สินค้าใหม่ที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะเจาะ ถูกจังหวะ ถูกเวลา ความแปลกใหม่ที่จะมอบให้กับผู้บริโภคก็จะต้องสามารถกระตุ้นความสนใจ หรือสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้ และต้องสามารถยืนอยู่ในตลาดได้ยาวพอให้เกิดการคุ้มทุน
การมีขนาดตลาดของกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่เพียงพอ และสภาวะของการแข่งขันที่ไม่รุนแรงมากนัก ก็จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สูงขึ้นได้
ฝรั่งจะมอง “โอกาส” เป็นเหมือนกับ “หน้าต่าง” จึงมักเรียกโอกาสว่าเป็น Window of Opportunity เพราะโอกาสมักจะเปิดหรือปิดก็ได้ สำหรับคนใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง
แล้วเอสเอ็มอีไทยเราละครับ จะมองเห็นโอกาสเป็นอะไรดี ?!!?
และส่วนประกอบหนึ่งของการสร้างความแปลกใหม่ ก็หนีไม่พ้นการสร้างหรือแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านต่างๆ มาเสริมความแข็งแกร่งให้กับกิจการ
โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่หรือการนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์เข้ากับตัวสินค้า เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการและวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้เอสเอ็มอีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะความผิดพลาดในการออกสินค้าใหม่หรือการนำสินค้าใหม่สู่ตลาด อาจสร้างความเสียหายทางธุรกิจให้กับกิจการได้อย่างรุนแรง
โดยเฉพาะสินค้าใหม่ที่ต้องใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องมีการลงทุนสูง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีหน่วยงานสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับเอสเอ็มอีที่ต้องการมุ่งสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ไม่น้อย และทุกโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนวัตกรรม ก็ย่อมจะเล็งผลเลิศและมุ่งประสงค์ที่จะนำธุรกิจใหม่นั้นไปสู่ความสำเร็จเชิงธุรกิจ
ไม่ได้ต้องการที่จะกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อความ “มัน” หรือ ความต้องการที่จะพิสูจน์ฝีมือหรือความรู้ทางเทคนิคของตนเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้เอสเอ็มอีที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจนวัตกรรม สามารถดำเนินการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ เอสเอ็มอีนวัตกรรม เถ้าแก่นักประดิษฐ์ หรือ เถ้าแก่ไฮเทค ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันได้รับการเอ่ยถึงในนามของ Technopreneur ซึ่งมาจากคำว่า Technology (เทคโนโลยี) + Entrepreneur (ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ)
Technopreneur ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือกลยุทธ์ในกระบวนการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีหรือสินค้านวัตกรรม ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ เป็นลำดับ คือ
1. การมองเห็นโอกาสทางการตลาดสำหรับความต้องการสินค้าใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่
2. การกลั่นกรองหรือคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
3. การวิเคราะห์หรือประมาณการคร่าวๆ เกี่ยวกับความต้องการของตลาดและความเป็นไปได้ของผลตอบแทนเชิงธุรกิจ
4. การวิเคราะห์เบื้องต้นทางการเงินและแหล่งสนับสนุนทางการเงิน
5. การออกแบบหรือลงรายละเอียดในด้านความเป็นไปได้ทางเทคนิค
6. การจัดเตรียมความพร้อมและโครงสร้างสนับสนุนในการสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยี
7. การสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยีต้นแบบ
8. การทดสอบสินค้าหรือเทคโนโลยีภายในโรงงาน
9. การทดสอบสินค้าในสภาพใช้งานจริงในตลาดตัวอย่าง
10. การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อเปิดตัวสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
11. การเริ่มต้นปฏิบัติตามแผนธุรกิจที่จัดทำไว้
ขั้นตอนสำคัญเริ่มแรกที่สุดก็คือ การมองเห็นโอกาสหรือการค้นพบโอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นที่มาของแรงผลักดันหรือเกิดความคิดที่จะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมา
มีผู้รวบรวมวิธีการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจไว้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
การค้นพบหรือการทดลองที่ได้รับความสำเร็จโดยไม่คาดคิดหรือโดยบังเอิญ
การทดลองหรือประสบการณ์ที่ล้มเหลว ไม่ได้ผลตามต้องการ แต่กลายเป็นการค้นพบสิ่งใหม่
เหตุการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นหรือไปพบเห็นมาโดยไม่คาดฝัน
สภาวะของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความแตกต่างที่เป็นโอกาส
การสังเกตช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองที่คิดไว้กับผลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อทดลองทำไปแล้ว
ช่องว่างหรือความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการที่คิดว่าตลาดหรือผู้บริโภคจะยอมรับกับข้อเท็จจริงหรือการสนองตอบจริงของตลาดหรือผู้บริโภค
ผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานหรือกระบวนการที่ตั้งใจไว้ แต่ได้ผลออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง
การพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อลดความผิดพลาดหรือเพิ่มประสิทธิภาพ
โครงสร้างของตลาดหรือผู้บริโภคที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาส
โครงสร้างของประชากรและพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาส
ทัศนคติ ความนิยม หรือ วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
มีการสร้างความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก
ฯลฯ
จะเห็นได้ว่า แหล่งของโอกาสต่างๆ เหล่านี้ อาจแยกออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
โอกาสจากความบังเอิญ หรือที่เรียกว่า “เฮง”
โอกาสจากการค้นพบหรือจากองค์ความรู้ใหม่ หรือที่เรียกว่า “เก่ง”
โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด หรือที่เรียกว่า “ผิดเป็นครู”
ความไม่ “เก่ง” และไม่ “เฮง” ก็ยังจะสร้างโอกาสขึ้นได้ หากผู้ประกอบการยังเป็นคนที่ขยันทำงาน ช่างสังเกต และเรียนรู้กับสิ่งที่ตนเองได้ทำไปกับมือ ถึงแม้ว่าในครั้งแรกจะยังไม่เกิดความสำเร็จขึ้นมา
ความพยายามและความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะประสบความสำเร็จ
โอกาสของธุรกิจใหม่หรือธุรกิจนวัตกรรมไม่เพียงแต่จะอาศัยความสามารถภายในของกิจการ เช่น ความพร้อมในเรื่องการออกแบบและการผลิต และการมองการณ์ไกลของตัวเจ้าของธุรกิจเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ก็คือความต้องการของตลาดอีกด้วย
สินค้าใหม่ที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะเจาะ ถูกจังหวะ ถูกเวลา ความแปลกใหม่ที่จะมอบให้กับผู้บริโภคก็จะต้องสามารถกระตุ้นความสนใจ หรือสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้ และต้องสามารถยืนอยู่ในตลาดได้ยาวพอให้เกิดการคุ้มทุน
การมีขนาดตลาดของกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่เพียงพอ และสภาวะของการแข่งขันที่ไม่รุนแรงมากนัก ก็จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สูงขึ้นได้
ฝรั่งจะมอง “โอกาส” เป็นเหมือนกับ “หน้าต่าง” จึงมักเรียกโอกาสว่าเป็น Window of Opportunity เพราะโอกาสมักจะเปิดหรือปิดก็ได้ สำหรับคนใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง
แล้วเอสเอ็มอีไทยเราละครับ จะมองเห็นโอกาสเป็นอะไรดี ?!!?
Subscribe to:
Posts (Atom)